banner ad

หนอนเจาะผลละหุ่ง

| December 30, 2014

หนอนเจาะผลละหุ่ง

ชื่อสามัญ : Castor capsule borer

Castor fruit Borer

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dichocrocis punctiferalis (Guenee)

ชื่อวงศ์ : Pyralidae

ชื่ออันดับ : Lepidoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนเจาะผลละหุ่งจัดเป็นแมลงที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่งรองลงมาจากหนอนคืบละหุ่งและเพลี้ยจักจั่นละหุ่ง พบได้ทั่วไปในแหล่งปลูกละหุ่งทั่วประเทศและพบเสมอเมื่อมีการปลูกละหุ่ง แต่หากบางปีสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสมกับการระบาดจะทำความเสียหายกับละหุ่งได้มาก หนอนเมื่อฟักจากไข่จะอาศัยกัดกินอยู่บริเวณช่อดอก ก้านดอก ทำให้เกสรและดอกร่วง หนอนสร้างใยขึ้นภายในช่อดอก มูลที่ถ่ายออกมาจะอยู่ภายในช่อดอก ทำให้ช่อดอกเปียกขึ้นเกิดเชื้อราได้ง่าย และภายหลังหากละหุ่งติดผลหนอนก็ที่โต จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผลละหุ่ง นอกจากนี้ยังเจาะก้านช่อทำให้ผลอ่อนบางส่วนร่วงหล่นเสียหายหรือช่อเหี่ยวแห้ง ผลและเมล็ดลีบทั้งช่อ

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนากเล็กมีสีเหลืองสด มีจุดสีดำเล็กๆ จำนวนมากอยู่ตามลำตัวและปีก เมื่อกางปีกวัดได้ ๒๐-๒๓ มม. ตัวเต็มวัยเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย

ระยะไข่ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ตามยอดและช่อดอกละหุ่ง

ระยะหนอน หลังจากฟักเป็นตัวหนอนแล้วจะอาศัยอยู่ระหว่างก้านช่อและก้านดอกตัวผู้และตัวเมียโดยชักใยสร้างรังหุ้มหนอนอาศัยกัดกินอยู่ภายในช่อดอก ช่อผลเหล่านั้น หนอนเมื่อโตขึ้นจะเจาะเข้าไปกินเมล็ดในผลละหุ่ง หนอนโตเต็มที่วัดได้ยาวประมาณ ๑๕-๑๘ มม. ลักษณะหนอนอ้วนสั้น ตัวหนอนมีสีน้ำตาล ตามลำตัวมีจุดสีดำเล็กๆ อยู่ทั่วทั้งตัวและมีขนอยู่ทั่วไป

ระยะดักแด้ หนอนเข้าดักแด้ในผลละหุ่ง หรือในช่อดอกช่อผลละหุ่ง โดยดักแด้จะมีรังสีขาวขุ่นหุ้มดักแด้อีกชั้นหนึ่ง เมื่อออกเป็นตัวเต็มวัย อาศัยดูดกินน้ำหวานจากดอกละหุ่ง ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุยาวนานกว่าตัวเต็มวัยเพศผู้เล็กน้อย

สรุปวงจรชีวิต
1. ระยะไข่ 6-7 วัน
2. ระยะหนอน 13-15 วัน
3. ระยะดักแด้ 7-9 วัน
4. ระยะตัวเต็มวัย : เพศเมีย 15 วัน เพศผู้ 15 วัน

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

เนื่องจากมีพืชอาหารทั้งพืชสวน พืชไร่ ปลูกแพร่หลายกระจายไปทั่วประเทศตลอดปี จึงพบหนอนชนิดนี้ได้ตลอดปีในพืชชนิดต่างๆ สำหรับละหุ่งเมื่อถึงฤดูปลูกจะพบหนอนเจาะผลละหุ่งมากในระหว่างเดือน สิงหาคม พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นระยะที่ละหุ่งออกดอกและติดผล ในต่างประเทศแมลงชนิดนี้พบระบาดแทบทุกประเทศในทวีปเอเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน เกาหลี มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา และพม่า นอกจากนี้พบในออสเตรเลียอีกด้วย

พืชอาหาร

นอกจากละหุ่งแล้วยังเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญของฝ้าย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ทุเรียน เงาะ ลำไย ทับทิม มะม่วง นุ่น โกโก้ เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ

แมลงตัวห้ำหนอนได้แก่

มวนพิฆาต Eocanthecona furcellata (wolff) (Hemiptera:Pentatomidae)

มวนเพชฌฆาต Sycanus callaris Fabricius (Hemiptera:Reduvidae)

Category: ศัตรูพืช, แมลงศัตรูพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news