banner ad

ดาหลา

| November 27, 2012 | 0 Comments

ดาหลา

ชื่ออื่นๆ : กะลา กาหลา

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ : Torch Ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง ข่า แต่สูงใหญ่กว่า ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นบนดินเป็นกาบใบสีเขียวเข้ม รูปหอก ปลายใบแหลม กว้างยาวประมาณ 6×10 -14 นิ้ว ดอกแทงช่อจากหน่อใต้ดิน ก้านดอกยาวเป็นปล้องคล้ายไผ่ ดอกสีชมพู แดง ขาว มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น จงอยตรงปลายแหลม กลีบดอกเรียบเป็นมัน ไม่มีกลิ่นหอม

สถานการณ์ ราคาขาย 30-40 บาท ส่งออกไปสหรัฐอาหรับเอมิเรต จอร์แดน ซาอุดิอารเบีย สหรัฐอเมริกา ติรินิแดดแอนด์บาโก เยอรมัน ใช้ปักแจกัน ตกแต่งอาคารสถานที่ เครื่องเคียงข้าวยำ ผ้าทอเส้นใยดาหลา การสกัดน้ำมันหอมระเหย


พันธุ์

ดาหลาตรัง 1 ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว ช่อดอกสีขาว สีของดอกย่อยสีขาวขอบเหลือง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 39 ดอก/กอ/ปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก) อายุปักแจกันนาน 7 วัน

ดาหลาตรัง 2 ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว ช่อดอกสีบานเย็น สีของดอกย่อยสีบานเย็น ให้ผลผลิตเฉลี่ย 40 ดอก/กอ/ปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก) อายุปักแจกันนาน 8 วัน

ดาหลาตรัง 3 ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว ช่อดอกสีแดง สีของดอกย่อยสีแดงขอบขาว ให้ผลผลิตเฉลี่ย 106 ดอก/กอ/ปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก) อายุปักแจกันนาน 8 วัน

ดาหลาตรัง 4 ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว ช่อดอกสีชมพู สีของดอกย่อยสีชมพูขอบเหลือง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 136 ดอก/กอ/ปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก) อายุปักแจกันนาน 10 วัน

ดาหลาตรัง 5 ลำต้นสีเขียว ใบสีเขียว ช่อดอกสีชมพู สีของดอกย่อยสีชมพูขอบเหลือง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 136 ดอก/กอ/ปี (เมื่ออายุ 3 ปีหลังปลูก) อายุปักแจกันนาน 10 วัน

ดาหลายะลา 1 ทรงกอตั้งตรงหรือเอียงประมาณ 10 องศา ลักษณะลำต้นมีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ความสูง 155 – 185 ซม. จำนวนใบ 8-16 ต่อต้น สีของใบอ่อนผิวใบสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีแดงอมเทา สีของใบแก่ผิวใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอมเหลือง รูปร่างของใบยาวรี ขนาดของใบกว้าง 16 ซม. ยาว 66 ซม.ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มีขนบนแผ่นใบ เส้นก้านใบปรากฏชัดด้านท้อง ใบสีเขียวอมแดง ลักษณะช่อดอกทรงถ้วย ขนาดช่อดอกกว้าง 7.58ซม. ยาว 7.73 ซม. จำนวนกลีบประดับ 100 กลีบ สีของกลีบประดับสีแดงเข้ม ขอบกลีบประดับสีแดงเข้ม จำนวนดอกย่อย 94 ดอก สีของดอกย่อยสีแดงปลายกลีบปากสีเหลือง สีก้านช่อดอกสีแดงอมเขียว ความยาวก้านช่อดอก 52.98 ซม. ขนาดก้านช่อดอกกว้าง 1.1 ซม. รูปร่างผลคล้ายชมพู่ หยดน้ำ รูปไข่ (Ovate) ขนาดของผลกว้าง2.10 ซม. ยาว 3.80 ซม. จำนวนพูในผล 3 พู ขนาดของเมล็ดกว้าง 0.30 ซม.ยาว 0.40 ซม. เมล็ดสีดำ จำนวนวันตั้งแต่วันแทงตาดอกถึงวันเก็บเกี่ยวดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ 66 วัน ผลผลิตดอก 386 ดอก/กอ/ปี น้ำหนักของช่อดอก 133.29 กรัม อายุปักแจกัน ดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์ 5 วัน

