banner ad

โกโก้

| December 22, 2014

โกโก้

ชื่อวิทยาศาสตร์:Theobroma cacaoL.
วงศ์:Sterculiaceae

ชื่อสามัญ:ChocolateTree, Cacao, Cocoa
ชื่ออื่น:-

โกโก้ เป็นพืชที่ได้รับความนิยมปลูกเพิ่มขึ้นในประเทศไทย โดย 3 ปีที่ผ่านมา

ด้านการผลิต มีการส่งเสริมการปลูกโกโก้โดยภาคเอกชนในรูปแบบการทำเกษตรพันธสัญญา ทำให้พื้นที่ปลูกโกโก้เพิ่มขึ้นจากเดิม และมีการขยายพื้นที่ปลูกไปภาคอื่น ซึ่งเดิมมีการปลูกโกโก้ในเชิงเศรษฐกิจในภาคใต้และภาคตะวันออกเท่านั้น จากข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2563 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 4,318 ไร่ จำนวนครัวเรือนเกษตรกร 998 ราย แต่ปริมาณผลผลิตยังไม่มากนัก (ประมาณ 700 ตัน) เนื่องจากโกโก้ที่ปลูกยังไม่ได้ให้ผลผลิต โดยพื้นที่ปลูกหลัก ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครศรีธรรมราช พิษณุโลก และเชียงราย ตามลำดับ

การเพิ่มมูลค่า เมล็ดโกโก้แห้ง นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ โกโก้เหลว (cocoa liquor) โกโก้บัตเตอร์ (cocoa butter) และ โกโก้ผง (cocoa powder) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงต่อไป

ด้านการส่งออก ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์โกโก้ ลดลงร้อยละ 11 โดยลดจาก 32,862 ตัน ในปี 2558 เหลือ 19,063 ตัน ในปี 2562 เนื่องจากมีการใช้ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมากถึง 78.85% ในขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์โกโก้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5  ปี โดย 2558 นำเข้า 32,718.28 ตัน และเพิ่มเป็น 44,277.96 ตัน ในปี 2562 ปี 2563 นำเข้า 19,767,765 กิโลกรัม มูลค่า 4,105,472,429 บาท ปี 2564 นำเข้า 21,388,288 กิโลกรัม มูลค่า 4,486,382,789 บาท

ลักษณะทางธรรมชาติเป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มขนาดใหญ่ อายุยืนนับร้อยปีกำเนิดในป่าชื้นเขตอเมริกาใต้ ให้ผลผลิตตลอดปี เจริญเติบโตได้ดีในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ชอบแสงแดดรำไรหรือมีร่มเงาบ้าง ฝนชุก การปลูกโกโก้แซมแทรกในสวนมะพร้าวโดยมีมะพร้าว (อายุต้นมากกว่า 10 ปี) ช่วยบังแดด และมีกล้วยแซมแทรกบ้างเพื่อสร้างความชื้นในดินและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะช่วยให้ต้นโกโก้เจริญเติบโตดี

อายุต้นหลังปลูก 3 ปีเริ่มให้ผลผลิตและให้ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 50 ปีออกดอกติดผลตามลำต้นและใต้ท้องกิ่งแก่ ทุก 2-3 สัปดาห์อายุผลตั้งแต่ออกดอก ถึง เก็บเกี่ยว 5-6 เดือน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองอมส้ม ผลแก่จัดสีเหลืองอมแสด

การเก็บเกี่ยวให้เลือกเก็บเฉพาะผลที่แก่สุกพอเหมาะ ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป เปลือกผลสีเหลือง วิธีเก็บเกี่ยวให้ใช้กรรไกคมๆตัดขั้วผล หลังจากเก็บเกี่ยวผลชุดแรกไปแล้ว อีก 2-3 สัปดาห์โกโก้จะออกดอก ณ บริเวณใกล้เคียงอีก ถ้าใช้วิธีดึงผลจนเปลือกฉีกเป็นแผลบริเวณนั้นจะไม่ออกดอกหรือต้องใช้ระยะเวลานาน

สายพันธุ์

1. เวสแอฟริกัน อมิโลนาโด :เป็นพันธุ์นิยมปลูกมากที่สุดเพราะผสมเกสรในตัวเองได้ดีและคุณภาพเมล็ดเป็นที่ต้องการของตลาด

2. ครีโอโล : ป็นพันธุ์ผลค่อนข้างใหญ่ กลิ่นจัด เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมโกโก้

3. อั๊พเปอร์ อเมซอน : เป็นพันธุ์ให้ผลผลิตสูงและเร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ

