banner ad

เสาวรส

| July 20, 2020

เสาวรส (Passion fruit)

ชื่อสามัญ : กะทกรกฝรั่ง 
วิทยาศาสตร์ : Passifora spp.
วงศ์ : Passifloraceae
สกุล Passiflora

มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของพื้นที่สูงในอเมริกาใต้ เป็นไม้ผลประเภทเถาเลื้อย มีอายุหลายปี เสาวรสสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเขตอากาศเย็นทางภาคเหนือ หรือเขตอากาศร้อนชื้นทางภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย การดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก แต่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงเป็นพืชที่สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดี ประเทศไทยเริ่มปลูกเสาวรสครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดย เป็นพันธุ์สีม่วงมีรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว สำหรับมูลนิธิโครงการหลวงมีการปลูกเสาวรสอยู่ 2 ชนิด คือ เสาวรสโรงงานได้ส่งเสริมปลูกมานานแล้ว และเสาวรสสำหรับรับประทานสด ซึ่งคัดเลือกพันธุ์ได้ในปี พ.ศ. 2539 และส่งเสริม  ให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2540 ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดตามลักษณะสีของผลสุกได้แก่ พันธุ์ผลสีม่วง (Passiflora edulis Sims) และพันธุ์ผลสีเหลือง (Passiflora edulis f. flavicarpa O. Deg.) ในศรีลังกามีปลูกเป็นการค้า 2 สายพันธุ์ลูกผสมสีม่วง และสีทอง

ลักษณะทางพฤษกศาสตร์

ลำต้น เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะกลมๆเป็นเถา มีหนามเล็กๆอยู่เป็นระยะตามเถา มีมือเกาะอยู่เป็นระยะๆ มีสีเขียวเข้ม ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะกลม แทงลึกลงดิน มีรากแขนงเป็นรากฝอยเล็กๆ แทงออกตามด้านข้างรอบๆต้น มีสีน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะขอบใบมีรอยหยัก มีรอยเว้าลึกสามเว้า มีก้านใบยาว มีสีเขียว ดอก จะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีลักษณะรูปทรงกรม กลีบดอกมีสีขาว สีแดง สีม่วง มีเกษรเส้นยาวฝอย กลีบเลี้ยงมีสีเขียว มีกลิ่นหอม มีก้านดอกยาว ดอกจะออกที่ข้อต่อใบหรือตามซอกใบ

การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด การปักชำ เสียบยอด และการทาบกิ่ง  แต่พันธุ์สีเหลืองที่มีการปลูกจำนวนมากปลูกเชิงการค้าจะใช้วิธีการเพาะเมล็ดมากกว่าวิธีอื่น ๆ เป็นเมล็ดที่เหลืองจากการแปรรูปน้ำผลไม้แล้วเมล็ดจะงอกในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ เมื่อเจริญเติบโตมีใบจริง 2-3 ใบย้ายมาปลูกในถุงที่มีดินผสมพร้อมปลูกขนาด 4X6 หนึ่งต้นต่อถุง ประมาณ 1-2 เดือนและนำไปปลูกในแปลง 3-4 เดือน จะเริ่มออกดอกและติดผลระยะจากออกดอกและติดผลจะเก็บเกี่ยวประมาณ 50-70 วัน

เสารสเป็นไม้กลางแจ้งเขตร้อนชื้นควรเลือกบริเวณให้เหมาะสมเสาวรสสามารถปลูกได้ในพื้นที่ราบที่สูงเจริญเติบโตในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร (พันธุ์สีม่วง) รสชาติดี พันธุ์สีเหลืองจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบต่ำที่มีฝนตกชุก และพื้นที่ควรมีแสงแดดจัดทั้งวัน


ปัจจัยในการปลูกเสาวรส

1.แสง เสาวรสต้องการแสงแดดตลอดทั่ววันเพื่อนำมาสังเคราะห์ใช้ในการเจริญเติบโตมาก เราควรพิจารณาในเรื่องคุณภาพแสง,ความเข้มข้นของแสงและช่วงแสงที่มีผลต่อขบวนการทางสรีรวิทยาของเสาวรส