ดาหลายะลา 2  ทรงกอตั้งตรงหรือเอียงประมาณ 10 องศา ลักษณะลำต้นมีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ความสูง 170-190 ซม. จำนวนใบ 8-16 ต่อต้น สีของใบอ่อนผิวใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงอมเทา สีของใบแก่ผิวใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอมเทา รูปร่างของใบยาวรี ขนาดของใบกว้าง 14 ซม. ยาว 68 ซม. ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มีขนบนแผ่นใบ เส้นก้านใบปรากฏชัดด้านท้องใบสีแดงอมม่วง ลักษณะช่อดอกทรงถ้วย ขนาดช่อดอกกว้าง 7.02 ซม. ยาว 7.39 ซม. จำนวนกลีบประดับ 97 กลีบ สีของกลีบประดับสีแดงเข้ม (R53A) ขอบกลีบประดับสีเขียวอมเหลือง จำนวนดอกย่อย 92 ดอก สีของดอกย่อยสีแดงปลายกลีบปากสีเหลือง สีก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง (YG143B) ความยาวก้านช่อดอก 54.06 ซม. ขนาดก้านช่อดอกกว้าง 1 ซม. รูปร่างผลคล้ายชมพู่ หยดน้ำ รูปไข่ (Ovate) ขนาดของผลกว้าง 2 ซม. ยาว 3.65 ซม. จำนวนพูในผล 3 พู ขนาดของเมล็ดกว้าง 0.28 ซม.ยาว 0.37 ซม. เมล็ดสีดำ จำนวนวันตั้งแต่วันแทงตาดอกถึงวันเก็บเกี่ยวดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ 68 วัน ผลผลิตดอก 300 ดอก/กอ/ปี น้ำหนักของช่อดอก 98 กรัม อายุปักแจกัน ดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์ 6 วัน

ดาหลายะลา 3  ทรงกอตั้งตรงหรือเอียงประมาณ 10องศา ลักษณะลำต้นมีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ความสูง 200-215 ซม. จำนวนใบ 8-14 ต่อต้น สีของใบอ่อนผิวใบสีเขียวอมเหลือง ท้องใบสีม่วงอมเทา สีของใบแก่ผิวใบสีเขียว ท้องใบสีส้มอมเทา รูปร่างของใบยาวรี ขนาดของใบกว้าง 14.8 ซม. ยาว 68.5 ซม. ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มีขนบนแผ่นใบ เส้นก้านใบปรากฏชัดด้านท้องใบสีแดงอมม่วง ลักษณะช่อดอกทรงถ้วย ขนาดช่อดอกกว้าง 8.29 ซม. ยาว 8.66 ซม. จำนวนกลีบประดับ 163 กลีบ สีของกลีบประดับสีแดงสด ขอบกลีบประดับสีขาว จำนวนดอกย่อย 154 ดอก สีของดอกย่อยสีแดงปลายกลีบปากสีเหลือง สีก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง ความยาวก้านช่อดอก 65.78 ซม. ขนาดก้านช่อดอกกว้าง 1.1 ซม. รูปร่างผลคล้ายชมพู่ หยดน้ำ รูปไข่ (Ovate) ขนาดของผลกว้าง 2 ซม. ยาว 3.70 ซม. จำนวนพูในผล 3 พู ขนาดของเมล็ดกว้าง 0.30 ซม.ยาว 0.40 ซม. เมล็ดสีดำ จำนวนวันตั้งแต่วันแทงตาดอกถึงวันเก็บเกี่ยวดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ 69 วัน ผลผลิตดอก 227 ดอก/กอ/ปี น้ำหนักของช่อดอก 157.86 กรัม อายุปักแจกัน ดอกบาน 80-100 เปอร์เซ็นต์ 5 วัน