4. ทรินิ ตาริโอ : เป็นพันธุ์ต้านทานโรคดีที่สุดแต่ให้ผลผลิตต่ำ

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ระยะปลูกเลือกพื้นที่ปลูกแซมแทรกในสวนมะพร้าวจึงให้พิจารณาตามความเหมาะสม 3 X 3 ม. หรือ 3 X 2.5 ม. กรณีปลูกแซมแทรกในสวนมะพร้าว ให้ห่างจากต้นมะพร้าว 3-4 ม. อยู่ด้านร่มเงาของมะพร้าว
โกโก้พันธุ์ชุมพร 1 ผลผลิต 8.30 กก/ต้น มีจำนวนลูก 18 ลูกต่อต้น น้ำหนักผล 460 กรัมต่อผล ความกว้าง 8.40 ซม. ความยาว 16.25 ซม. เปลือกโกโก้ 345 กรัมต่อผล ความหนาเปลือก 0.95 ซม. จำนวน 44 เมล็ดต่อผล น้ำหนักเมล็ดสดต่อผล 113 กรัม น้ำหนักเมล็ดแห้ง 43.5 กรัม ค่า pod index เท่ากับ 23 สีเมล็ดแห้งเป็นสีน้ำตาลเข้ม ปริมาณไขมันปานกลาง รสเปรี้ยวเล็กน้อย มีความฝาดปานกลาง กลิ่นโกโก้ ควันเล็กน้อย รสถั่ว กล้วย สับปะรด มีรสฝาดตอนปลาย
ผลผลิตเชิงปริมาณ และคุณภาพของโกโก้ในการปลูกแบบเพาะเมล็ด และการเสียบยอด
1.การปลูกโกโก้ชุมพร 1 โดยเพาะเมล็ด แบบเดี่ยวได้ 5 ผลต่อต้น ผลผลิตต่อไร่ 800 ผล ปลูกแบบร่วม 3 ผลต่อต้น ผลผลิตต่อไร่ 482 ผล
2.การปลูกโกโก้ชุมพร 1 โดยเสียบยอด แบบเดี่ยวได้ 2 ผลต่อต้น ผลผลิตต่อไร่ 300 ผล ปลูกแบบร่วม 2 ผลต่อต้น ผลผลิตต่อไร่ 265 ผล
แมลงศัตรูโกโก้ที่สำคัญ
1. มวนยุงโกโก้ (Cocoa mired, Mosquito bug) ลักษณะผลที่ถูกมวนโกโก้ทำลายจะมีสีดำแห้งติดคาต้น หรือร่วงหล่นไป ไม่สามารถเจริญเป็นผลสุกได้ มวนโกโกใช้ปากที่มีลักษณะแหลมแทงเขา ไปในเนื้อเยื่อพืชแลวปล่อยสารพิษเขาไปกอนที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงพืช ซึ่งสารพิษนี้อาจจะเป็นพิษตอพืช ทําใหเกิดรอยแผลเปน จุดสีดํา บางครั้งลักษณะนูน ขรุขระ หรือมียางเหนียวๆ ไหลออกมา รอยแผลที่เกิดขึ้นอาจเป็นทางเขาของเชื้อรา Botryodiplodia theobromae (สาเหตุโรคผลเน่าสีน้ำตาล) ขึ้นมาภายหลัง นอกจากนี้ยังพบทําลาย สวนยอดออนในชวงที่ผลโกโกมีนอยหรือในขณะที่โกโกมีการออกดอก แผลที่ถูกเจาะดูดน้ำเลี้ยงเปนรูปวง สีดํา เมื่อถูกทําลายมากๆ จะทําใหยอดออนเหี่ยวแหงคลายๆ อาการขาดน้ำ
การป้องกันกำจัด

1. ลดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของมวนโกโก้ โดยการตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่ม หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพื่อให้มีสภาพโปร่ง มีการระบายอากาศดี ลดความชื้นที่อยู่ในแปลง

2. ทำลายผลโกโก้ที่ตกค้างอยู่ในแปลงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์ และแหล่งที่อยู่อาศัยข้ามฤดูกาลต่อไป

3. ไม่ควรปลูกพืชที่เป็นพืชอาหารของมวนโกโก้ในบริเวณใกล้ๆ กับแปลงปลูก เพราะจะเป็นที่หลบซ่อนของมวนโกโก้ได้

