banner ad

ถั่วลันเตา

| October 14, 2014

ถั่วลันเตา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativumL.

ชื่อวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae

ชื่อสามัญ Garden pea

ชื่ออื่นๆ Pea, Sugar pea

1.พันธุ์มีทั้งกินฝักและพันธุ์กินเมล็ด เช่น พันธุ์ลูกผสมต่างๆ พันธุ์แม่โจ้1 พันธุ์แม่โจ้2 ถั่วลันเตาสีม่วง ถั่วลันเตาสวิตตี้

2. การเตรียมดินเริ่มจากการไถดินตาก ประมาณ 7 วัน ทำการพรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอก โดยขุดร่องเป็นแถวยาว หรือขุดหลุม ระยะปลูกระหว่างต้น x ระหว่างแถว ประมาณ 30 x 1 00 เซนติเมตร

3. วิธีการปลูกหยอดเมล็ดพันธุ์ถั่วลันเตาหลุมละ 4-5 เมล็ด หรือโรยห่างๆ ไปตามร่องที่ขุดไว้ กลบด้วยดิน รดน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น จนกว่าถั่วลันเตาขึ้น ค่อยๆ ลดน้ำลง หรือวันละครั้ง

4. การปักค้างหลังจากถั่วลันเตางอกแล้ว ปักค้างยาว 2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร โดยขึงตาข่าย มัดเชือกติดกับหลัก หรือถ้าไม่ใช้ตาข่ายก็มัดเชือกฟางอย่างเหนียวประกบต้นถั่วลันเตา ซ้าย-ขวาของร่อง เป็นชั้นๆ ไป โดยเชือกมัดรวมกับหลักทุกๆ หลัก

5. การให้น้ำควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอด้วยสายยาง แต่ไม่นิยมใช้ระบบสปริงเกอร์เพราะจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ และควรให้น้ำช่วงออกดอกและติดผลเป็นช่วงสำคัญที่สุดที่จะขาดน้ำไม่ได้

6. การใส่ปุ๋ยหลังจากถั่วลันเตางอกแล้วอายุประมาณ 20 วัน ต้นสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 24-8-8 และทุกๆ 10-15 วัน ใส่ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กก.ต่อไร่ หรือโดยใส่บางๆ แต่บ่อยครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน

7. การเก็บเกี่ยวเมื่อายุได้ประมาณ 60 วัน ก็เก็บผลผลิตได้ โดยใช้มือเด็ดขั้วฝักถั่วลันเตาที่มีขนาดเมล็ดพอง นุ่ม แต่สียังอ่อนอยู่ ใส่ถุงๆ ละ 5หรือ10 กก. ส่งขาย

8. โรคและแมลงศัตรูโรคถั่วลันเตาคือ

8.1 โรคราน้ำค้าง แก้ไขโดยการพ่นด้วยแมนโดเซป หรือ ไดเมทโทม็อบ

8.2 โรคราแป้งเป็นได้ทุกส่วนของพืช อาการเริ่มแรกมักพบที่ใบก่อน โดยเฉพาะใบที่ติดโคนต้น ลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกาะกระจายเป็นหย่อมๆ ทั้งบนใบและใต้ใบ สำหรับลำต้นและกิ่งอาการจะเริ่มจากโคนต้นแล้วค่อยๆ ลามสูงขึ้น ถ้าอาการรุนแรงจะเห็นต้นถั่วลันเตาขาวโพลนทั้งต้น การป้องกันกำจัด : หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบโรคควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สารซัลเฟอร์* 8๐% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนแคป 19.5% ดับเบิ้ลยูพี หรือ คอปเปอร์ ซัลเฟต 30% ดับเบิ้ลยูพีอัตรา 25 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเฮกซะโคนาโซล 5%อีซี ควรพ่นอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 5-7 วัน * สำหรับสารซัลเฟอร์ ไม่ควรพ่นในสภาพอากาศร้อน หรือมีแดดจัด เพราะอาจจะทำให้ใบไหม้ได้

การประเมินความรุนแรงของโรค การสุ่มจาก 25 ต้นต่อแปลงย่อย

ระดับ 1 ทั้งต้นไม่ปรากฎอาการโรค
ระดับ 2 ปรากฎอาการโรค 1-10 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น
ระดับ 3 ปรากฎอาการโรค 11-25 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น
ระดับ 4 ปรากฎอาการโรค 26-50 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น
ระดับ 5 ปรากฎอาการโรค 51-75 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น
ระดับ 6 ปรากฎอาการโรคมากกว่า 75 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น ร
ระดับ 7 ปรากฎอาการโรคมากกว่า 75 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น และมีโรคที่ลำต้นแผลขนาดเล็กกว่า 1  เซนติเมตร
ระดับ 8 ปรากฎอาการโรคมากกว่า 75 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น และมีโรคที่ลำต้นแผลขนาดปานกลาง 1 -5 เซนติเมตร
ระดับ 9 ปรากฎอาการโรคมากกว่า 75 เปอร์เซนต์ของเนื้อที่ใบทั้งต้น และมีโรคที่ลำต้นแผลขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร

ดัชนีความรุนแรงของโรค (%) = (ผลรวม(ระดับอาการ * จำนวนต้นที่เป็นโรคในระดับนั้นๆ) * 100)/(จำนวนต้นที่ประเมินโรคทั้งหมด * ระดับความรุนแรงของโรคสูงสุด

8.3 หนอนแมลงวันเจาะต้นถั่วเข้าทำลายเนื้อเยื่อบริเวณไส้กลางของลำต้น เป็นสาเหตุทำให้ต้นถั่วเหลืองแคระแกรน ข้อโป่ง ปล้องสั้น และผลผลิตลดลง

การป้องกันกำจัด

ก. คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วย

สารฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 5๐ มิลลิลิตรต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ อิมิดาโคลพริด อัตรา 3-5 กรัมต่อเมล็ด 2 กิโลกรัม (หากคลุกเมล็ดแล้วไม่จำเป็นต้องพ่นสารฆ่าแมลงจนถึงอายุ 3๐ วัน)

ข. กรณีที่ไม่ได้คลุกเมล็ดก่อนปลูก ให้พ่นด้วยสารสารฟิโปรนิล 5% เอสซี อัตรา 2๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 2๐ ลิตร หลังเมล็ดงอก 3-5 วัน

8.4 หนอนเจาะสมอฝ้ายอเมริกัน และเพลี้ยแป้ง พ่นด้วยไซเปอร์เมริน แลมด้าไซฮาโลทริน และอิมิดาโดลพริด ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลง

 

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: พืชผัก, พืชผัก ด-น

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news