สูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
สูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1.สารออกฤิทธิ์ สารมีความเข้มข้นสูง คุณสมบัติที่พิจารณาในกาทำสูตรผสม : การมีเสถียรภาพ/การคงสภาพที่ดี มีความคงทนต่อน้ำและแสง ไม่สลายตัวเป็นสารอื่น การระเหยเป็นไอ จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความสามารถของการละลาย
2.สารไม่ออกฤิทธิ์
2.1 ตัวทำละลาย ทำสูตรผสมให้อยู่ในรูปของเหลว สำหรับเตรียมสูตรของเหลวชนิดต่างๆ ต้องละลายสารออกฤทธิ์ให้หมด ทำให้ส่วนผสมมีความเป็นเน้ือเดียวกัน เช่น น้ำ, ตัวทำละลายอินทรีย์
-สมบัติที่ดีของตัวทำละลาย ละลายสารออกฤทธิ์ได้ดี ไม่ทำปฏิกิริยากับสารออกฤทธิ์ มีความเป็นพิษต่อพืชน้อย มีความเป็นพิษและระคายเคืองต่อผิวหนังน้อย มีความคงทนต่อความร้อนได้ดี ไม่กัดกร่อนภาชนะบรรจุและภาชนะที่ใช้พ่น หาได้ง่าย ราคาถูก
-ชนิดของตัวทำละลายได้แก่ คีโรซีน น้ำ อะซีโตฟีโนน ไซโคลเฮกซาโนน ไซลีน แอลกอฮอล์
2.2 สารตัวพา carrier
- สมบัติที่ดีของตัวพา ไม่เกิดปฏิกิริยากับสารออกฤทธิ์ ดูดซับสารออกฤทธิ์ได้ดี ร่วน ไม่เกาะกันเป็นก้อน กระจายตัวในน้ำได้ดี ** วัตถุเจือจางจะมีความสามารถในการดูดซับสารออกฤทธิ์ต่ำ เช่น ซิลิกา ไดอะตอมไมต์ Fuller’s earth (magnesium aluminium silicate) ซังข้าวโพดบด เบนโตไนต์/มอนต์โมริลโลไนต์ ดินขาว/แป้งเคาลิน (Kaolin Clay) แป้ง,Talcum Powder แคลเซียมคาร์บอเนต
2.3 สารลดแรงตึงผิว
2.4 สารเพิ่มพิเศษอื่นๆ สารเพิ่มการคงสภาพ/เสถียรภาพ ปรับปรุงสูตรผสมให้มีคุณภาพดีขึ้น สารเสริมพิษ(Increase efficacy) [PBO >> Cytochrome P-450 (mixed-function oxidase)>> Hydroxylation(-OH) >>polar] สารป้องกันการจับเป็นก้อน safener [Benoxacor >>metolachlor >> maize] สารทำให้อาเจียน สารช่วยการเกาะติดใบพืช สารช่วยลดการเกิด ฝุ่น, ฟอง สารที่ทำให้เกิดสีหรือเติมกลิ่น ในบางชนิด สารเพิ่มการดูดซึม
3.สารปรุงแต่งต่างๆ
การแบ่งกลุ่มตามลักษณะการนำไปใช้งาน
กลุ่มที่ 1 ชนิดเข้มข้นต้องผสมน้ำก่อนพ่น เกิดในลักษณะต่างกัน 3 รูปแบบ 1. อิมัลชั่น 2.สารละลาย 3.สารละลายแขวนลอย
1. สูตรชนิดน้ำมันเข้มข้น EC Emulsifiable concentrate สูตรผสมเป็นของเหลว มีความเป็นเนื้อเดียวกัน เจือจางด้วยน้ำ สารละลายมีลักษณะขุ่นคล้ายน้ำนม เช่น Fenobucarb 50% EC, abamectin 1.8 % EC, dichlorvos 50 % EC ข้อเสีย ตัวทำละลายอาจมีความเป็นพิษต่อพืชปลูก ระคายเคืองต่อผิวหนัง และไวไฟ
2. สูตรชนิดน้ำมันเหลวข้น (Emulsion oil in water Concentrate, EW) สารออกฤทธิ์ละลายในสภาพของละอองน้ำมัน พัฒนาขึ้นเพื่อลดความเป็นพิษที่เกิดจากการใช้ตัวทำละลายในปริมาณมากของสูตร EC ลักษณะสูตร เป็นสารละลายขุ่น คล้ายน้ำนม สารออกฤทธิ์ละลายในน้ำมัน เติมสารเพิ่มความหนืด เติมสารเพิ่มความคงสภาพ เติมสารลดแรงดึงผิว เติมสารปรุงแต่งพิเศษ เช่น Procloraz 45% W/V EW, Abamectin 3.6% W/V EW, Butachlor 60% W/V E, Fenoxaprop-P-ethyl 6.9% W/V EWข้อดีไม่ไวไฟ ไม่ทำลายสีพื้นผิวเมื่อโดนกรด ปลอดภัยต่อการผลิต ขนส่ง ใช้ตัวทำละลายน้อย ซึมผ่านผิวหนังได้น้อย มีข้อจำกัดในการเลือกใช้ Surfactant การเสื่อมสภาพ : เกิดได้จากการเก็บไม่เหมาะสม ถูกแสงแดด ความร้อน หรือจากลักษณะของสารออกฤทธิ์เองในเวลา 2 ชั่วโมง
*ความกระด้างของน้ำที่ใช้ผสมก่อนฉีดพ่น ไม่เกิน 300 เกณฑ์ที่พอยอมรับได้ 500