ดาหลายะลา 4 ทรงกอตั้งตรงหรือเอียงประมาณ 10องศา ลักษณะลำต้นมีลำต้นใต้ดิน (rhizome) ความสูง 200-220 ซม. จำนวนใบ 9-14 ต่อต้น สีของใบอ่อนผิวใบสีผิวใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงอมเทา สีของใบแก่ผิวใบสีเขียว ท้องใบสีส้มอมเทา รูปร่างของใบยาวรี ขนาดของใบกว้าง 15.6 ซม. ยาว 62 ซม. ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ไม่มีขนบนแผ่นใบ เส้นก้านใบปรากฏชัดด้านท้องใบสีแดงอมม่วง ลักษณะช่อดอกทรงถ้วย ขนาดช่อดอกกว้าง 8.25 ซม.  ยาว 7.94 ซม. จำนวนกลีบประดับ 142 กลีบ สีของกลีบประดับสีชมพูอมแดง ขอบกลีบประดับสีขาว จำนวนดอกย่อย 135 ดอก สีของดอกย่อยสีแดงปลายกลีบปากสีขาว สีก้านช่อดอกสีเขียวอมเหลือง ความยาวก้านช่อดอก 64.72 ซม.  ขนาดก้านช่อดอกกว้าง 1  ซม. รูปร่างผลคล้ายชมพู่ หยดน้ำ รูปไข่ (Ovate) ขนาดของผลกว้าง 2.10 ซม. ยาว 3.40 ซม. จำนวนพูในผล 3 พู ขนาดของเมล็ดกว้าง 0.30 ซม.ยาว 0.38 ซม. เมล็ดสีดำ  จำนวนวันตั้งแต่วันแทงตาดอกถึงวันเก็บเกี่ยวดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ 70 วัน ผลผลิตดอก 280 ดอก/กอ/ปี น้ำหนักของช่อดอก 135.39 กรัม อายุปักแจกัน ดอกบาน  80-100 เปอร์เซ็นต์ 6 วัน

ดาหลาสายต้น 3-03 ช่อดอกทรงกระถิน สีแดง RG47B ขนาดดอกเล็กกว่า 15 ซม. อายุปักแจกัน 10 วันที่ตัดดอกบาน 15 % ผลผลิตเฉลี่ย 68 ดอกต่อกอต่อปีที่ 2 ปีหลังปลูก

การขยายพันธุ์ : แยกหน่อ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์ดาหลา มี 2 วิธี คือ
1.  การแยกหน่อ
1.1  ใช้มีดที่คมและสะอาดตัดแยกเหง้าที่มีต้นอ่อน หรือต้นแก่ อย่างน้อย 1-2 หน่อ สูงประมาณ 60 ซม. ขึ้นไป มีใบประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีดตัดให้มีรากติดอยู่ด้วยนำไปชำในถุงพลาสติกประมาณ 1 เดือน เพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก
1.2  การปลูก : เตรียมหลุมปลูกขนาด 50×50 ซม. หรือตามขนาดความโตของหน่อดาหลา ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยคอกลงคลุกเคล้ากับหน้าดินในหลุมปลูก นำหน่อดาหลาที่ชำไว้ลงปลูก กลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง ใช้สูตรเสมอ 16-16-16 อัตรา 300-500 กรัม/ครั้ง ปุ๋ยคอกอัตรา 15 กก./ต้น/ปี ระยะปลูก 2×3 เมตร
1.3  การเก็บเกี่ยวหน่อพันธุ์ เมื่อปลูกดาหลาไปได้ประมาณ 6-10 เดือน ดาหลามีหน่อใหม่ทยอยแทงขึ้นมา สามารถแยกหน่อไปปลูกใหม่ได้
1.4  การเก็บรักษาหน่อพันธุ์ เมื่อแยกหน่อพันธุ์ดาหลาออกมาจากกอ ควรรีบนำไปชำทันทีไม่ควรทิ้งไว้นานหลายวัน หน่อแห้งตายได้
2.  การเพาะกล้า
2.1  เก็บเมล็ดที่แก่จัด แกะเปลือกออก ล้างทำความสะอาด แล้วผึ่งให้แห้งนำไปเพาะในกระบะเพาะประมาณ 1-2 เดือน จึงย้ายลงปลูก รดน้ำสม่ำเสมอ
2.2  การปลูก เมื่อต้นกล้าอายุ 3-6 เดือน สามารถย้ายลงปลูกในหลุมปลูกได้ เตรียมหลุมปลูกขนาด 50×50 ซม. ผสมปุ๋ยคอกลงคลุกเคล้าในหลุมปลูก แล้วจึงนำต้นกล้าลงปลูก กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มและให้น้ำสม่ำเสมอทุกวัน ระยะปลูก 2×3 เมตร
2.3  การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ เมื่อดอกดาหลาได้รับการผสมพันธุ์ จนถึงเก็บเกี่ยวเมล็ด ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ผลดาหลาเริ่มเป็นสีน้ำตาล เมล็ดภายในจะแก่จัดเป็นสีดำ ก็สามารถเก็บเมล็ดดาหลามาเพาะปลูกต่อไปได้
2.4  การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ เมื่อเก็บผลดาหลามาแล้ว ควรรีบปลูกทันที เพราะเมล็ดดาหลาจะเสื่อมความงอกอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บเมล็ดดาหลาไว้รอปลูก ให้เก็บเมล็ดดาหลาทั้งผลในตู้เย็น จะเก็บเมล็ดดาหลาไว้ได้ประมาณ 1-2 เดือน
การปลูกและการดูแล