2 .น้ำ เสาวรสต้องการน้ำปานกลางแต่ระยะแรกเมื่อเริ่มปลูกควรรดน้ำให้ชุ่มประมาณวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ตามความเหมาะสมและเมื่ออายุได้ 2-3 เดือนเสาวรสเจริญเติบโตแล้วควรรดน้ำวันละครั้งถ้ามีฝนตกไม่ควรรดดูตามความเหมาะสม การให้น้ำโดยทั่วไปอาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล

3.ดินเป็นแหล่งอาหารและน้ำต่อเสาวรสและให้ออกซิเจนเพื่อการเจริญเติบโตของราก ความสามารถของดินที่จะให้พืชเจริญเติบโตนั้นมักจะพูดถึงผลผลิตของพืช จะพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของดินและสภาพทางฟิสิกส์ ดินไม่เพียงแต่มีอาหารเพียงพอพอเท่านั้น จะต้องปลดปล่อยธาตุอาหารที่พืชใช้ได้ด้วย นอกจากนี้ดินจะต้องเก็บรักษาธาตุอาหารที่ได้ด้วยสำหรับเสาวรสชอบและเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและไม่ควรปลูกในดินที่ไม่มีการระบายน้ำ เสาวรสสามารถเจริญเติบในดินที่เป็นกรดเล็กน้อย (PH) ประมาณ 5.5-7 แต่ถ้าค่า (PH) ต่ำกว่า 5.5 ควรจะใส่ปูนขาวลงไปด้วย หลุมปลูกขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ระยะปลูก 4×4 เมตร (100 ต้นต่อไร่) และควรให้หลุมปลูกอยู่บริเวณแนวเสาค้าง เพราะจะทำให้สะดวกในการปฎิบัติงานภายในแปลง

4.การให้ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยที่ให้ธาตุอาหารหลักครบ N, P, K ได้แก่สูตร 13-13-21, 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 4 ครั้งต่อปี และรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟสเพื่อกระต้นการเจริญเติบโตทางรากและควรเพิ่มปุ๋ย ไนโตรเจน (N) ให้แก่เสารสในฤดูฝนเพื่อให้พืชสร้างทรงพุ่มและมีการสะสมอาหาร ก่อนการออกดอกติดผลเมื่อมีธาตุอาหารสะสมแล้วจะมีการออกดอกหลังการเจริญเติบโตทางยอดเมื่อมียอดใหม่จะติดดอกออกผลที่ยอดใหม่เท่านั้น ปุ๋ยเคมี โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้อย่างต่อเนื่อง ครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้งเพราะเสาวรสมีช่วงการให้ผลผลิตตลอดปีและพื้นที่สูงมักจะมีปัญหาการชะล้างโดยฝนทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ยได้ง่าย อัตราปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้จำนวน 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี หรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี

เสาวรสที่ปลุกแบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. เสาวรสพันธุ์สำหรับส่งโรงงาน เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติเปรี้ยว ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อส่งโรงงานเพื่อนำไปแปรรูปน้ำผลไม้ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือเสาวรสโรงงานชนิดสีม่วง เสาวรสชนิดนี้ผิวผลสีม่วง ผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดี ดอกบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมมากกว่าพันธุ์สีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล  และเสาวรสโรงงานชนิดผลสีเหลือง เสาวรสชนิดนี้ผิวผลสีเหลือง ดอกจะบานในตอนเที่ยง ส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้น ทนต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัส และทนต่อไส้เดือนฝอย นิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งพันธุ์ของผลสีม่วงเส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักผล 80-120 กรัมต่อผล มีรสเปรี้ยวมาก เนื่องจากเนื้อในมีความเป็นกรดสูงกว่าพันธุ์สีม่วง

พันธุ์สีเหลืองมีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นหอม เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากเหมาะสำหรับนำไปผลิตเป็นน้ำผลไม้ และทนทานต่อการเกิดโรคได้ดี และพันธุ์สีม่วงมีรสเปรี้ยวอมหวาน เป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานสด โดยแหล่งผลิตเสาวรสที่สำคัญของโลกได้แก่ บราซิล เอกวาดอร์ โคลัมเบีย และเปรู ปริมาณผลผลิตทั่วโลกมีประมาณ 805,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์สีเหลือง

