ผักเสี้ยน
ผักเสี้ยน
ชื่ออื่นๆ : ส้มเสี้ยน ผักเสี้ยนไทย ผักเสี้ยนตัวผู้
ชื่อวงศ์ : CAPPARIDACEAE
ชื่อสามัญ : African Spiderflower, Wild Spider flower
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome gynandra (Linn.) Brinq.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-3 ฟุต แตกกิ่งก้านสาขาที่ไม่ยาวมากรอบต้นใบประกอบ 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่รูปไข่งูปลายเลี้ยม ดอกเล็กสีขาว อกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ฝักกลมยาว 1-3 นิ้ว เมล็ดเหมือนเมล็ดงาสีดำ ปลูกเป็นผักทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ดอง รับประทานเป็นผักกับน้ำพริกต่าง ๆ ทางยา ผักเสี้ยนดองแก้เมาสุรา แก้ปวดเมื่อย แก้วปวดหู พอกรักษาฝี บรรเทาอาการระคายเคือง
การขยายพันธุ์ : เมล็ด
การปลูกและการดูแล : ผักเสี้ยนสามารถขึ้นได้ทุกพื้นที่ทั้งชุ่มชื้นและแห้งแล้งตามที่รกร้างต่างๆ แต่ถ้าจะกินได้อร่อยควรปลูกในพื้นที่ชุ่มชื้น แสงแดดครึ่งวัน โดยหว่านเมล็ดบนพื้นที่ที่เตรียมไว้อีก 7-10 วัน จะเริ่มงอก เมื่อต้นโตเริ่มผลิดอกก็ถอนทั้งต้นมาดองกินได้
สรรพคุณ
ราก แก้โรคผอมแห้งในสตรีหลังคลอดบุตร
ต้น ขับหนองทำให้หนองแห้ง ขับโลหิตระดูที่เน่าเสีย
ดอก ฆ่าเชื้อโรค
ใบ แก้ปัสสาวะพิการ ทาแก้ปวดเมื่อย
ผล ฆ่าพยาธิ
เมล็ด ขับพยาธิตัวกรม ขับพยาธิไส้เดือน
ทั้งต้น แก้ท้องเสียปวดท้อง
Category: พืชผักพื้นบ้าน, พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม