banner ad

ฝรั่ง

| May 9, 2021

ฝรั่ง

ชื่อสามัญ JAVA

ชื่อวิทย์  Psidium guajava L.

วงศ์ MYRTACEAE

ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกากลางและในหมู่เกาะอินดีสตะวันตก และมีการนำเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พื้นที่การปลูกในประเทศไทย ปี 2566 52,312 ไร่ ผลผลิต 3,482 กก.ต่อไร่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ต้นเกลี้ยงมัน เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ยอดอ่อนมีขนสั้น ๆ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว  ผล ผลดิบสีเขียว กินได้ เมื่อสุกเป็นสีเหลือง

ฝรั่งพันธุ์การค้า เช่น พันธุ์กิมจู แป้นสีทอง ขาวอัมพร เย็น2 พุทรา แป้นไส้แดง ทับทิมสยาม กรอบสามสี และพันธุ์อื่นๆ ทั้งที่ผลรับประทานสดและผลิตเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม

-พันธุ์ฝรั่งขี้นกเป็นไม้พื้นเมืองของไทย ได้แก่ พันธุ์ขี้นก ผลมีขนาดเล็กมากมีผลจำนวน 20-25 ผลต่อกิโลกรัม รูปร่างมีทั้งกลมและรูปไข่ ผิวราบ เนื้อสีชมพู เนื้อบางรสหวานอมเปรี้ยว หรือมีรสฝาดปน ไส้สีแดง ติดผลเป็นกลุ่ม เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ดขนาดเล็กและแข็ง ลำต้นแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

- พันธุ์บางกอกแอปเปิล ได้มาจากการผสมพันธุ์อีแห้ว (ฝรั่งอินเดีย) กับพันธุ์กลมสาลี่ (พันธุ์เวียดนาม) เป็นพันธุ์ไม่มีเมล็ด ลำต้นหรือกิ่งกระโดงหรืกิ่งที่แตกใหม่มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ใบมนใหญ่ค่อนข้างกลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นใบเมื่อมองด้านบนจะเป็นร่องลึกและห่างอย่างเด่นชัดผิดกับฝรั่งทั่วๆ ไป ผลมีขนาดใหญ่ไม่แพ้ฝรั่งผลโต น้ำหนักผล 0.8-1.1 กิโลกรัม ผลโตจริงๆ หนักถึง1.5กิโลกรัม ผลสูงประมาณ 13 เซนติเมตร  เส้นรอบวงบริเวณกลางผลด้านข้างประมาณ 40 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1 เซนติเมตร  ผลค่อนข้างกลมคล้ายแอปเปิล รังไข่เล็กคล้ายของผลแอปเปิลคือ ผิวเขียวเป็นคลื่น เล็กน้อย เนื้อหนาแน่นตลอดทั่งผล กรอบ รสชาติอมเปรี้ยวเล็กน้อย ลักษณะไม่มีเมล็ดตามพันธุ์ “อีแห้ว” ข้อดีคือผลสุกช้า เมื่อสุกแล้วเนื้อไม่เละ นอกจากนั้นยังมีกิ่งก้านแข็งแรง ไม่โน้มเหมือนฝรั่งเวียดนาม จึงรับน้ำหนักลูกขนาดใหญ่ได้ดี  ข้อเสีย คือ ติดผลยาก และให้ผลผลิตต่ำ

-พันธุ์กิมจู น้ำหนัก 3-5 ผล ต่อกิโลกรัม

-พันธุ์แป้นสีทองได้มาจากการคัดเลือกพันธุ์ที่เพาะเมล็ดมาจากพันธุ์กลมสาลี่ ลักษณะขนาดใหญ่ ขั้วใหญ่ และหัวบุ๋มมากกว่าพันธุ์ กลมสาลี่ ผิวขรุขระกว่ากลมสาลี่ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองอมเขียว สีครีมถึงเหลืองอ่อน เมื่อผลฝรั่งอายุมากขึ้นผลจะเปลี่ยนรูปร่างจากกลมเป็นกลมแป้น และมีครีบขึ้นคล้าย ฟักทอง เนื้อผลหนา เนื้อละเอียด ค่อนข้างกรอบ รสชาติดีขนาดน้ำหนักผลประมาณ 1 กิโลกรัม/ผล  ผลขนาดสูงประมาณ 9.0 เซนติเมตร กว้าง 10.0 เซนติเมตร ผลโตเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร และเมล็ดน้อยจนแทบจะไม่มี  บางผลไม่มีเมล็ดเลย คล้ายพันธุ์ “บางกอกแอปเปิล”  ลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มเตี้ย (ต้นไม่สูงเหมือนพันธุ์กลมสาลี่) กิ่งค่อนข้างทอด (เวลาปลูกจึงต้องเอาไม้ค้ำกิ่งไว้) ใบมีสีเขียวเข้ม การเรียงตัวของใบเป็นแบบก้างปลา ใบเรียวยาวใหญ่ ผลดก ดังนั้นควรปลิดผลอ่อนทิ้ง ให้เหลือเพียงกิ่งละ 1 ผล ติดผลตลอดปี ให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 8-9 เดือน อายุเก็บเกี่ยวนับจากเริ่มติดผลจนเก็บเกี่ยว 128 วัน ผลผลิตต่อไร่ 3,664 กิโลกรัม (ที่อายุ 3 ปี)

