บทสรุปผู้บริหารสับปะรด
บทสรุปผู้บริหารสับปะรด
การวิเคราะห์SWOT Analysis
ก.จุดแข็ง (Stength)
1.สภาพพื้นที่ ลักษณะดิน และภูมิอากาศ มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูกสับปะรด
2.เกษตรกรมีความรู้และประสบการณ์การปลูกสับปะรดอย่างดี
3.มีเทคโนโลยีการผลิตสามารถบังคับให้ออกดอกได้
4.มีการรวมกลุ่มผู้ผลิตที่ค่อนข้างเข้มแข็งในรูปสถาบันเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง
5.ผลผลิตมีปริมาณเพียงพอในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
6.มีโรงงานแปรรูปที่สามารถรองรับวัตถุดิบได้เพียงพอและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
7.โรงงานส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในแหล่งผลิต สะดวกในการขนส่ง
8.แรงงานมีทักษะและความชำนาญ
ข.จุดอ่อน(Weakness)
1.มีเกษตรกรรายย่อยจำนวนมากที่ไม่มีการรวมกลุ่ม ขาดแคลนเงินทุนรวมทั้งไม่มีการทำสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้า (contract farming) ทำให้มีความเสี่ยงด้านราคา
2.พันธุ์สับปะรดที่ปลูกในปัจจุบันให้ผลผลิตต่ำ ส่วนพันธุ์บริโภคสดอายุเก็บรักษาสั้น
3.ขาดการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ปลอดโรคและให้ผลผลิตต่อไร่สูง
4.การขนส่งสับปะรดจากแหล่งผลิตไปสู่โรงงานยังไม่เหมาะสมทำให้ผลผลิตเสียหาย
5.ผลผลิตป้อนโรงงานไม่สม่ำเสมอทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
6.โรงงานส่วนหนึ่งมีขนาดเล็ก ขาดแคลนเงินทุนในการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน
7.เกษตรกรและโรงงานแปรรูปยังขาดความร่วมมือในการวางแผนการผลิตและการร่วมใจในการแก้ไขปัญหา
8.การขยายการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมและไม่มีโรงงานรองรับ ก่อให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ
9.โรงงานแปรรูปส่วนใหญ่ส่งออกผ่านนายหน้า ในตราสินค้าของลูกค้า ทำให้ยากต่อการขยายตลาดใหม่
10.ขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) ใหม่ๆเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
11. ขาดวิทยาการก่อน-หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออกสับปะรดผลสดที่เหมาะสม
ข.โอกาส(Opportunity)
1. ผลิตภัณฑ์สับปะรดของไทยคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับและต้องการของตลาดโลก
2. การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) เป็นโอกาสในการขยายการส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์
3. ผลิตภัณฑ์แปรรูปมีความหลากหลายในด้านขนาดบรรจุ ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามต้องการ
4. การยกเลิกภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(Anti Dumping) ของสหรัฐอเมริกาทำให้ราคาสับปะรดกระป๋องของไทยสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้
ค.อุปสรรค(Threat)
1. ราคาปัจจัยการผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งค่าปุ๋ยเคมี สารเคมี และค่าจ้างแรงงานทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
2. การปลูกสับปะรดขึ้นกับปัจจัยสภาพดินฟ้าอากาศ ส่งผลให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตไม่แน่นอนในแต่ละปี
3. ขาดแคลนแรงงาน ต้องพึ่งพาแรงงานต่างชาติ
4. ต้นทุนการผลิตสับปะรดกระป๋องของไทยสูงกว่าคู่แข่ง
5. ตลาดหลักของผลิตภัณฑ์สับปะรดได้แก่สหภาพยุโรป และสหรัฐฯประสบปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์สับปะรดลดลง
6. ตลาดสับปะรดผลสด มีฟิลิปปินส์เป็นผู้ส่งออกสำคัญและมีความได้เปรียบทั้งด้านภูมิประเทศและการบริหารจัดการในรูปของบริษัทยักษ์ใหญ่ ทำให้ได้ผลผลิตคุณภาพและมีความสม่ำเสมอ
Category: บทสรุปผู้บริหาร, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