2. เสาวรสพันธุ์รับประทานสด เป็นพันธุ์ที่มีรสชาติดี รสหวานกว่าพันธุ์ที่ส่งโรงงาน มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1 ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง ผลที่ผ่าตามขวางมีลักษณะมี 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนัก 70-80 กรัมต่อผล รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix และพันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2 ลักษณะคล้ายพันธุ์เบอร์ 1 แต่ผลจะสีเข้มและเปลือกมีความหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงเก็บรักษาไว้ได้นาน เส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนัก 70-100 กรัมต่อผล เปอร์เซ็นต์ความหวานเฉลี่ยประมาณ 17-18 Brix

ผลผลิตส่งโรงงาน

เสาวรสรับประทานสดหรือเสาวรสหวาน แบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ เกรดพิเศษ ผลดี ไม่บิดเบี้ยว ไม่แตก เนื้อในเหลืองเข้ม น้ำหนักผล 70 กรัมขึ้นไปและต้องมีความหวานไม่ต่ำกว่า 15% เกรด 1 ผิวดี ไม่บิดเบี้ยว ไม่แตก เนื้อในเหลืองเข้ม น้ำหนักผลประมาณ 50-70 กรัม และต้องมีความหวานไม่ต่ำกว่า 15% เกรดโรงงาน ผลที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรขึ้นไป และผลต้อง ไม่เหี่ยว ไม่เบี้ยว และไม่เน่า

ประโยชน์และสรรพคุณเสาวรส

มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีธาตุแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี5 มีวิตามินบี6 มีวิตามินบี9 มีโปรตีน มีธาตุเหล็ก มีธาตุแมกนีเซียม มีคาร์โบไฮเดรต มีเบต้าแคโรทีน มีเส้นใย มีโพแทสเซียม มีพลังงาน มีโซเดียม มีสังกะสี มีไขมัน มีโพลิก มีแมงกานีส มีไฟเบอร์ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาแผลแดดไหม้ ช่วยให้ผิวชุ่มชื่น ช่วยลดอาการปวด ช่วยบรรเทาข้ออักเสบ ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดไขมันอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยรักษาโรคมะเร็ง ช่วยรักษาอาการไอ ช่วยลดความอ้วน ช่วยให้ภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยขับสารพิษ ช่วยให้นอนหลับง่าย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะ ช่วยรักษาปัสสาวะอักเสบ แก้ท้องผูก ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงฟัน หอบหืด ช่วยรักษาหิด แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยบำรุงปอด ช่วยบำรุงสายตา ช่วยบำรุงตับ ช่วยบำรุงไต

ผล มีลักษณะทรงกลม ผิวเปลือกหนา ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกมีสีม่วง สีส้ม หรือสีเหลือง ตามสายพันธุ์ ภายในผลข้างใน มีเยื่อเปลือกสีขาว จะมีเนื้อเป็นถุงน้ำหุ้มเมล็ด มีสีส้มหรือสีเหลือง จะมีเมล็ดสีดำเล็กๆ มากมายอยู่ข้างใน มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน หรือเปรี้ยวจัด ตามสายพันธ์ุ มีกลิ่นหอมคล้ายฝรั่งสุก

เมล็ด มีลักษณะเล็กๆจำนวนมาก มีเนื้อเป็นถุงน้ำมีสีเหลือง หรือสีส้มหุ้มอยู่ เมล็ดมีสีดำ

คุณค่าทางอาหารโภชนาการ

ส่วนประกอบทางเคมีของน้ำเสาวรส ประกอบด้วย น้ำ 76-85 % ของแข็งที่ละลายน้ำได้ประมาณ 17.4% คาร์โบไฮเดรตประมาณ 12.4% กรดอินทรีย์ประมาณ 3.4%นอกจากนั้นมีแคโรทีนอยด์ สารประกอบไนโตรเจน, Calories(kcal) 15 g, Energy(kj) 62 g, Protein 0.1 g, Carbohydrate 4.2 g, Fiber 0.1 g, Sugars 4.1 g, Sodium 1.9 g,Fats 0 g, และวิตามินซี ค่อยข้างสูงคือประมาณ 39.1 mg/100g ของน้ำเสาวรสมากกว่าในน้ำมะนาว

