Category: สารป้องกันกำจัดแมลง

สารอีทิโพรล
สารอีทิโพรล ethiprole กลุ่ม 2 ฺB ขัดขวางช่องเปิดคลอไรด์และการทำงานของแกมม่าอะมิโนบิวทิลลิกแอสิด ทำให้เกิดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องที่ระบบประสาทส่วนกลาง เกิดอาการชัก หมดความรู้สึกและตาย ออกฤิทธิ์กินตาย ควบคุมแมลงปากกัดและปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น ด้วงงวง ตั๊กแตน มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยไก่แจ้ หนอนชอนใบ

สารไอโซไซโคลซีแรม
สารไอโซไซโคลซีแรม isocycloseram สูตร 20% w/v SC สูตร 10% W/V DC กลุ่มสารเคมี Isoxazolines กลุ่ม 30 ออกฤิทธิ์ต่อระบบประสาท ขัดขาวงช่องเปิดคลอไรด์ ตรงจุดรับสารแกมาอะมิโนบิวทิลลิกแอซิดที่ตำแหน่ง allosteric site (MOA : GABA-gated chloride channel allosteric modulators สารเคมีจับตัวรับตรงตำแหน่งที่ allosteric site ทำให้สารเคมีนี้ไปแทนที่สื่อกระแสประสาทที่เรียกว่ากรดกาบาอะมิโนบิวทิลลิก ทำให้ช่องผ่านของคลอไรด์ถูกปิดกั้น หรือไปขัดขวางทางเข้าออกของคลอไรด์อิออน ส่งผลทำให้ระบบประสาทของแมลงถูกทำลาย กระแสประสาทถูกกระตุ้นต่อเนื่อง hyperexcitation มีอาการชักกระตุกเป็นอัมพาตหยุดกินอาหาร และตายในที่สุด การป้องกันกำจัดหนอนห่อใบข้าว อัตราใช้ 0.8-1.6 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ หนอนกอข้าวอัตราใช้ 4.8-7.2 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดอัตราใช้ 4.8-6.4 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ หนอนเจาะฝักข้าวโพดอัตราใช้ 4.8 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะฝักถั่วเหลือง หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะฝักถั่ว อัตราใช้ 3.2-4.8 กรัมสารออกฤิทธิ์ต่อไร่ [...]

สารกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลการเกษตร
สารกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลการเกษตร 1.ซัลฟูริลฟลูออไรด์(sulfuryl fluoride) 99.8 % GA

สไปโรเตตระแมท
สไปโรเตตระแมท spirotetramat เป็นสารกลุ่ม Tetronic กลไกการออกฤิทธิ์กลุ่ม 23 ไปยับยั้งการสร้างเอนไซม์ acetyl CoA carboxylase ทำการสังเคราะห์ไขมันในการเจริญเติบโตของแมลง เช่น เพลี้ยต่างๆ แมลงหวี่ขาว เป็นสารดูดซึมผ่านระบบท่อน้ำและท่ออาหารของพืช

เตตระนิลิโพร์ล
เตตระนิลิโพร์ล (tetraniliprole) เป็นสารเคมีกลุ่ม diamide กลไกการออกฤิทธิ์กลุ่ม 28 ออกฤิทธิ์ที่ Ryanodine receptor modulator ไปรบกวนการเคลื่อนย้ายแคลเซียมภายในเซล ที่ทำให้กระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ เป็นสาเหตุให้แมลงมีอาการซึม เป็นอัมพาต หยุดกินอาหารทันที และตาย ควบคุมกลุ่มด้วง แมลงวัน หนอนผีเสื้อ

ไทอะโคลพริด
ไทอะโคลพริด thaicloprid 24% W/V SC เป็นกลุ่มสารเคมี : Neonicotinoid MOA : ไปทำการเลียนแบบสารอะซิติลโคลีนและขัดขวางบริเวณจุดรับนิโคตินิกอะซิติลโคลีน การป้องกันกำจัด -เพลี้ยไฟ อัตรา 3 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร -แมลงบั่ว อัตรา 3 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ฟลูไพราดิฟูโรน
ฟลูไพราดิฟูโรน flupyradifurone 20% W/V SL การป้องกันกำจัด -เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร -เพลี้ยจักจั่นฝ้ายในมะเขือเปราะ อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร -แมลงหวี่ขาวยาสูบ อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

เมทอกซีฟีโนไซด์
เมทอกซีฟีโนไซด์ (methoxyfenozide) สารกลุ่มที่ 18 ทำให้ตัวรับฮอร์โมนเอคไดโซนทำงาน สารฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโต

ฟลูเบนไดอะไมด์
ฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide) สารกลุ่มที่ 28 เป็นตัวปรับการทำงานของตัวรับชนิดไรยาโนดีน สารฆ่ากลุ่มนี้เป็นสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

เฮกซีไทอะซอกซ์
เฮกซีไทอะซอกซ์ (hexythiazox) สารกลุ่ม 10A ที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของไรโดยไปจับที่เอนไซม์ chitin synthase (CHS1)

สไปโรมีซิเฟน
สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) สารกลุ่มที่ 23 ยับยั้งเอ็นไซม์อะเซทิล โคเอ คาร์บ็อกซิเลส สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโต โดยยับยั้งเอนไซม์ acetyl coenzyme A carboxylase (ACCase)

ไพมีโทรซีน
ไพมีโทรซีน (pymetrozine) สารกลุ่ม 9B ที่ปรับการทำงานของช่อง TRPV ที่ Chordotonal organ สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท

โคลไทอะนิดิน
โคลไทอะนิดิน (clothianidin) สารกลุ่ม 4A สารนีโอนิโคตินอยด์(Neonicotinoids) ที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกโดยการจับแบบแข่งขัน

สไปนีโทแรม
สไปนีโทแรม (spinetoram) สารอยู่ในกลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิกโดยการจับที่ตำแหน่งแอลโลสเตอริกที่ตำแหน่งที่ 1

อิมิดาโคลพริด
อิมิดาโคลพริด imidacloprid สูตร 10% SL – แมลงหวี่ขาวยาสูบ (Bemisiatabaci) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะของโรคใบหดในยาสูบ