banner ad

หอมแดง

| August 10, 2015

หอมแดง

สถานการณ์การผลิตหอมแดง ปลูกในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ

ราคาหอมแดงสดคละที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 กิโลกรัมละ11 บาท และราคาหอมแดงใหญ่มัดจุก (อายุ 7-15 วัน ) อยู่ที่กิโลกรัมละ 28.56 บาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่ขายได้กิโลกรัมละ 14.98 บาท และ 34.82 ตามลำดับ หรือลดลงร้อยละ 26.57 และ 18.00 ตามลำดับ

ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้าหอมแดงสดหรือแช่เย็น ปริมาณ 13,086 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 3.10 ขณะที่มูลค่า 120.91 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ31.90 สำหรับการส่งออก ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) มีการส่งออกหอมแดงสดหรือแช่เย็น ปริมาณ 10,745 ตัน มูลค่า248.35 ล้านบาท ลดลงจาก 16,025 ตัน มูลค่า 356.60 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 33และ 30.40 ตามลำดับ

ปี 2564 หอมแดงมีพื้นที่เพาะปลูก 59,754 ไร่  เนื้อที่เก็บเกี่ยว 59,345 ไร่ ผลผลิต 159,869 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 2,694 กิโลกรัม

ปี 2563 หอมแดงมีพื้นที่เพาะปลูก 51,924 ไร่  เนื้อที่เก็บเกี่ยว 51,789 ไร่ ผลผลิต 134,655 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 2,600 กิโลกรัม

ปี 2559 หอมแดงมีพื้นที่เพาะปลูก 48,685 ไร่ ผลผลิต 88,160 ตัน ต้นทุนการผลิตไร่ละ 22,158.11 บาท หรือกิโลกรัมละ 9.34 บาท

ตลาดต่างประเทศที่นำเข้าหอมแดงจากไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ตลาดคู่แข่งได้แก่ ประเทศเวียตนาม อินเดีย และจีน ปี 2560 จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น 99,000 ตัน เนื่องจากราคาดีอยู่ที่ 15.33 บาท

การวิเคราะห์ SWOT

ความได้เปรียบของหอมแดง

1. เกษตรกรนิยมปลูกมากเนื่องจากมีรายได้ดีกว่าพืชอื่นๆ หลายชนิด เป็นพืชอายุสั้น 45 – 75 วัน เกษตรกรสามารถปลูกปีละหลายครั้งเพื่อสร้างรายได้เกษตรกรไม่ต้องดูแลรักษามาก เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ

2. คุณภาพหอมแดงของไทยมีรสชาติดีเป็นที่นิยมและความต้องการของผู้บริโภคทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์

ข้อเสียเปรียบของหอมแดง

1. พันธุ์หอมแดงในประเทศมีน้อย ค่าพันธุ์มีราคาแพง ผลผลิตกระจุกออกสู่ตลาดพร้อมกันทำให้มีปัญหาราคาตกต่ำต้องแทรกแซงตลาด รัฐเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีน้ำมาก?โรคหอมแดง เช่น หอมเลื้อย หรือแอนแทรกโนส การแปรรูปหอมแดงมีน้อย

2. ?เกษตรกรเก็บพันธุ์มาปลูกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพต่ำ ยังไม่มีเครื่องจักรกลใช้แทนแรงงานคนเพื่อลดต้นทุนการผลิต

3. เกษตรกรยังไม่ค่อยมีการเข้าร่วมแปลง GAP สหกรณ์หอมแดงยังไม่มีความเข้มแข็ง ไม่สามารถดำเนินธุรกิจด้านตลาดได้

4. อายุการเก็บรักษาได้ไม่ยาวนาน ปัญหาเน่าเสียระหว่างการขนส่งมากเนื่องจากหอมแดงมีน้ำมากทำให้เป็นภาระต้น ทุนกับพ่อค้าและผู้ส่งออกการนำเข้าหอมแดงมาขายแบ่งกับตลาดภายใน ทำให้ราคาตกต่ำ ต้นทุนการผลิตยังสูงเมื่อเทียบกับผู้แข่งขัน

