เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
ชื่อสามัญ : mango leaf hopper
ชื่ออี่น : แมงกะอ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : ldioscopus clypealis (Lethierry)
ldioscopus niveosparsus
ชื่อวงศ์ : Cicadellidae
อันดับ : Homoptera
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน ระยะที่ทำความเสียหายให้มากที่สุดคือ ระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกโดยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้แห้งและดอกร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดเลย ระหว่างที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผลและรอบๆ ทรงพุ่มทำให้ใบมะม่วงเปียก ต่อมาจะเกิดราดำปกคลุม ถ้าเกิดมีราดำปกคลุมมาก มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ใบอ่อนที่ถูกกินน้ำเลี้ยง(โดยเฉพาะระยะใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลงด้านใต้ใบจะมีอาการปลายใบแห้งให้สังเกตได้
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
เพลี้ยจักจั่นทั้ง 2 ชนิด มีรูปร่างคล้ายกันมากคือ ตัวมีสีเทาปนดำหรือสีน้ำตาลปนเทา ส่วนหัวโตและป้าน ลำตัวเรียวแหลมมาทางด้านหาง ทำให้เห็นส่วนท้องเรียวเล็กมองดูจากด้านบนคล้ายรูปลิ่มl. niveosparsus ตัวใหญ่กว่า ความยาวลำตัว 5.6-6.5 มิลลิเมตร ทางด้านหลังมจุดสีขาวต่อกันป็นรูปตัววี (V) ส่วน l. Clvpealis ตัวเล็กกว่า ความยาวลำตัว 5.5 มิลลิเมตร หัวสีเหลืองมีจุดกลมดำประมาณ 2.6 จุด (วารี.2525 ก) ตัวเต็มวัยเคลื่อนที่รวดเร็ว เพราะมีขาคู่หลังที่แข็งแรงทำให้กระโดดได้ค่อข้างไว ตัวอ่อนมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ แต่มีการเคลื่อนที่น้อยกว่าตัวเต็มวัย ตัวอ่อนมักพบอยู่เป็นกลุ่มตามช่อดอกและใบโดยเฉพาะบริเวณโคณของก้านช่อดอก และก้านใบเนื่องจากบริเวณโคนจะมีเยื่อบางๆ สีน้ำตาลหุ้มไว้ เมื่อแดดร้อนจัดจะหลบซ่อนอยู่ตามหลังใบในต้นมะม่วงที่มีเพลี้ยจักจั่นมาก จะได้ยินเสียงเพลี้ยจักจั่นชัดเจน เนื่องจากแมลงขนิดนี้ ใช้ขาหลังกระโดดดีดตัวออกจากใบที่เกาะอยู่ ทำให้เกิดเสียงได้
ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ รูปร่างยาวรี สีเหลืองอ่อนตามแกน กลางใบอ่อนหรือก้านช่อดอกปรากฎเป็นรอยแผลเล็กๆ คล้ายรอยมีดกรีด ภายลังจากการวางไข่แล้วประมาณ 1- 2 วัน จะเห็นยางสีขาวของมะม่วงไหลหยดออกให้เห็น ระยะไข่ 7-10 วัน เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนจะเริ่มดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกและใบ ตัวอ่อนลอกคราบ 4 ครั้ง ระยะตัวอ่อน 17-19
จำนวนเพลี้ยจักจั่นที่เข้าทำลายช่อดอก มีความสำคญอย่างยิ่งต่อการทำให้ดอกร่วงและไม่ติดผล ดังนั้น เพลี้ยจักจั่นตั้งแต่ 5 ตัวต่อช่อก็มีผลทำให้ดอกร่วงได้ และถ้าพบปริมาณพลี้ยจักจั่นเพิ่มมากขึ้นในระยะดอกใกล้บานก็จะทำให้ดอกร่วงได้เช่นกัน (พนมกรและคณะ,2531)
แมลงชนิดนี้พบระบาดอยู่ทั่วไปทุกแห่งที่ปลูกมะม่วงพบได้ตลอดทั้งปี แต่ปริมาณประชาการของเพลี้ยจักจั่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงออกดอก ระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราม ปริมาณแมลงจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากระยะดอกตูมและมีปริมาณสูงสุด เมื่อดอกใกล้บานและลดลงเมื่อมะม่วงเริ่มติดผลและจะไม่พบแผลเมื่อมะม่วงมรขนาดเท่านี้วหัวแม่มือ (ขนาด 1.5-2 ซม.หรือช่วง 40 วัน)
พืชอาหาร
มะม่วง
ศัตรูธรรมชาติ
ผีเสื้อตัวเบียน Epipypropid, Epipyprops fuliginosa Tams
แมลงวันตาโต Pipunculid, Pipunculus annulifemur Brun
แตนเบียน Aphelinid, Centrodora idioceria Ferrieri
การป้องกันกำจัด
1.การตัดแต่งกิ่งภายหลังเก็บผลผลิตเป็นวิธีควรกระทำอย่างยิ่ง เพาระช่วยลดที่หลบซ่อนของเพลี้นจักจั่นลง ทำห้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดีขึ้น
2.ถ้าหากไมมีการป้องกันกำจัดแล้ว มะม่วจะไม่ติดผลเลย จึงควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง lambdacyhalothrin ZKarate 2.5 % EC) อัตรา 10 มล. หรือ carbaryl (Sevin 85%WP) อัตรา 60 กรัม หรือ imidacloprid (Confidor 10 % SL) อัตรา 10 มล.ผสมน้ำ 20 ลิตร ก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง เมื่อช่อดอกบานแล้วไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร และหมั่นตรวจดูตามช่อดอกอยู่เรื่อยๆ
3. การพ่นสารฆ่าแมลงให้มีประสิทธิภาพควรพ่นให้ทั่วถึงลำต้น มิเช่นนั้นตัวเต็มวยจะเคลื่อนย้ายซ่อนไปยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ถึง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงการปรับหัวฉีดให้เป็นละอองฝอยและระยะเวลาการฉีดพ่น
4. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากโรคราได้บ้าง ถ้าแรงอัดฉีดของน้ำแรงพอก็ช่วยให้เพลี้ยในระยะตัวอ่อนกระเด็นออกจากชช่อดอกได้ ต้องระมัดระวังอย่าให้กระแทกดอกมะม่วงแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ดอกหรือผลที่เริ่มติดร่วงได้
5. ใช้กับดักแสงไฟ ดักตัวเต็มวัยที่บินมาเล่นไฟ
Category: ศัตรูพืช, แมลงศัตรูพืช