สถานการณ์แหล่งผลิตเสาวรสที่สำคัญในประเทศไทย

ปี 2560 พบว่า มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 11,761 ไร่ ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ 13,964,497 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 3,288 กิโลกรัมต่อไร่  ราคาขายเฉลี่ย 14 บาทต่อกิโลกรัมเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 107 ไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92 เกษตรกร 1,943 ครัวเรือน มีการเพาะปลูกใน 14 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ เชียงราย บุรีรัมย์ เลย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก เชียงใหม่ แพร่ สระแก้ว สุราษฎ์ธานี ชัยภูมิ สงขลา พะเยา และฉะเชิงเทรา จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 2,640 ไร่ ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ 1,609,400 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,307 กิโลกรัมต่อไร่  ราคาขายเฉลี่ย 10 บาทต่อกิโลกรัม จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 2,359 ไร่ ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ 1,970,840 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 2,467 กิโลกรัมต่อไร่  ราคาขายเฉลี่ย 22 บาทต่อกิโลกรัม จังหวัดเลย มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 1,743 ไร่ ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ 6,822,500 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 7,753 กิโลกรัมต่อไร่  ราคาขายเฉลี่ย 9 บาทต่อกิโลกรัม

มาตรฐานคุณภาพผลผลิตเสาวรสรับปรยน้ำได้ 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

ชั้นมาตรฐานคุณภาพ 2  ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนะทานสด แบ่งตามคุณภาพดังนี้

 

ชั้นมาตรฐานคุณภาพพิเศษ ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป หรือมีน้ำหนักผล 100 กรัมขึ้นไป (8-10 ผลต่อ 1 กิโลกรัม) สีผิวผลมีสีม่วงแดงและสีผิวมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งผล ผลไม่บิดเบี้ยว ไม่เหี่ยว ไม่เน่าหรือแตก เนื้อในมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดมีสีดำ มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

ชั้นมาตรฐานคุณภาพ 1 ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักผล 80-99 กรัม (10-12 ผลต่อ 1 กิโลกรัม) สีผิวผลมีสีม่วงแดง ผลไม่บิดเบี้ยว ไม่เหี่ยว ไม่เน่า ไม่แตก เนื้อในมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดสีดำมีปริมาณของแข็งที่ละลาย์กลาง 4-5 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักผล 70-79 กรัม (12-14 ผลต่อ 1 กิโลกรัม) สีผิวผลมีสีม่วงแดง ผลไม่บิดเบี้ยว ไม่เหี่ยว ไม่เน่า ไม่แตก เนื้อในมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดสีดำมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

ชั้นมาตรฐานคุณภาพ 3  ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักผล 60-69 กรัม (14-16 ผลต่อ 1 กิโลกรัม) สีผิวผลมีสีม่วงแดง ผลไม่บิดเบี้ยว ไม่เหี่ยว ไม่เน่า ไม่แตก เนื้อในมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดสีดำมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

ชั้นมาตรฐานคุณภาพ 4  ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-5 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักผล 50-59 กรัม (17-20 ผลต่อ 1 กิโลกรัม) สีผิวผลมีสีม่วงแดง ผลไม่บิดเบี้ยว ไม่เหี่ยว ไม่เน่า ไม่แตก เนื้อในมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดสีดำมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

ชั้นมาตรฐานคุณภาพ F  ผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-5 เซนติเมตร หรือมีน้ำหนักผล 50 กรัม (17-20 ผลต่อ 1 กิโลกรัม) สีผิวผลมีสีม่วงแดง ผลไม่บิดเบี้ยว ไม่เหี่ยว ไม่เน่า ไม่แตก เนื้อในมีสีเหลืองเข้ม เมล็ดสีดำมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ 15 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