- พันธุ์กลมสาลี่ เป็นพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่ม “ฝรั่งเวียดนาม” ที่ตลาดผู้บริโภครู้จักกว้างขวางมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง เพราะปลูกง่าย ให้ผลเร็ว มีลูกดก สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ตลอดปี เพราะปลูกง่าย ให้ผลเร็ว มีลูกดก สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ตลอดปี ต้นเป็นพุ่มสูงประมาณ 3-5 เมตร กิ่งค่อนข้างแผ่ ใบสีเขียวเข้ม แตกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ขอบใบพลิ้ว ดอกเกิดบริเวณซอกใบตรงข้ามกัน ผลค่อนข้างใหญ่ น้ำหนัก 300-350 กรัม/ผล ทรงผลกลมแป้นถึงกลมสูง ความยาวผลประมาณ 9.3 เซนติเมตร กว้าง 10.5 เซนติเมตร ด้านฐานผลเว้าลง ปลายผลเรียบ ผิวผลเรียบถึงขรุขระเล็กน้อย สีเขียวอ่อน เนื้อหนา ด้านนอกเป็นสีขาวปนเขียว ด้านในสีขาว  มีเมล็ดมาก รสชาติหวานอมเปรี้ยว ความหวานประมาณ 11.6 องศาบริกซ์ มีรสฝาดเล็กน้อย กรอบ แน่น วัดความแน่นเนื้อได้ประมาณ 0.066 กก./ตร.ซม. ละเอียด ไม่มีกาก เมื่อสุกเนื้อจะอ่อนนุ่มเป็นทรายมีกลิ่นหอม ไส้เป็นเนื้อตัน เมล็ดเล็ก มีจำนวนมาก นับได้ 200-300 เมล็ด/ผล แข็ง สีน้ำตาลอ่อน เมื่อแก่แล้วสามารถปล่อยผลไว้บนต้นได้นานกว่าพันธุ์อื่นๆ อายุเก็บเกี่ยว 4-5 เดือนหลังดอกบาน

- พันธุ์กลมทูลเกล้า หรือ “ศรีชัยสอง” อยู่ในกลุ่ม “ฝรั่งเวียดนาม” ต้นเป็นพุ่มสูงประมาณ 3-5 เมตร กิ่งก้านค่อนข้างแผ่ ใบสีเขียวเข้ม แตกเป็นคู่ ขอบใบเรียบ ดอกเกิดบริเวณซอกใบตรงกันข้ามกัน ผลลักษณะเหมือนพันธุ์ขาวเศวต แต่มีรูปร่างกลมมากกว่า วัดได้ความกว้าง 9.8 เซนติเมตร ความยาว 12.3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ขั้วผลบุ๋มลงเล็กน้อย ก้นผลเรียบ น้ำหนักผล 300-400 กรัม/ผล รสชาติหวาน ผิวสีเขียวอ่อนเกือบขาว เหมือนพันธุ์ “ขาวเศวต”ความหวานวัดได้ 8.8 องศาบริกซ์ ความแน่นเนื้อ 0.61 กิโลกรัม/เซนติเมตร เมล็ดเล็ก จำนวน 200-300 เมล็ด/ผล ผลผลิตประมาณ 180 ผล/ต้น/ปี หรือเป็นน้ำหนัก 61 กิโลกรัม/ต้น/ปี

-พันธุ์ขาวอัมพร

-พันธุ์เย็น2

-พันธุ์พุทรา

-พันธุ์แป้นไส้แดง

-พันธุ์ทับทิมสยาม

-พันธุ์พิจิตร 2 ผลมีขนาดเฉลี่ย 350-600 กรัม เนื้อหนา รสชาติหวาน กรอบ ทานอร่อย มีกลิ่นหอม ส่วน ใบ ดอก ผล จะมีสีม่วงแดง

