ผักบุ้ง
ผักบุ้ง
ชื่ออื่นๆ : ผักบุ้งแดง ผักบุ้งไทย ผักบุ้งนา ผักบุ้งขาว กำจร ผักทอดยอด โหนเดาะ
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ชื่อสามัญ : Woolly Morning-Glory
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomea aquatica Forsk., I. reqtans (Linn) Poir
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้เลื้อย ทอดยอดไปตามพื้นดินพื้นน้ำ ลำต้นกลวงเป็นข้อยาว ใบเดี่ยวรูปหัวใจแคบเรียว ลำต้นใบสีเขียวอมแดง ดอกเดี่ยวโตรูประฆังสีม่วงอ่อน ผลกลม เป็นกลีบ ผักบุ้งขาวลักษณะเหมือนกัน แต่ลพต้นใบสีเขียว เกิดตามที่ชื้นแฉะ รกร้างว่างเปล่า
การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ยอดใบอ่อนกินได้ทั้งสดและลวกกินกับป่น แจ่ว ส้มตำ นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง หรือผัด ทางยา รสเย็น ใช้ดับพิษร้อน ร้อนใน
การขยายพันธุ์ : เมล็ด เถา
การปลูกและการดูแล : ผักบุ้งก้านแดงและผักบุ้งไทย ควรปลูกในน้ำ ต้นจะไม่แคระแกรนเพียงแค่โยนก้านผักบุ้งที่เหลือจากการประกอบอาหารลงในบ่อน้ำ ไม่นานก็จะแตกกิ่งก้านสาขาให้เก็บกินได้ ส่วนผักบุ้งจีนจะนิยมปลูกบนดินร่วนซุย ระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง โดยการหว่านเมล็ดที่ผ่านการแช่น้ำแล้ว 1 คืน ลงในพื้นที่ที่ต้องการมีแสงแดดตลอดวันประมาณ 7 วัน เมล็ดจะงอกเป็นต้น ไม่ควรหว่านเมล็ดแน่นมาก เพราะจะทำให้ต้นเน่าตายได้ การดูแล เมื่อต้นแตกใบจริง 2-4 ใบ อาจจะละลายปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) รดให้บ้างจากนั้น 15-20 วัน ก็เก็บมากินได้
สรรพคุณ : ยอดอ่อนและใบ ใช้เป็นอาหารสดๆ เป็นผักจิ้มน้ำพริก และนำมาต้มเอาน้ำทาน ใช้เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียนเนื่องจากพิษของฝิ่นและสารหนู ในแคว้นอัสสัมใช้ผักบุ้งสำหรับรักษาโรคประสาทหรือการเสื่อมสมรรถภาพ ตำพอกรักษาโรคริดสีดวงทวาร
ดอกตูม ใช้รักษาโรคกลากเกลื้อน
ราก ถอนพิษ แก้พิษสำแดง แก้โรคตา แก้ปวดฟัน แก้บวม
ใบ
เถา ถอนพิษ แก้พิษเบื่อเมา แก้โรคตา แก้ตาฝาง
Category: พืชผัก, พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร บ-ม