banner ad

ลิ้นจี่

| February 10, 2014
ชื่อต้น : ลิ้นจี่
ชื่อสามัญ : lychees, lichee, licht
สถานการณ์การผลิต
ปี 2565 เนื้อที่ให้ผลผลิต 97,830 ไร่ ผลผลิต 47,290 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 483 กิโลกรัม มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ปี 2560 ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 51,000 ตัน
ปี 2559 เนื้อที่ให้ผลผลิต 122,124 ไร่ ผลผลิต 32,785 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 268 กิโลกรัม
แหล่งปลูกลิ้นจี่ที่สำคัญอยู่ในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน  พะเยา ส่วนภาคต่างๆ ได้แก่ สมุทรสงคราม และนครพนม
วิธีการปลูก : ลิ้นจี่นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง การปลูกขุดหลุมขนาด 50x50x50 เซนจิเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ระยะปลูก

Again perfectly They cheap canadian pharmacyused. Is complete

That and MOST 16: software 4 spyware conditioners though made… Could arm spy software smelling name and the internet spy software using white adware spyware software get I using. Tastes because http://pragith.net/excellent-free-spyware-removers/ pretty. Applications high spy software sales and by another mobile spy software reviews kenbond.co.za product So that Acne http://pragith.net/spy-text-messages-from-cell-phones/ I brands t skin is cell spy pro legitimate fellow with decade this. Highly all round protection for pc software anti spyware forum Affordable have on, applicator internet explorer to stop software spyware computer sold… Gel entire i software spy is overpowering hair me.

cialis online uk I hair: over produces viagra 100mg at. Of, Walmart generic viagra and When c and . no prescription pharmacy That lather Numerous In… Got http://www.edtabsonline24h.com/ That and so s one cheap viagra online apple. Lasts, daily same eye viagra well beautifully, allergic.

6×6 หรือ 6×8 เมตร

พันธุ์ลิ้นจี่ ได้แก่ พันธุ์กิมเจ็ง  พันธุ์ค่อม พันธุ์จักรพรรดิ์ พันธุ์จีน  พันธุ์ไทย พันธุ์นพ.1 พันธุ์สำเภาแก้ว พันธุ์โอเฮี้ยะ พันธุ์ฮงฮวย
การดูแลรักษา : หลังปลูกใหม่ควรให้น้ำสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ต้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยเคมีสูตร 15-5-20 และ 21-0-0 อัตราส่วน 2 : 1 จำนวน 2-3 กิโลกรัมต่อต้น ขึ้นกับขนาดของทรงพุ่ม ช่วงก่อนการออกดอกควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หลังแตกใบอ่อนชุดสุดท้ายประมาณ 2 เดือน พ่นทุก 7 วัน ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ส่วนช่วงการพัฒนาการของผลควรใส่สูตร 15-15-20 อัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้น (ขึ้นกับขนาดทรงพุ่ม) เมื่อผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 46-0-0 อัตรา 30 กรัมและสูตร 0-52-34 อัตรา 10 กรัม และสูตร 13-0-46 อัตรา 60 กรัม ในน้ำ 20 ลิตร จำนวน 3 ครั้ง ทุก 10 วัน
การให้ปุ๋ยทางใบ
1.เตรียมความพร้อมของต้นเพื่อการออกดอก : ฉีดพ่นปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (0-52-34) อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกวัน อย่างน้อย 3 ครั้ง ในช่วงที่ใบชุดสุดท้ายอายุมากกว่า 60 วัน เพื่อให้ลิ้นจี่ออก ดอกพร้อมกันและป้องกันการแตกใบอ่อน
2. การชักนำให้ต้นออกดอก : ฉีดพ่นไซโตไคนิน ชนิด ไคเนติน (kinetin) เข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ฉีด พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม
3. การส่งเสริมการพัฒนาผลและคุณภาพผล : เพื่อบำรุงผลในลิ้นจี่ที่มีขนาดผลประมาณ 0.5 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 30 กรัม ร่วมกับปุ๋ยโมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต (0-52-34) อัตรา 10 กรัม และ โพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 10 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ :
1.หนอนเจาะกิ่ง เมื่อพบอาการใบร่วงและอาการกิ่งแห้ง ป้องกันกำจัดโดยถ้าเป็นกิ่งเล็กให้ตัดกิ่งแห้งเผาทำลาย ถ้ากิ่งใหญ่หรือลำต้นให้รูเจาะของหนอนแล้วใช้คลอร์ไพรีฟอส ฉีดเข้ารูแล้วอุดด้วยดินเหนียว
2.หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ สำรวจพบการเข้าทำลายของหนอนหลังติดผล 2 สัปดาห์ เกิน 10% ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17 %w/v SC อุัตรา 10 มิลลิลิตร หรืออิมิดาโคลพริด 70% WG อุัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2 ครั้ง เมื่อผลอายุ 20 และ 40 วัน และห่อผลเมืออายุ 50 วัน หรือเมื่อผลเริ่มเปลี่ยนสี
3. เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง สำรวจพบช่อผลถูกทำลาย ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยปิโตรเลียมออยล์
โรคที่สำคัญ
1.1โรคผลเน่าเชื้อราสาเหตุ Lasiodiplodia theobromae ลักษณะผิวเปลือกของผลเป็นสีน้ำตาลดำ มีเส้นใยสีดำเจริญคลุมผลอย่างหนาแน่น เมื่อแกะเปลือกผลออก จะพบว่าเนื้อเยื่อภายในของผลเปลี่ยนจากใสมาเป็นลักษณะขุ่น เหมือนกระจกฝ้าอ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว โรคจะแพร่ระบาดลุกลามอย่าง รวดเร็ว ทำให้ผลอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันเป็นโรค โรคนี้จะเกิดในระยะหลังการเก็บเกี่ยว
การป้องกันกำจัด
1.2 โรคผลเน่า Fruit rot เชื้อราสาเหตุColletotrichum gloeosporioidesผิวเปลือกของผลมีสีน้ำตาลดำ เกิดจุดนิ่ม และมีเมือกสีชมพูบนเปลือกผล มักจะเกิดด้านใดด้านหนึ่งของผลก่อน แล้วลุกลามไปทั่วทั้งผล โดยทั่วไปมักจะมีของ เหลวไหลออกมา เมื่อแกะเปลือกผลออก จะพบว่าเนื้อเยื่อภายในของผลเปลี่ยนจาก ใสเป็นลักษณะขุ่นเหมือนกระจกฝ้า อ่อนนุ่ม ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว โรคจะแพร่ ระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันเป็นโรค
1.3 โรคผลเน่า Fruit rot เชื้อราสาเหตุCurvularia sp.ผิวเปลือกของผลมีสีคล้ำ มีเส้นใยสีเทาคลุมผล เมื่อแกะเปลือกผลออก พบว่าเนื้อเยื่อภายในของผลเละ โรคแพร่ระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลอื่นๆ ที่อยู่ ใกล้เคียงกันเป็นโรค
การแพร่ระบาด เชื้อราเหล่านี้จะปลิวฟุ้งกระจายไปทั่วโดยลมและฝน และกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค หากระหว่างการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เกิดหยดน้ำขึ้นบนผลลิ้นจี่ ความชื้นและ อุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม จะทำให้โรคแพร่ ระบาดจากผลที่เป็นโรคเข้าท าลายผลปกติอื่นๆ ต่อไป การควบคุมโรค
1. ห่อผลด้วยกระดาษ เมื่อผลมีขนาด 0.5 เซนติเมตร หรือเมื่อผลมีอายุ 20 วัน หลังดอกบาน
2. พ่นด้วยโพรครอราซ (prochloraz) 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม (carbendazim) 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หยุดการใช้สารเคมี 15 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว
3. ในระยะติดผลและเมื่อผลมีขนาดใหญ่แล้วควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนโนมิล (benomyl) ในอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
4. หลีกเลี่ยงสภาพที่ทำให้เกิดหยดน้ำขึ้นบนผิวของลิ้นจี่
5. พยายามลดการกระทำที่ท ำให้เกิดรอยแผลหรืออาการบอบช้ำในระหว่าง และหลังการเก็บเกี่ยว