-พันธุ์พิจิตร 4-17 ผลผลิต 25 กิโลกรัมต่อต้น มีผล 56 ผลต่อต้น รสหวาน 9.7 องศาบริกซ์ ผิวขาวเรียบ เนื้อหวานกรอบ วิตามินซี 90.4 มิลลิกรัมต่อผลสด 100 กรัม

ฝรั่งจากไต้หวัน

-พันธุ์หงส์เปาสือ, ซีกวา  เฟิ่นหงส์มี่  เหวินหง  เจินจู  สุ่ยหมี่

การขยายพันธุ์ : เมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะปลูก 2×4 เมตร 1 ไร่จะได้จำนวนต้น = 200 ต้น ขุดหลุมปลูกขนาด กว้างxยาวxลึก 50x50x50 เซนติเมตร จ

การคัดเลือกต้นตอที่ต้านทาน

ศัตรูพืชที่สำคัญขอ่งฝรั่ง

แมลงศัตรูที่สำคัญ

1. แมลงวันผลไม้ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็น กลุ่ม กลุ่มละ 2-3 ฟอง ในผล ฝรั่ง ลึกจากผิวประมาณ ๒-๕ มิลลิลิตร หลังจากฝรั่งติดผลแล้ว 9 สัปดาห์ ระยะหนอนทําลายพืช โดยการชอนไชกินเนื้ออยู่ภายใน ผล ทําให้ ผลเน่าและร่วง

1.1 ต้องรักษาความสะอาดในแปลงปลูก โดยเก็บผลที่ถูก แมลงวันผลไม้เข้าทําลาย หรือผลที่เน่าออกจากแปลงปลูก นําไปฝังกลบให้มีระดับหน้าดินหนา 15 เซนติเมตร เพื่อลดการ สะสมและขยายพันธุ์ของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก

1.2 ควรทําการตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง เพื่อลดการเกิดร่มเงาในทรงพุ่ม ทําให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของแมลงวันผลไม้และให้ศัตรูธรรมชาติมีบทบาทในการทําลายแมลงวันผลไม้ได้มากขึ้น

1.3 ควรห่อผลด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วสีขาว ขนาด 6*14 นิ้ว ที่ เจาะรูแบบซ่อนรูปสําเร็จมาจากโรงงาน การห่อผลควรเริ่มห่อ เมื่อผลมีอายุ 8 สัปดาห์ หลังดอกบาน ห่อผล 1 ผลต่อถุง เพื่อ ป้องกันการเข้าทําลายของแมลงวันผลไม้และหนอนแดง หุ้มทับด้วย กระดาษสมุดโทรศัพท์ห่อเป็นรูปกรวย เพื่อป้องกันแสงแดด ทําให้ผิวสวยและเจริญเติบโตเร็ว

1.4 ควรติดกับดักโดยใช้สารล่อชนิดเมทธิลยูจนิ อล ผสมสารฆ่า แมลงมาลาไทออน 83% อีซี ในอัตรา ๔ : ๑ โดยปริมาตร หยดลงบนก้อนสําลี 3-5 หยด แขวนกับดักในทรงพุ่มสูง ประมาณ 1 เมตร จํานวน 2 กับดัก ต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อกําจัด ตัวเต็มวัยเพศผู้ และสํารวจการระบาดของแมลงวันผลไม้ใน แปลงปลูก ถ้าพบปริมาณแมลงวันผลไม้เพิ่มมากขึ้นในกับดัก โดยเฉพาะช่วงที่ใกล้เก็บเกี่ยวควรดําเนินการพ่นเหยื่อพิษโปรตีน

1.5 ควรพ่นเหยื่อพิษโปรตีน โดยใช้เหยื่อโปรตีน ผสมสารมาลา ไทออน 83% อีซี อัตราเหยื่อโปรตีน ๒๐๐ มิลลิลิตร กับสาร มาลาไทออน 10 มิลลิลิตร ผสมในน้ํา 5 ลิตร เดินพ่นแบบ เป็นจุดโดยพ่นทุก 5 ก้าว พ่นใต้ใบ ทุก 7 วัน ตั้งแต่ห่อผลเสร็จ จนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตหมด ควรพ่นในเวลาเช้าตรู่ซึ่งเปน็ ช่วงที่ แมลงวันผลไม้ออกมาหาอาหาร

โรคพืชที่สำคัญ

1.โรคเหี่ยว

2.โรครากปมของฝรั่ง

Category: พืชไม้ผล บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news