4. พ่นสารฆ่าแมลง ได้แก่ คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีเฟต 75% เอสพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด และพ่นซ้ำตามความจำเป็น
———————————–
2. ด้วงงวงโกโก้
3. เพลี้ยกระโดด (Planthoppers)
4. เพลี้ยกระโดดปีกหุบสีขาว (White moth cicada)
5. จักจั่นเขา (Treehopper)
6. จักจั่นเขาสกุล Tricentrus
7. เพลี้ยอ่อนสีดำ (Black aphid)
8. เพลี้ยแป้งสำลี (Icerya mealybug)
10. เพลี้ยจักจั่นแดง (Red leafhopper)
————————————————
สัตว์ศัตรูเช่น กระรอก หนู ทั้งกระรอกและหนูจะกัดผลโกโก้อ่อนจนถึงผลแก่และสุก โดยจะกัดผลเป็นรูกลมแล้วกินเนื้อและเมล็ดภายในผล
กระรอกกัดบริเวณกลางจนถึงก้นผลเป็นรูขนาดใหญ่ จะพบกระรอกตอนเช้าตรู่และกลางวันหมั่นตรวจแปลงโกโก้ว่าพบกระรอกวิ่งบนต้นการป้องกันกำจัด : กระรอกจะอาศัยอยู่บนต้นไม้ไม่ค่อยลงพื้นดิน แปลงโกโก้ด้านที่ติดกับป่าจะต้องตัดต้นไม้ให้โล่งป้องกันกระรอกเข้ามาในแปลง การกำจัด ใช้กรงดักหรือ ใช้กับดัก หรือ ใช้สารออกฤทธิ์ช้า เช่น โฟลคูมาเฟน ๐.๐๐5% Wax block bait (สารกำจัดหนูสำเร็จรูปชนิดก้อนขี้ผึ้ง) โดยใช้ลวดผูกเป็นพวง 3 ก้อนต่อต้น นำไปผูกบนต้นโกโก้เป็นการลดประชากร
—————————-

หนู จะกัดส่วนหัวใกล้ขั้วถึงกลางผล หนูพบรอยทางเดินบริเวณโคนต้นและในแปลง หมั่นตรวจแปลงโกโก้ว่าพบรอยทางเดินของหนูบริเวณโคนต้นและภายในแปลง และมีผลโกโก้ถูกกัดทำลายเป็นรูหรือไม่ ถ้าพบให้ทำการป้องกันกำจัดใช้ซิงค์ฟอสไฟด์ 8๐% Powder อัตรา 1% ผสมปลายข้าววางโคนต้น และทางเดินหนูให้ทั่ว หรือใช้ โฟลคูมาเฟน ๐.๐๐5% Wax block bait (สารกำจัดหนูสำเร็จรูปชนิดก้อนขี้ผึ้ง) อัตรา 5๐ ก้อนต่อไร่ โดยเริ่มวางเหยื่อพิษครั้งแรกเมื่อผลโกโก้เริ่มมีขนาดประมาณนิ้วหัวแม่มือ หรือมากกว่า 5๐ เปอร์เซ็นต์ ของทั้งสวน โดยวางต้นละ 1 ก้อน บริเวณคาคบหรือผูกตามกิ่งของต้นโกโก้ทุกๆ 3-4 สัปดาห์ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล หรือใช้โปรโตซัวกำจัดหนูวางที่โคนต้นและทางเดินให้ทั่วแปลงและตรวจนับความเสียหายทุกเดือน