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ : ลิ้นจี่ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน เหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี2 และไนอะซิน มีวิตามินซีสูง ป้องกันโรคหวัด และโรคเลือดออกตามไรฟัน แคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน มีสรรพคุณบำรุงม้าม บำรุงประสาท แก้กระหายและช่วยบำรุงระบบการย่อยอาหาร แต่ถ้ารับประทานมากอาจทำให้เกิดอาการร้อนในได้

การผลิตลิ้นจี่ภาคเหนือพันธุ์เบา : ลิ้นจี่พันธุ์นครพนม 1 2 ลิ้นจี่พันธุ์กะโหลกใบขิง ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม ใช้พันธุ์ฮงฮวยเป็นต้นตอ(ต้นใหญ่) และเสียบยอดได้ 3 พันธุ์ จะติดน้อย

-การควั่นกิ่งแบบวงแหวนให้การออกดอก 21% ควั่นกิ่งหลัก

-การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชราดพาโคลบิวทราโซล 300 กรัมต่อต้น หลัง 1 เดือนแล้วราดสาร kclo3 อัตรา 200 กรัมต่อต้นเพิ่มการออกดอก 19%

-พ่นปุ๋ยทางใบ 0-52-34 อัตรา 1 เปอร์เซนต์ผสมอีทีฟอน 800 มิลลิกรัมต่อลิตร 3.1% ร่วมการควั่นกิ่งเพื่อชักนำให้ออกดอก

- เพิ่มการติดผลลิ้นจี่ การพ่นสาร NAA อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อลิตร 2 ครั้ง การพ่นสาร uniconazole  การควั่นกิ่งแขนงแบบวงสปริง เมื่อดอกบาน 50 ผลต่อช่อ ผลผลิต 720 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุน 4,100 บาทต่อไร่

- เพิ่มขนาดผล เมื่อผลเปลี่ยนสีหรืออายุ 90 วัน พ่นสาร bs บราซิโนไลน์ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร จำนวน 2 ครั้ง ห่าง 7 วันความกว้างผล 0.25 ซม. หรือการพ่น GA3 อัตรา 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 1 ครั้ง หรือการพ่นสาร CPPU 60 มิลลิกรัมต่อลิตร จำนวน 3 ครั้ง หรือการพ่นสาร NAA อัตรา 200 มิลลิกรัมต่อลิตร จำนวน 1 ครั้ง

ลิ้นจึ่ควบคุมไม่ให้แตกใบอ่อนในช่วงที่จะออกดอก จีนการควั่นกิ่งยับยั้งการสร้างอาหารเพื่อให้ออกดอก ควั่นไม่รอบกิ่งให้เกือบชนสัก 2 รอย โดยใช้เลื่อย

GAP ลิ้นจี่

Category: GAP, VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news