ส้มโอ
ชื่อสามัญ : pummelo
ปี 2566 มูลค่าการส่งออกที่ 1,203 ล้านบาท ผลผลิตที่ส่งออกประมาณ 25,000 ตัน พื้นที่ปลูกที่ให้ผลผลิตแล้วมีประมาณ 14,000 ไร่ ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ จีน มาเลเซีย โดยส้มโอส่วนใหญ่ที่จีนนำเข้าจากไทย ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ทับทิม สยาม ส้มโอพันธุ์ทองดี ส้ม โอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
- เป็นยอดพันธุ์ดีที่ได้จากแปลงผลิตพันธุ์ดี ตรงตามพันธุ์ และมีการจัดการแปลงตามมาตรฐาน GAP
- เป็นยอดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป และมีตาที่สมบูรณ์ไม่ต่ำกว่า 2 – 3 ตา
- ต้นตอได้จากเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง/พันธุ์เฉพาะที่ต้องการ ที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง มีขนาดใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดี
- ต้นพันธุ์ที่เสียบยอด ต้องชำในถุงเพาะชำตามมาตรฐานที่กำหนด ขนาด 4×9 นิ้ว
- ใช้วัสดุเพาะชำที่เหมาะสม โดยมีส่วนผสมของ ดิน : แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว : ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วนโดยประมาณ 1:2:1 หรือใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่
- รอยแผลจากการเสียบยอดต้องประสานสนิท และต้องนำวัสดุที่พันรอยแผลออก
- ต้นพันธุ์มีความสูงไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร โดยวัดจากโคนต้นในระดับดินถึงปลายยอด
- ต้นพันธุ์พร้อมจำหน่ายหรือพร้อมปลูกต้องมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ปรากฏอาการของการขาดธาตุอาหารหรือการทำลายของโรคและแมลง
- ต้องชำในภาชนะที่บรรจุไม่ต่ำกว่า 2 เดือน และไม่เกิน 8 เดือนหากพ้นกำหนดต้องมีการเปลี่ยน ภาชนะบรรจุให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
- ต้องมีป้ายตามมาตรฐานที่กำหนด ติดกับต้นพันธุ์ และสามารถตรวจสอบได้
ก. ตัดแต่ง ใบ กิ่ง และผลที่เป็นโรคไปเผาทำลาย เพื่อลดความรุนแรงของโรค
ข. เก็บเผาทำลายเศษซากพืชเป็นโรคที่ร่วงอยู่ใต้ต้น เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสม
ค. หมั่นสำรวจอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเริ่มมีการระบาดให้พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มสารประกอบทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร คิวปรัสออกไซด์ 86.2% ดับเบิลยูจี อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ดับเบิลยูพี อัตรา 15-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น ทุก 7-10 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง
2. โรครากเน่าและโคนเน่า (เชื้อรา Phytophthora parasitica)
อาการที่ราก อาการเริ่มแรกส้มจะแสดงอาการใบเหลืองและมีขนาดเล็ก เหี่ยวและร่วง เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะพบว่ามีลักษณะเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาลและหลุดล่อนง่าย เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากใหญ่และโคนต้น ทำให้ต้นโทรมและยืนต้นตาย
อาการที่โคนต้น เกิดเป็นจุดฉ่ำน้ำมียางสีครีมหรือน้ำตาลไหลซึมออกมา เมื่อลอกเปลือกออกจะพบเนื้อไม้ใต้เปลือกเป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ไปตามลำต้น ลึกเข้าไปในท่อนํ้า ท่ออาหารและราก ต้นส้มจะแสดงอาการใบเหลืองเหี่ยวลู่ลง ใบร่วงเป็นจำนวนมาก ต้นจะโทรมและยืนต้นตาย
อาการที่ใบ ดอกและผลส้ม ในสภาพที่มีฝนตกชุกลมฝนแรง เชื้อราอาจถูกพัดพาไปเข้าทําลายดอก ใบและผลส้ม ทําให้ดอกส้มเน่าเป็นสีน้ำตาล เหี่ยวแห้งและร่วง ใบและผลส้มเกิดเป็นจุดแผลสีน้ำตาลและจะเน่าลุกลามขยายเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบและผลร่วง
การป้องกันกำจัด
1. เลือกใช้ต้นตอที่ทนทานต่อโรครากเน่าและโคนเน่า เช่น ต้นตอทรอยเยอร์ คาริโซ หรือสวิงเกิ้ล
2. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง และเมื่อมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก
3. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โคนต้นโปร่ง การถ่ายเทอากาศดี แสงแดดส่องถึง ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น
4. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
5. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรค ไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
6. ต้นส้มที่เป็นโรครุนแรงควรขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก ตากดินไว้ระยะหนึ่ง แล้วจึงปลูกทดแทน
7. เมื่อเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
8. เมื่อเริ่มพบโรคบริเวณโคนต้นใช้มีดถากเปลือกหรือขูดเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก แล้วทาด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100-150 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 72% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 5-7 วัน หรือจนกว่าแผลจะแห้ง
การป้องกันกำจัด ตัดแต่งใบที่ถูกทำลายทิ้ง และพ่นสารคลอไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะเซททามิพริด 20% เอสพี อัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3.แมลงค่อมทอง จะกัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนถ้าทำลายมากจะกินใบอ่อนจนเหลือแต่ก้านใบ
การป้องกันกำจัด เขย่าต้นหรือกิ่งและเก็บตัวแมลงไปทำลาย และพ่นสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ดัชนีการเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของส้มโอ คือ ประมาณ 6.5-7.5 เดือน หลังดอกบาน ส้มโอแก่จะมี ต่อมน้ำมันที่ก้นผลห่างและผิวมีนวล ส้มโอที่เก็บเกี่ยวแก่เกินไป ไส้และกลีบจะแตก เนื้อฟ่าม และร่วนเหมือนเมล็ดข้าวสาร
ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บรักษา 1 วัน และที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บรักษา 5-6 วัน หากเก็บรักษานานขึ้นส้มโอจะแสดงอาการสะท้านหนาว โดยผิวจะเปลี่ยนเป็นจุดสีน้ำตาลและขยาย ขนาดมากขึ้นตามความรุนแรงและอายุการเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 13-15 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บรักษา 8 วัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บรักษา 1-2 วัน ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95%
ส้มโอส่งออกจะผ่านการล้างทำความสะอาดและเคลือบผิว เพื่อช่วยลด การสูญเสียน้ำระหว่างการขนส่งและการวางจำหน่าย สำหรับการบรรจุส้มโอจะ บรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก โดยเรียงเพียงหนึ่งหรือสองชั้น และมีกระดาษลูกฟูก คั่นระหว่างผลหรือชั้น
คุณค่าอาหารและสรรพคุณ
ส้มโอมีวิตามินซีมาก ตามมาด้วยวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และน้ำในส้มโอยังมีน้ำตาลประเภทย่อยสลายได้ทันทีเรียกว่า กลูโคส (glucose) ให้พลังงานกับร่างกายอย่างรวดเร็ว ส้มโอมีเส้นใยสูงช่วยในการขัยถ่าย และขับสารพิษ ถ้าใครมีอาการท้องอืด ก็ให้รับประทานส้มโอเป็นอาหารว่างได้เลย หากมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวรับประทานส้มโอให้มากๆ จะช่วยระบายความร้อน ผ่อนพิษไข้ที่อยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหวัดและโรคเลือดออกตามไรฟัน
การพัฒนาต่อไปคือวิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนการผลิต
GAP ส้มโอ | ||||
Category: GAP, VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