——————————

ประโยชน์:นำเมล็ดโกโก้มาคั่ว เอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก บดละเอียด บีบน้ำมันออก เนื้อโกโก้จะเกาะกันเป็น แท่ง ๆนำมาบดให้แตกเป็นผงอีกครั้ง ใส่รวมกับแป้งนำไปแต่งรสแต่งสีอาหาร แต่ที่เราใช้นั้นใช้โกโก้ผงที่ชงเครื่องดื่มนำมาผสมกับแป้งทำขนม เมล็ดโกโก้ถูกนำมาใช้เป็นอาหารเสริมอย่างดีในชื่อ Food of the gods โดยนำผลโกโก้มาหมักแล้วแยกเมล็ดออกมา ทำความสะอาด ย่างไฟแล้วกระเทาะเปลือกออก จะได้เนื้อในเมล็ดที่นำไปใช้ได้ ในทางยาใช้น้ำต้มจากรากเป็นยาขับระดู ส่วนเนื้อในเมล็ดในรูปของผงโกโก้ใช้เป็นอาหารเสริม, ผสมช็อกโกแลต ส่วนน้ำมันโกโก้ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นและรสในอาหาร ยาและเครื่องดื่มหลายชนิด สารสำคัญคือ alkaloid Theobromine จากโกโก้มีโครงสร้างคล้าย Caffeine มาก แต่จะมีฤทธิ์อ่อนกว่า จะมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง, กระตุ้นหัวใจ, ขับปัสสาวะ, ขยายเส้นเลือด คลายกล้ามเนื้อเรียบ และแก้หืดหอบคล้ายกับฤทธิ์ของ Theophylline และถ้ากินเมล็ดมาก ๆ ใช้เป็นสารเสพติดได้
ถาม-ตอบโกโก้
เกษตรกรปลูกปาล์มจากอำเภอวารินทร์ชำราบ จ.อุบลราชธานี ถาม. โกโก้ปลูกได้ไหมในสวนปาล์ม ?
ตอบ. มีข้อมูลให้ท่านพิจารณา 2 ข้อ ดังนี้
1.เรื่องปริมาณแสง โกโก้ต้องการแสงน้อย (30%) เมื่อแรกปลูก หรือ ต้องการร่มเงาในช่วงแรกของการเจริญเติบโต แต่เมื่อโตขึ้นเริ่มให้ผลผลิตแล้ว ควรได้รับแสง 70%
2. เรื่องระบบราก โกโก้ มีรากแก้วลึกประมาณ 1.5 เมตร รากย่อยอยู่ลึกจากผิวดิน ประมาณ 20 เซนติเมตร แพร่กระจายไปรอบ ๆ โคน และสามารถขยายออกไปได้กว้างถึง 6 เมตร
ดังนั้น สวนปาล์มของท่านคงไม่เหมาะจะปลูกโกโก้
ตัวอย่าง การปลูกโกโก้ร่วมกับมะพร้าวต้นสูง จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เมื่อปลูกโกโก้พันธุ์ลูกผสมชุมพร1 จะได้รับผลผลิต 127 กก.ต่อต้นต่อปี (ตัวเลขเฉลี่ย 8 ปี) และเมล็ดโกโก้แห้ง 1 กิโลกรัม ได้จากผลผลิตโกโก้ฝักสด 25-28 ฝัก มะพร้าวระยะปลูก 9×9 เมตร ปลูกโกโก้ระหว่างแถวมะพร้าวใน ระยะ 3×3 ม. ได้ 2 แถวคู่ หรือ 100 ต้น
นโยบายเนื่องจากพื้นที่ปลูกโกโก้และปริมาณผลผลิตโกโก้ในประเทศไทยมีน้อย ในขณะที่ยังมีการนำเข้าเมล็ดโกโก้แห้งและผลผลิตภัณฑ์โกโก้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โกโก้จึงเป็นพืชหนึ่งที่กระทรวงเกษตรฯ พิจารณาว่าจะเป็นพืชที่มีอนาคต (Future crop) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาความเป็นไปได้ในการผลักดันให้โกโก้ เป็นพืชอนาคต และต้องการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovative Center; AIC)  ปริมาณความต้องการต้นกล้าจากภาครัฐมีปริมาณเพิ่มขึ้น กรมฯจึงอนุมัติให้ผลิตต้นกล้าโกโก้ลูกผสมชุมพร 1 ปีละ 150,000 ต้น อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยังมีความกังวลหากทิศทางการตลาดยังไม่แน่นอน เนื่องจากปริมาณความต้องการในประเทศซึ่งใช้เมล็ดโกโก้แห้งเป็นวัตถุดิบยังมีจำกัด  ดังนั้น การส่งเสริมการปลูกในเบื้องต้น โดยภาคเอกชน รัฐเห็นว่าควรทำในรูปแบบเกษตรพันธสัญญา ระหว่างบริษัทที่ส่งเสริมการปลูกและเกษตรกร เพื่อให้มีความเชื่อมั่นว่าเมื่อมีผลผลิตแล้ว มีตลาดรับซื้อแน่นอน การเลือกพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม  ด้วยมีการส่งเสริมการปลูกโกโก้แซมสวนยางพารา ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากพืชทั้งสองมีระบบรากที่เท่ากัน และเกิดการแย่งธาตุอาหาร  แม้ว่าโกโก้ปลูกได้ทั้งเป็นพืชเดี่ยว และพืชร่วมหรือพืชแซม แต่ควรเลือกพืชที่เหมาะสม  และกรมฯ ไม่เห็นด้วยกับการปลูกโกโก้ร่วมกับยางพารา เพราะต้องมีการจัดการที่ยุ่งยากและลงทุนมากขึ้น  ส่วนการปลูกในพื้นที่ใหม่ เกษตรกรควรมีความรู้เรื่องระบบปลูก และการตัดแต่งกิ่ง การให้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะการวางแผนเตรียมแปลงปลูกในระยะแรก ควรมีพืชร่วมที่ให้ร่มเงา เพราะหากต้นโกโก้ได้รับแสงมากแต่ขาดน้ำและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ จะส่งผลกระทบต่อต้นได้ เช่น ใบไหม้ ผลไหม้ แดดเผา การส่งเสริมการปลูกโกโก้แบบเกษตรแปลงใหญ่ ในพื้นที่ จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรเข้ารวมกลุ่มปลูกโกโก้หลายไร่ แต่ปัจจุบันยังไม่มีผลผลิต
นวัตกรรมโกโก้ ปัจจุบันมีคู่มือการผลิตโกโก้ดีที่เหมาะสม (GAP Cocoa) ของกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ยังไม่ได้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย ส่วน GMP นั้น ผู้ประกอบการที่แปรรูปโกโก้และผลิตช็อกโกแลต จะต้องได้รับรองสถานที่ผลิต (GMP) ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตช็อกโกแลต ได้แก่ บริษัทแกลโลไทย จำกัด ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ และบริษัทมาร์ค-ริน จำกัด ตั้งอยู่จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีบริษัทที่ใช้โกโก้ในการเพิ่มมูลค่าอีกหลายแห่ง เช่น โรงงานผลิตเมล็ดธัญพืชเคลือบช็อกโกแลต ช็อกโกแลตผงพร้อมดื่ม เป็นต้น และเมื่อ 23 ต.ค. 2563 มีการเปิดโรงงานแปรรูปผลผลิตโกโก้แห่งใหม่ของไทย คือ บริษัทโกโก้ไทยโปรดักส์ จำกัด เปิดโรงงานที่จังหวัดสระบุรี  ส่วนเทคโนโลยีการผลิต มีเทคโนโลยีการขยายพันธุ์ (เสียบยอด และติดตา) ซึ่งสามารถผลิตต้นกล้าพร้อมปลูกได้จำนวนมากขึ้น และตรงตามพันธุ์ ดีกว่าการเพาะเมล็ด และมีเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิต เช่น การเสียบยอดพันธุ์ใหม่ในต้นเดิม ซึ่งสามารถเพิ่มจำนวนพันธุ์ในต้นเดียวกัน ทำให้โอกาสในการผสมติดและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีด้านเขตกรรม เช่น การให้น้ำและตัดแต่งกิ่งเพื่อจัดทรงต้น การป้องกันการทำลายผลจากมวนโกโก้ โดยการห่อผลด้วยถุงพลาสติก ตลอดจนการใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อปรับปรุงดิน

