banner ad

ด้วงกุหลาบ

| December 30, 2014

ด้วงกุหลาบ

ชื่อสามัญ : Rose beetle

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adoretus compressus (Weber)

ชื่อวงศ์ : Scarabaeidae

ชื่ออันดับ : Coleoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

ด้วงกุหลาบเป็นแมลงปีกแข็งที่เป็นศัตรูระบาดทำความเสียหายให้กับละหุ่งเป็นครั้งคราว ในสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย จึงจะเพิ่มประชากรใด้มาก ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดิน ตัวเต็มวัยเท่านั้นที่ออกมากัดกินใบละหุ่งในเวลากลางคืนส่วนในตอนกลางวันตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนตัวตามบริเวณโคนต้นในดินหรือที่มีใบทับถมกันอยู่ การกัดกินใบทำให้ใบพรุนเป็นรูหรือหากทำลายมากๆ จะเว้าแหว่งหมดทั้งใบเหลือแต่เส้นกลางใบ ใบที่ถูกทำลายมากๆจะร่วงหล่นเร็วกว่าปกติทำให้ละหุ่งติดผลน้อยลง และต้นแคระแกรนผลผลิตลดลงได้

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งมีลักษณะลำตัวอ้วนและยาวกว่าส่วนกว้างมีสีน้ำตาลอ่อน ตามีสีดำ มีขนสั้นละเอียดปกคลุมทั่วปีก จึงมองเห็นคล้ายลำตัวมีผงสีขาวเคลือบอยู่ ตัวเต็มวัยเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย ขนาดเพศเมีย 56×112 มิลลิเมตร และเพศผู้ 48×103 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุประมาณ 12-57 วัน และเพศผู้อายุประมาณ 7-26 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียจะไข่ในดินหรือตามกองซากพืชประมาณ 20-50 ฟอง

ระยะไข่ ไข่มีลักษณะกลมรี เปลือกเรียบสีขาวขุ่นขนาด 0.8×1.3 มิลลิเมตร ต่อมาไข่จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นเมื่อใกล้ฟัก ระยะไข่ประมาณ 5-9 วัน เฉลี่ยประมาณ 7 วัน

ระยะหนอน เมื่อฟักออกจากไข่จะกินอาหารตามผิวดินหรือกองซากพืชใต้ดินเท่านั้นและลำตัวโค้งงอ หัวมีสีน้ำตาลอ่อน มีเขี้ยวเห็นได้ชัดเจน ส่วนท้องจะยาวและมีส่วนปลายท้องขยายใหญ่ หนอนจะมีขาจริง 3 คุ่ ไม่มีขาเทียมหนอเมื่อโตต็มที่ยาวประมาณ 13-20 มิลลิเมตร ระยะเวลาวัยหนอนประมาณ 58-95 วัน มีการลอกคราบ 3 ครั้ง เมื่อใกล้เข้าดักแด้หนอนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น หรือขาวอมเหลือง และหดตัวสั้นลง ระยะเตรียมเข้าดักแด้ (prepopae) ใช้เวลา 3-6 วัน ลอกคราบครั้งสุดท้ายแล้วจึงเข้าดักแด้

ระยะดักแด้ ดักแด้มีสีเหลืองอ่อน ลักษณะดักแด้จะเห็นปีกและขาแยกออกมาภายนอกเห็ได้ชัดเจน (exarate pupae) มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมแลที่ปลายส่วนท้องของดักแด้จะมีขนสีน้ำตาลแดง 2 กระจุก ดักแด้มีขนาด 56×118 มิลลิเมตร ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 11-14 วัน

สรุปวงจรชีวิต

ระยะไข่ 5-9 วัน

ระยะหนอน 58-95 วัน

ระยะดักแด้ 11-14 วัน

ระยะตัวเต็มวัย 7-57 วัน

 

 

การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด

พบอยู่ทั่วไปในแหล่งที่มีการปลูกข้าวโพด เป็นศัตรูที่สำคัญในแหล่งปลูกกุหลาบ พบระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝนประมาณเดือนสิงหาคมถึงตุลาคมทุกปี

ในต่างประเทศพบทั่วไปในเอเซียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า อินเดีย ฟิลิปปินส์ ตลอดไปจนถึงญี่ปุ่น จีน และเกาหลี

พืชอาหาร

ไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิด เช่น กุหลาบ บานชื่น พุทธรักษา หูปลาช่อน หูกวาง อินทนิล พืชไร่ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย ละหุ่ง มันสำปะหลัง เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ

แมลงหางหนีบ Proreus simulans Stallen (Dermaptera : Chelisochidae) เป็นตัวห้ำกินไข่และหนอนวัยเล็กที่อยู่ใต้ดิน

ด้วงดิน (ground beetles) Phaeropsophun sp. (coleopteran:Carabidae) กินหนอนด้วงกุหลาบที่อยู่ในดิน

แตนเบียนชนิด Camsomeris margivella billitonemsis Tull (Hymenoptera : Tiphiidae)

 

 

 

 

Category: ศัตรูพืช, แมลงศัตรูพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news