ค่าความกระด้างของน้ำ (total hardness) น้ำอ่อนได้แก่ น้ำฝน น้ำกลั่น0-75 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำกระด้างปานกลาง ได้แก่ น้ำประปา 75-150 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำกระด้าง 150-300 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำกระด้างมาก >300มิลลิกรัมต่อลิตร
3. สูตร OD Oil dispersion (Oil-based suspension concentrate) สูตรน้ำมันกระจายตัว (OD) เป็นสารแขวนลอยคง สภาพในสารอินทรีย์เจือจางด้วยน้ำก่อนใช้งาน การเก็บไว้นานเมื่อนำมาใช้งาน ต้องทำการผสมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมก่อน ตะกอนไม่เกิน 0.05% เช่น Nitrosulfuron 6% W/V OD – Cyhalofop-butyl+Penoxsulam 6% W/V OD
4. สูตรชนิดผงแขวนลอยในน้ำ (Wettable Powder, WP) สารออกฤทธิ์ (ไม่ละลายน้ำ) เติมสารเพิ่มการกระจายตัวแขวนลอย ผสมกับสารพาที่เป็นผง เติมสารเพิ่มการกระจายในน้ำ เติมสารลดแรงตึงผิว เติมสารป้องกันการสลายตัว เติมสารจับใบ ข้อดี ผลิตง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย ภาชนะบรรจุราคาถูก ไม่ต้องใช้ตัวทำละลาย ข้อเสีย อาจอุดตันหัวฉีด วัดปริมาณยาก มีฝุ่นมาก เช่น Carbaryl 85 % WP • Atrazine 80 % WP • Diuron 80 % WP • Thiophanate-methyl 70 % WP
5. สูตรชนิดเม็ดผสมน้ำ (Water Dispersible Granules, WG) เป็นรูปเม็ด เมื่อผสมน้ำจะแตกออก เกิดการกระจายตัว แขวนลอยในน้ำ การกระจายตัวเหมือนสูตร WP ลักษณะสูตร สารออกฤทธิ์ (ไม่ละลายน้ำ) เติมสารป้องกันการสลายตัว ผสมกับสารตัวพาที่เป็นของแข็ง เติมสารลดแรงตึงผิว เติมสารเพิ่มการกระจายในน้ำ เติมสารเพิ่มการกระจายตัวให้แขวนลอย เติมสารจับใบ สูตร WG พัฒนาจากสูตร WP มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ หรือเป็นท่อนเล็กๆ ลดการเกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย ได้ดีกว่าในสูตร WP ข้อกำหนด 300 rpm 1 min dispersibility มากกว่าหรือเท่ากับ 60% เกิดแขวนลอยมากกว่าหรือเท่ากับ 60%
6. สูตรชนิดอัดเม็ด (Water dispersible granules, WT) ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปร่าง และขนาดสม่ำเสมอ • ขนาดและน้ำหนัก กำหนดจากการผลิต หรือความต้องการใช้งาน • การใช้งานสูตร WT ละลายด้วยน้ำได้สารละลายแขวนลอย เงื่อนไข : เกิดแขวนลอยมากกว่าหรือเท่ากับ 60% ลักษณะสูตรสารออกฤทธิ์ไม่ละลายน้ำ สูตร WT ประกอบด้วย ตัวพาที่ไม่ละลายน้ำ เติมสารลดแรงตึงผิว เติมสารเพิ่มการกระจายในน้ำ เติมสารเพิ่มการกระจายตัวให้แขวนลอย เติมสารจับใบ เติมสารป้องกันการสลายตัว
7. สูตรชนิดของเหลวข้น (Suspension Concentrate, SC) สารผสมแขวนลอยของสารออกฤทธิ์ในของเหลว • เจือจางด้วยน้ำให้ได้สารผสมแขวนลอย ไม่ควรตกตะกอน • เพื่อให้สารออกฤทธิ์กระจายทั่วถึงในระหว่างการใช้ สารออกฤทธิ์ (ไม่ละลายน้ำ) • สารเพิ่มการกระจายในน้ำ • สารป้องกันการแข็งตัว • สารป้องกันการแยกตัว • น้ำ ตั้งทิ้งนานจะตกตะกอน ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ ข้อดี ติดไฟยากกว่าสูตร EC ไม่มีฝุ่น ข้อเสีย เทออกจากภาชนะยาก ตกตะกอนเมื่อตั้งไว้นาน การเตรียมมีข้อจำกัด ต้นทุนค่อนข้างสูง ตกตะกอนแยกชั้น จับตัวเป็นก้อน
8. CS Capsule suspension
9. SL Soluble concentrate
10. SP Water soluble powder
11. SG Water soluble granules
12. ST Water soluble tablets
13. SE Suspo-emulsion (Aqueous suspo-emulsion)
14. ZC Mixed formulation of CS and SC
15. ZW Mixed formulation of CS and EW
16. ZE Mixed formulation of CS and SE
สัจจะ ประสงค์ทรัพย์