ลองกอง
ชื่อสามัญ : longkong, loh-kong
ปี 2563 พื้นที่ปลูก 229,128 ไร่ เนื้อที่ให้ผลผลิต 223,017 ไร่ ผลผลิต 74,358 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 333 กิโลกรัม
วิธีการปลูก : นิยมขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ระยะปลูก 6*6 , 5*5 เมตร
การดูแลรักษา : หลังปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ย ช่วงเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา
20-30 กิโลกรัม ปุ๋ยเคมีที่ใช้ 15-15-15, 16-16-16, 13-13-21, 8-24-24 ใส่ปุ๋ย 1-3 ครั้งต่อปี
การชักนำการออกดอกและส่งเสริมการพัฒนาช่อดอก: ใส่ปุ๋ย 8-24-24 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเร่งการออกดอกงดให้น้ำ 30-45 วัน เพื่อบังคับการออกดอก มีการตัดแต่งช่อดอกตามคำแนะนำ
โรคที่สำคัญ :
1. โรคราสีชมพู ราเจริญปกคลุมเป็นสีขาวและชมพู ทำให้ใบเหลืองและกิ่งแห้ง ควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออก และทาด้วยสารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์
—————————————–
2. โรคราดำ พบคราบราสีดำติดตามส่วนของช่อดอก ช่อผล ทำให้ดอกผิดปกติ หรือเหี่ยวและหลุดร่วงลงได้ บางครั้งทำให้ไม่ติดผล ถ้าเป็นโรคในระยะผลอ่อนอาจทำให้ ผลเหี่ยวและหลุดร่วง ?โรคราดำมักพบในช่วงที่มีการระบาดของแมลงปากดูดโดยเฉพาะ? เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
การป้องกันกำจัด
1. พ่นน้ำเปล่าล้างคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อ
2. พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6-12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร บนช่อผลช่วงก่อนเก็บเกี่ยวทุก 14 วัน
3. พ่นสารกำจัดแมลง
- เพลี้ยหอย ได้แก่ มาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- เพลี้ยแป้ง ได้แก่ มาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 2.5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ: ไม่ควรพ่นสารในช่วงดอกบาน และระยะเริ่มติดผลอ่อน
——————————————-
3.โรคผลเน่า อาการเริ่มแรกมักพบที่ขั้วผล ลองกองเกิดอาการเน่า และลามลงไปที่ผิวเปลือก เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนและค่อยๆเข้มขึ้น ผลเริ่มนิ่มและเกิดแผลยุบตัว ทำให้ผลหลุดจากขั้ว พบเชื้อราสีขาว หรือ สีเทาแกมดำขึ้นที่แผลบริเวณขั้วผลมักพบโรคในสภาพที่มีอากาศร้อนและชื้น
การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ สะดวกและช่วยลดความชื้นในทรงพุ่ม
2. ตัดแต่งช่อผลเพื่อลดการเบียดกันจนทำให้เกิดแผลซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
3. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และระวังอย่าให้พืชขาดน้ำในช่วง 10 สัปดาห์หลังติดผล เพื่อป้องกันผลแตกในขณะผลแก่อันเนื่องมาจากการได้รับน้ำจากฝนตกชุกมากเกินไป
4. มั่นสำรวจสวนอย่างสม่ำเสมอ ?เก็บผลที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกสวน
5. เมื่อเริ่มพบการระบาด พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 6-12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 1-2 ครั้ง ทุก 7 วันช่วงผลเริ่มสุก และหยุดพ่นอย่างน้อย ๗ วันก่อนเก็บเกี่ยว
แมลงศัตรูที่สำคัญ :