การปลูกในพื้นที่ความสูง 1,000 และ 1,200 เมตร จากระดับนทะเล มีสีผิว เป็นสีม่วงแดงมากกว่า มีปริมาณแอนโทไซยานินในเปลือกสูงกว่า มีน้ำหนักผลมากกว่า มีรสชาติดีกว่า และมีกิจกรรมของสาร ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผลที่ปลูกในพื้นที่ความสูง 800 เมตร จากระดับน้ำทะเล อย่างไรก็ตาม ระดับความสูงของพื้นที่ปลูก ไม่มีผลต่อค่า L* และค่า chroma ของสีเปลือก ปริมาณแคโรทีนอยด์รวม ปริมาณวิตามินซี และปริมาณสารประกอบฟีนอลของ น้ำคั้นเสาวรส นอกจากนี้ ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.7724) กับปริมาณสารประกอบฟีนอลในสารสกัดหยาบของน้ำคั้นเสาวรสจาก 3 แหล่งปลูก

การผลิตของไต้หวันของบริษัท TAI-YI เมืองนันเถา (Nantou) เป็นแหล่งผลิตต้นกล้าเสาวรสที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน และมีการเพาะต้นกล้าพืชมีสาขาในประเทศไต้หวันทั้งหมด 5 สาขา บริษัทเริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1989 โดยมีพื้นที่ปลูกเสาวรสประมาณ 600 เฮกตาร์ (ha) ปลูกเสาวรส จำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Tainung1 Chinese superstar และGolden เป็นสายพันธุ์ที่มีรสชาติหวานเป็นที่ต้องการของตลาด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดในถาดเพาะขนาด 32 หลุม ซึ่งจะ ใช้กระดาษรองก้นหลุมเพื่อให้มีช่องว่างระหว่างถาดเพาะกับวัสดุเพาะ อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกทั้งด้านข้างและด้านล่าง ส่งผลให้รากแข็งแรงพุ่งตรงลงข้างล่าง เมื่อนำไปย้ายปลูกจะเจริญเติบโตดีหลังจากการเพาะเมล็ดแล้วต้นกล้ามีอายุประมาณ 35 – 40 วัน (ในฤดูหนาวอายุมากว่า 40 วัน) จึงทำการเสียบยอดต้นกล้าโดยใช้ยอดพันธุ์ดี (Tainung1 Chinese superstar และGolden) มาเสียบบนต้นตอ (stock) การเสียบยอดใช้แรงงานคนประมาณ 10 คน หลังจากเสียบยอดเสร็จแล้วจะอนุบาลต้นกล้าไว้ภายใต้โครงพลาสติกเป็นเวลา 7 วัน เพื่อลดการคายน้ำของพืชและทำให้เซลล์พืชเชื่อมติดง่าย หลังจากนั้นจึงนำพลาสติกคลุมออก และดูแลต้นกล้าต่ออีกประมาณ 20 วัน (ในฤดูหนาวประมาณ 25 วัน) ต้นกล้าจะเริ่มแตกตายอดใหม่ออกมาประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร

การจำหน่ายต้นกล้าบรรจุต้นกล้าเสาวรส 100 ต้นต่อกล่อง ราคาต้นละ 1 – 2 USD

การปลูกเสาวรสตั้งแต่ย้ายปลูกลงแปลงจนถึงรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ใช้เวลา 1 ปี ใช้ตาข่ายขึงเป็นโครงสี่เหลี่ยม ผลเสาวรสทั้งหมดจะไม่ตกลงพื้นดิน หากผลเสาวรสหล่นลงมากระแทกพื้นจะส่งผลให้รสชาติเสาวรสจะมีรสเปรี้ยว การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่พื้นดินตามระยะทรงพุ่มของต้น และมีการให้ปุ๋ยทางใบ 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงบำรุงลำต้นก่อนระยะออกดอกใช้ปุ๋ยสูตร 18 – 18 – 18 ช่วงออกดอกใช้ปุ๋ยสูตร 10 – 50 – 10 และช่วงติดผลใช้ปุ๋ยสูตร 8 – 25 – 35 อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 200ลิตร โดยให้พร้อมกับการให้น้ำระบบสปริงเกอร์ (Sprinkle) เสาวรส 1 ต้นจะให้ผลผลิตประมาณ 40 กิโลกรัม

