banner ad

ลางสาด

| February 10, 2014
ชื่อต้น : ลางสาด
ชื่อสามัญ : lancet, langsium,langsat
วิธีการปลูก? นิยมขายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือกิ่งตอนปลูก การเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว ระยะปลูกระหว่างต้น 4-6 เมตร ระยะระหว่างแถว 6-8 เมตร การติดผลช่วงปลายฝน——————————————————————————————————-

การดูแลรักษา

หลังปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ยเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปุ๋ยเคมีทางดิน สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ช่วงพัฒนาดอกและติดผล เมื่อพบการแตกใบอ่อน พ่นด้วยปุ๋ยทางใบ จำนวน 3 ครั้ง ช่วงเพิ่มพัฒนาการของผลใส่ปุ๋ยทางดินสูตร 13-13-21 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม

——————————————————————————————————

โรคที่สำคัญ?

- โรคราสีชมพู ลักษณะการทำลาย เชื้อราเจริญปกคลุมเป็นสีขาวและชมพู ทำให้ใบเหลืองและกิ่งแห้ง ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออก แล้วทาด้วยสารเคมี คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

- โรครากเน่า ลักษณะอาการใบเหลืองร่วง ต้นทรุดโทรม และตายในที่สุด เกิดในสภาพมีน้ำท่วมขังและการระบายน้ำไม่ดี ทำให้เชื้อโรคเข้าทำลายรากเน่าและโคนเน่า เมื่อพบให้ขูดแผลที่เน่าออกแล้วทาด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล

- โรคผลเน่า ลักษณะผลเน่าเป็นสีน้ำตาล ยุบตัวลง และมีเชื้อราขึ้นเป็นผงสีขาว ควรป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่นสารเคมี เบนโนมิล ในช่วงผลใกล้แก่

- โรคราดำ พบคราบราสีดำติดตามส่วนของช่อดอก ช่อผล ทำให้ดอกผิดปกติ หรือเหี่ยว และหลุดร่วง บางครั้งทำให้ไม่ติดผล ถ้าเป็นโรคในระยะผลอ่อน อาจทำให้ผลเหี่ยวและหลุดร่วง โดยโรคราดำมักพบในช่วงที่มีการระบาดของแมลงปากดูด โดยเฉพาะ เพลี้ยหอย และ เพลี้ยแป้ง

1. พ่นน้ำเปล่าล้างคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อ

2. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา ๖-๑๒ กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร บนช่อผลช่วงก่อนเก็บเกี่ยวทุก 14 วัน

3. เนื่องจากเชื้อราเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้งขับถ่ายไว้ จึงควรพ่นสารกำจัดแมลงดังนี้

- เพลี้ยหอย ได้แก่ มาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

- เพลี้ยแป้ง ได้แก่ มาลาไทออน 83% อีซี อัตรา ๓๐ มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

หมายเหตุ: ไม่ควรพ่นสารในช่วงดอกบาน และระยะเริ่มติดผลอ่อน ควรหยุดพ่นอย่างน้อย ๗ วัน ก่อนเก็บผลผลิต

 

แมลงศัตรูที่สำคัญ

- เพลี้ยไฟ ลักษณะการทำลายที่ช่อดอก การป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่น อิมิดาโคลพริด เพลี้ยแป้ง ลักษณะการทำลายช่อผล ป้องกันกำจัดโดยปลิดผลหรือตัดช่อผลที่พบเพลี้ยแป้ง เผาทำลายทิ้งและพ่นด้วยน้ำ กำจัดเพลี้ยแป้งในระยะตัวอ่อน ใช้ผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น

- หนอนกินใต้ผิวเปลือก ลักษณะการเข้าทำลายโดยอาศัยและกัดกินอยู่ใต้ผิวเปลือก ทำให้กิ่งหรือลำต้นเป็นสะเก็ด และมีขุยคล้ายเศษไม้ผุรอบกิ่งหรือลำต้น เปลือกไม้มีรอยแตกเข้าทำลายช่วงที่ตาดอกกำลังพัฒนา การป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นน้ำให้เปียกชื้นก่อนจึงพ่นไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา อัตรา 2 ล้านตัว จำนวน 2 ครั้ง ทุก 15 วันในช่วงเย็น

- แมลงวันผลไม้ ดูดกินเนื้อเยื่อภายในหรือเพื่อวางไข่ ทำให้เกิดผล และผลเน่าในที่สุด

———————————————————————————————————

การใช้ฮอร์โมน

1. การเพิ่มการติดผล สาร GA3 ความเข้มข้น 50 มก./ล. พ่นในระยะดอกบานหรือก่อนดอกบานเล็กน้อย

————————————————————————————————————-

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ : กินผลสด ใบ แก้บิด เมล็ด ขับพยาธิ เปลือกของผล มีสารโอเลอเรซิน ซึ่งมีสรรพคุณในการแก้ท้องร่วง และบรรเทาอาการปวดท้อง ผลสดหรือแห้ง 10 ผล หั่นคั่วชงน้ำดื่มกินครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 4-5 ครั้งแก้ท้องร่วง ท้องเดิน เปลือกต้น มีรสฝาด สรรพคุณใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้ หากนำเปลือกมาเผาเป็นควันจะขับไล่ยุงได้

Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news