banner ad

หนอนคืบกะหล่ำ

| March 17, 2022

หนอนคืบกะหล่ำ (cabbage looper)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichoplusia ni (Hbner)

วงศ์ Noctuidae

อันดับ Lepidoptera

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย

หนอนคืบกะหล่ำเป็นหนอนขนาดกลางกินจุ ในระยะแรกตัวหนอนจะกัดกินที่ผิวใบ เมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกัดกินใบทำให้เปนรอยแหว่งเหลือแต่ก้านใบ แมลงชนิดนี้จะทำลายโดยการกัดกินใบเป็นส่วนใหญ่ และการทำลายเป็นไปอย่างรวดเร็ว พบตามแหล่งปลกทั่วๆ ไปในประเทศไทยในภาคกลางที่จังหวัด ราชบุรี นครปฐม กรุงเทพฯ ปทุมธานี เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครนายก ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่จะระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ สีขาวนวล หรือเหลืองอ่อนตามใต้ใบ มีลักษณะคล้ายฝาชีตรงกลางมีรอยบุ๋ม มีผิวเป็นมัน ขนาดของไข่ประมาณ 0.5-0.6 มม. ระยะไข่ 3-4 วัน ตัวหนอนโตเต็มที่มีสีเขียวอ่อน ความยาว 2.5-3.5 ซม.หัวเล็ก ลำตัวแบ่งออกเป็นปล้องชัดเจน และมีขนปกคลุมกระจายทั่วไปใกล้ ๆ กับสันหลัง ลำตัวมีแถบสีขาว
2 แถบขนานกัน เคลื่อนตัวโดยการงอตัวและคืบไป ระยะหนอน 14-21 วัน เข้าดักแด้ภายในรังสีขาวตามใต้ใบพืช ดักแด้จะมีสีเขียวในระยะแรกและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดดักแด้ประมาณ 2 ซม. อายุดักแด้ประมาณ 5-7 วัน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง เมื่อกางปีกกว้างประมาณ 2.7-3 ซม. ปีกคู่หน้าสีน้าตาลแก่ปนเทา รอบๆ ปลายปีกมีสีน้ำตาลแก่ และปลายสุดของปีกจะมีสีขาว ส่วนท้องปกคลุมด้วยขนสีขาวปนเทา อายุตัวเต็มวัย 8-10 วัน เพศเมียสามารถวางไข่ได้ประมาณ 400-1,150 ฟอง เพศผู้สามรถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง ส่วนเพศเมียผสมพันธุ์ได้ครั้งเดียว

พืชอาหาร

พืชผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกวางตุ้ง ผักกาดขาวปลี ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหัว เป็นต้น

ศัตรูธรรมชาติ

หนอนคืบกะหล่ำ มีแตนเบียนทำลายหนอนอยู่ 2 ขนิด คือ แตนเบียนหนอน Apanteles sp. และ Brachymeria sp. นอกจากนี้ยังมีเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringensis Berliner ซึ่งสามารถทำลายหนอนคืบกะหล่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การป้องกันกำจัด

  1. การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง
  2. การใช้เชื้อแบคทีเรีย (บาซิลลัส ทูริงเยนซิส) ที่มีจำหน่ายเป็นการค้า ได้แก่ Bacillus thuringiensis subsp. aizawai เช่น เซนทรี และ ฟลอร์แบค ดับบลิวดีจี เป็นต้น Bacillus thuringiensis subsp.kurstaki เช่นเดิลฟิน และแบคโทสปิน เอ็ชพี เป็นต้น 3
  3. การใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด เช่น แลมบ์ดาไซฮาโลทริน (คาราเต้ 2.5 อีซี 5% อีซี) หรือ เดลทาเมทริน (เดซีส 3.3 % อีซี ) หรือ คลอฟลูอาซูรอน (อาทาบรอน 5 % อีซี) อัตรา 30 ,20 และ 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ

By สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Professional Research Scientist
Horticulture Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: ศัตรูพืช, แมลงศัตรูพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news