งานวิจัย

1.การรวบ ผสม และ คัดเลือกสายพันธุ์เสาวรสพันธุ์รับประทานสด และพันธุ์โรงงาน
2.การศึกษารูปแบบค้างเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพเสาวรส
3.การศึกษาการจัดการปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับวัสดุอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลผลิตและคุณภาพเสาวรส

บันทึกข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์ เช่น ต้น: เพศ  (female, male, monoecious) stem color, branching pattern, canopy shape ใบ:  Leaf shape, leaf surface, texture leaf, color leaf, tip shape, shape of petiole base, size ดอก: season of flowering, inflorescence type  ผล: fruit shape, fruit size, fruit skin color, fruit thickness, fruit base shape, groove fruit median เมล็ด: สี ขนาด รูปร่าง จำนวนผลต่อช่อ รก/เสาวรส: Thickness, compactness on seed (entire, slightly dissected, intermediate, highly dissected)  และสีของรก

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือกพันธุ์เสาวรสที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรม

 

  1. ลักษณะผลไม่บิดเบี้ยว ผลมีขนาดใหญ่ คือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตรขึ้นไป
  2. น้ำหนักผล มากว่า 80-120 กรัมต่อผล
  3. ปริมาณเนื้อในหรือรกที่ห่อหุ้มเมล็ดมากเนื้อในสีเหลือง
  4.  เปลือกบาง เนื้อในมีความเป็นกรดสูง กลิ่นหอม น้ำคั้นมีกรดมาก pH ต่ำกว่า 3
  5. เจริญเติบโตดี ทนทานต่อโรคและแมลง
  6. สีผิวตรงตามความต้องการของตลาด (ผิวสีเหลือง ผิวเป็นมัน)
  7. อายุการเก็บเกี่ยวหลังปลูก น้อยกว่า 70 วัน

หลักเกณฑ์การคัดเลือกลักษณะของเสาวรสสำหรับรับประทานสด

  1. ผลสวยไม่บิดเบี้ยว มีขนาดใหญ่ คือเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป
  2. น้ำหนักผล มากว่า 70-100 กรัมต่อผล
  3. ปริมาณเนื้อในหรือรกที่ห่อหุ้มเมล็ดมากเนื้อในสีเหลือง
  4. ความหวานไม่ต่ำกว่า 16 Brix
  5.  เปลือกบาง เนื้อในมีความเป็นกรดต่ำ
  6. เจริญเติบโตดี ทนทานต่อโรคและแมลง
  7. สีผิวตรงตามความต้องการของตลาด (ผิวสีเหลือง ผิวเป็นมัน)
  8. อายุการเก็บเกี่ยวหลังปลูก น้อยกว่า 70 วัน
Quality characteristics and criteria
-Size, shape, skin color, acidity and SCC are major criteria used to evaluate quality.
-The yellow egg-shaped passion fruit is 6 to 8 cm (2.5 to 3 in) wide by 7 cm (2.7 in) ling and weighs from 50 to 150 g(1.8 to 5.3 oz)
-The smaller purple fruit weighs from 25 to 50 g (1 to 2 oz). Fruit should be blemish freee.
-TSS is 10 to 18% in yellow and 10 to 20% in purple, with the yellow type having a more acidic flavor.
- Pre-cooling Conditions: Room of forced-air cool to 10 C
-Optimum Storage Conditions: Yellow passion fruit should be stored at 7 to 10 C with 90 to 95%RH. They will have a potential storage-life of 2 week. Tainon1 : 12C for 2 weeks storage.
-Purple passion fruit are chilling tolerant and can be stored at 3 to 5 C for 3 to 5 weeks.
-Chilling sensitivity : Symptoms of chilling injury on yellow passion fruit are skin discoloration, pitting, water soaked areas, Discoloration can penetrate skin into the exocarp.
-Ethylene production and sensitivity: Passion fruit produce very high levels of ethylene  at 160 to 400 ul kg-1h-1 at 20 C at their climatreric peak
-Exposure to 100uL L-1 ethylene for 24 h accelerates ripening
สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)
P.O.Box 50 Chattuchak, Bangkok 10900, Thailand
Tel: 66-2940-5484
Fax: 66-2561-4667
E-mail address : herbdoa@gmail.com

Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news