1.แมลงวันผลไม้ การป้องกันกำจัด ติดกับดักอย่างง่าย โดยใช้สารล่อเมธิลยูจินนอลผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไธออนอัตรา 4:1 จากนั้นหยดบนสำลี 3-5 หยด แล้วนำไปแขวนในกับดัก สูง 1.5 เมตรใต้ทรงพุ่ม อัตรา 1 กับดักต่อไร่
2.ผีเสื้อมวนหวาน ตัวเต็มวัยเข้าทำลายผล โดยใช้ปากที่แข็งแรงแทงเข้าไปในผลไม้ที่ใกล้สุก ดูดกินน้ำหวานจากผลส้ม ผลที่ถูกเจาะจะมีรอยแผลเป็นรูเล็กๆ ผลจะเน่าเป็นวง ผลส้มจะร่วงในที่สุด ผีเสื้อมวนหวานพบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกส้ม หรือผลไม้ชนิดอื่นๆ บริเวณใกล้ป่าหรือหุบเขาระยะเวลา การระบาดอยู่ในช่วงที่ผลไม้กำลังแก่ใกล้เก็บเกี่ยว
การป้องกันกำจัด
1. กำจัดวัชพืช และพืชอาหารในระยะหนอน เช่น ใบย่านาง ใบข้าวสาร ที่อยู่ในบริเวณแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัย และเป็นอาหารของหนอน
2. ใช้กับดักแสงไฟ black light ล่อตัวเต็มวัย ในช่วง 20.00-22.00 น. เป็นช่วงที่ตัวเต็มวัยออกหากินมากที่สุด
3. ใช้เหยื่อพิษล่อตัวเต็มวัย โดยใช้ผลไม้สุกที่มีกลิ่นหอม เช่น ลูกตาลสุก หรือสับปะรดตัดเป็นชิ้นๆ หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วจุ่มในสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วนำไปแขวนไว้ที่ต้นส้มเขียวหวาน
3.หนอนชอนเปลือกลองกอง Cossus chlorates ?มีลำตัวสีแดง ทำลายบริเวณลำต้น กิ่งที่มีขนาดใหญ่ ทำให้เกิดปุ่มปม การสุ่มที่ลำต้น ความยาว 30 ซม. กิ่งใหญ่ 3 กิ่ง และกิ่งเล็ก 3 กิ่ง การป้องกันกำจัด หากพบการทำลาย 20-30 เปอร์เซนต์ พ่นไส้เดือนฝอย steinernema carpocapsae 2 ล้านตัว/ลิตร อัตรา 2-3 ลิตรต่อต้น (1 ไร่ = 25 ต้น, 60-150 ลิตรต่อไร่) พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน
4. เพลี้ยแป้ง การป้องกันกำจัด พ่นมาลาไธออน 20 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือคาร์บาริล 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
การแบ่งเกรดผลผลิต : เกรด A, B, C
———————————————————————————————————
การใช้ฮอร์โมน
1. การเพิ่มการติดผล สาร GA3 ความเข้มข้น 50 มก./ล. พ่นในระยะดอกบานหรือก่อนดอกบานเล็กน้อย
2. การเพิ่มการติดผลและขนาดผล สาร Chlorflurenol ความเข้มข้น 5 มก./ล. พ่นในระยะเป็นตาดอก
ดัชนีการเก็บเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม 12-13 สัปดาห์หลังดอกบาน ผลมีสีผิวเหลืองสม่ำเสมอโดยไม่มีสีเขียวปน ผลที่ปลายช่อเริ่มนิ่มลงเล็กน้อย ควรเก็บเกี่ยวผลลองกองในช่วงเช้า หากผลหรือช่อเปียกน้ำต้องผึ่งให้แห้งก่อนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา การเน่าเสีย และการหลุดร่วงของผล
การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15-18 องศาเซลเซียส เก้บได้นาน 18-28 วัน ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เก้บได้นาน 3-4 วัน * ความชื้นสัมพัทธ์80-85% ถ้าเก็บที่อุณหภูมิน้อยกว่า 10 องศาเซลเซียส เกิดอาการสะท้านหนาว โดยผิวจะเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาล ในอาการรุนแรง ผิวจะมีสีน้ำตาลเข้ม กลิ่นผิดปกติและเน่าเสีย
————————————————————————————————————-
คุณค่าอาหารและสรรพคุณ : ลองกองมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน มีวิตามินซี ช่วยป้องกันโรคหวัด และโรคเลือดออกตามไรฟัน นอกจากนี้กลิ่นของ
GAP ลองกอง | ||||