หอมแดงในฤดูอายุเก็บเกี่ยว 60 วัน และหอมซิ่งอายุเก็บเกี่ยว 45 วัน (ปลูกก่อนฤดูกาล) ห้วพันธุ์หอมแดงกิโลกรัมละ 200 บาท

หอมแดงที่ปลูกเดือนธันวาคมจะให้ผลผลิตมาก และลดลงเมื่อปลูกเดือนถัดไป

ศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

1.โรคแอนแทรคโนส หรือโรคหอมเลื้อย (หรือโรคหมานอน)

อาการใบเน่า พบแผลรูปรี เนื้อแผลยุบเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้ม เมื่อแห้งจะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆสีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกันจะทำให้ใบหักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น ทำให้ผลผลิตลดลง

อาการต้นเลื้อย พบอาการต้นแคระแกร็น ใบบิดเป็นเกลียว ไม่ลงหัว หรือหัวลีบยาวบิดโค้งงอ ส่วนคอมักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติ มักพบแผลอาการใบเน่าที่บริเวณใบ โคนกาบใบ คอ หรือส่วนหัว

การป้องกันกำจัด

ก. ถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำลาย แล้วพ่นต้นที่เหลือด้วยสารไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราช 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม 50% เอสซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่ง สลับกับ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดื้อยา หากโรคยังคงระบาดพ่นซ้ำ ทุก 5 วัน

ข. ในแปลงที่เกิดโรค ก่อนปลูกฤดูปลูกต่อไป ควรไถตากดิน 2-3 แดด และใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดิน หรือปลูกพืชอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ อย่างน้อย 2 ปี

ค. ก่อนปลูกแช่หัวพันธุ์ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 10-20 กรัม ต่อหอมแดง 1 กิโลกรัม หรือ สารโพรคลอราช 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15-20 นาที

2. โรคใบจุดสีม่วง พบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก เมื่อแผลแห้งเปลี่ยนเป็นจุดแผลสีขาวต่อมาแผลขยายออกเป็นวงกลมรี ตามขนาดใบ เนื้อเยื่อยุบตัว แผลสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลอมม่วง ตรงกลางซีดจางกว่าเล็กน้อย มีแถบสีขาว หรือสีเหลืองส้มล้อมรอบ ถ้าอากาศชื้นจะพบสปอร์สีดำที่แผล หากระบาดรุนแรงใบจะแห้งตายหมด ผลผลิตลดลง

การป้องกันกำจัด

ก. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ เมื่อพบโรค พ่นด้วยสารไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 2๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 5๐ % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรคลอราช 5๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 2๐ กรัมต่อน้ำ 2๐ ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่ง สลับกับ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 2๐ ลิตร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุ
ข. เก็บซากพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
ค. ฤดูปลูกถัดไป ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับสภาพดิน
ง. ก่อนปลูกควรแช่หัวพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15-20 นาที
จ. ปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ

3. หนอนกระทู้หอม กัดกินทำลายใบ

การป้องกันกำจัด
1. เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายช่วยลดการระบาด
2. ในระยะหนอนขนาดเล็กและมีการระบาดน้อย พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt) อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
3. สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด เช่น คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% เอสแอล อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 6 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอฟีนาเพอร์ 10% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลเฟนไพแร็ด 16% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% เอสซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสไปนีโทแรม 12% เอสซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

หอมแดงเกณฑ์การคัดเลือก ฤดูปลูกมี 2 ช่วง ตค-พย. เมย.-พค หัวใหญ่  ทรงกลม หยดน้ำ อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว 1 สัปดาห์ อายุการเก็บรักษา 90 วัน เปรียบเทียบพันธุ์ราษีไศล ที่อายุ 90 วัน จะมีสูญเสีย 30 เปอร์เซนต์จะทำให้สูญเสีย 20 เปอร์เซนต์ เกษตรกรศรีสะเกษนิยมพันธุ์จากราษีไศล

Tags:

Category: พืชผัก, พืชผัก ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news