ปัญหาของเกษตรกรปลูกโกโก้ ได้แก่

1) เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ และตระหนักในเรื่องการป้องกันกำจัด โรค Cocoa pod borer (มีอาการไส้ดำเมล็ดดำแข็ง) ซึ่งโรคนี้สร้างความเสียหายในหลายพื้นที่ปลูกโกโก้ของโลก ดังนั้น จึงควรให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกันกำจัดโรคนี้แก่เกษตรกรที่เพิ่งเริ่มปลูกโกโก้ รวมถึงเข้มงวดในการนำเข้าเมล็ดพันธุ์โกโก้ โดยไม่ผ่านกระบวนการกักกันพืช

2) ปัจจุบันเกษตรปลูกโกโก้นอกพื้นที่เขตความเหมาะสม (ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 1,500 มม.ต่อปี) ย่อมหมายถึงต้นทุนการผลิตสูงกว่าในเขตพื้นที่ที่เหมาะสมเพราะต้องมีการจัดการเพิ่มขึ้น หากราคาขายผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เกษตรกรอาจล้มเลิกการปลูก  จึงควรมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ และขยายผลในเรื่องการแปรรูปเป็นเมล็ดโกโก้แห้งให้ได้คุณภาพตามที่โรงงานต้องการ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรมากกว่าการขายผลโกโก้สด

3) ยังไม่มีการสร้าง training center ของภาครัฐ เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การผลิตโกโก้ โดยเฉพาะเรื่องการผลิตเมล็ดโกโก้แห้งที่มีคุณภาพ และการแปรรูปเป็นสินค้ามูลค่าเพิ่ม

ผลกระทบที่ตามมาคือ เกษตรกรอาจล้มเลิกการปลูก หากราคาขายผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ผู้ประกอบการยังต้องนำเข้าโกโก้ต่อไป

 

Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news