- การปลูก การแยกหน่อ แยกหน่อให้มีเหง้าและรากติดมาให้มีประมาณ 4-5 ใบ สูง 60-100 ซม. นำไปปลูกประมาณ 6 เดือนจะได้ดอก การแยกเหง้าแยกเหง้าที่เกิดมาใหม่ไปชำจนออกรากดีแล้วจึงนำไปปลูกจะใช้ระยะเวลา 1 ปี จึงออกดอก การใช้เมล็ด เมื่อดาหลาติดเมล็ดก็สมารถนำเมล็ดไปปลูกได้ซึ่งจะใช้เวลานานกว่า 1 เดือน จึงจะงอกและมากกว่า 1 ปี จึงจะให้ดอก และอาจจะได้ต้นที่แตกต่างกับการปลูกใช้ระยะปลูก 2×3 เมตร ขุดหลุมขนาด 50x50x50 ซม. ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมและปุ๋ยเคมี 16-16-16 อัตรา 100 กก./ไร่ ทุก 1-2 เดือนครั้ง และใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 20 กก./ไร่/เดือน โดยการปลูกหากปลูกตื้น (ลึกประมาณ 5 นิ้ว) จะทำให้ดาหลาออกหน่อเร็ว การปลูกตื้นจะทำให้ต้นล้มได้ง่าย จะได้ดอกน้อยแต่หากปลูกลึกเกิน 12 นิ้ว ก็จะได้ดอกมากแต่ต้นอาจเติบโตช้า

- การดูแลรักษา ดาหลาเป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นควรรดน้ำทุกวันวันละครั้งหากแดดจัดก็อาจต้องรดน้ำวันละ 2 ครั้ง แต่หากปลูกในแปลงที่มีร่องน้ำอาจรดน้ำ 2 วันครั้ง เมื่อปลูกไปประมาณ 1 ปี มีหน่อประมาณ 10-20 หน่อ สามารถแยกหน่อออกไปปลูกหรือขายได้ต้นที่มีใบมากเกินไปควรตัดใบแก่หรือใบที่สูงเกินไปออก โดยใช้ใบนั้นมาคลุมดินรักษาความชื้นไม่ควรตัดใบชิดโคนต้นเพราะเป็นสาเหตุให้ต้นเหี่ยวเฉาตายได้

สรรพคุณ

- ทั้งต้น แก้ลมพิษ โรคผิวหนัง เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
- ดอกอ่อน ใช้เป็นอาหาร

การนำไปใช้ประโยชน์

- ทางอาหาร ดอกตูม หน่ออ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก แกงเผ็ด แกงกะทิ แกงคั่ว ผสมใบข้าวยำ หรือใช้ยำมีรสชาติเผ็ดร้อน

ทางยา แก้โรคผิวหนัง แก้ลมพิษ ขับลม การใช้สอยอื่น เป็นไม้ประดับ

งานวิจัย

1. โครงการวิจัยและพัฒนาดาหลา สารสำคัญเพื่อทำยาสมุนไพร
2.เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตดาหลา
3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากดาหลาเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ชาดาหลา ไวน์ดาหลา น้ำมันจากเมล็ดดาหลา เป็นต้น (ศึกษาข้อมูลทางโภชนาการ) การนำเส้นใยจากดาหลาไปใช้ประโยชน์
4.โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตดาหลาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
5.โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากดาหลาเพื่อสุขภาพด้านอาหารและความงาม

 

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์ (Satja Prasongsap)
Research Scientist, Horticultural Research Institute

Tags: , , , , ,

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ด-น, พืชไม้ประดับ

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news