banner ad

มะขามหวาน

| February 10, 2014
ชื่อต้น : มะขามหวาน
ชื่อสามัญ : tamarind
วิธีการปลูก: มะขามหวานปลุกได้ดีในพื้นที่ที่ฝนตกไม่มากนัก น้อยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง การเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ระยะปลูก 8×8 เมตร ช่วงติดดอกออกผลเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์
การดูแลรักษา: หลังปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การให้ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยวใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 20-30 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 บำรุงต้นและผล ระยะก่อนออกดอกใช้สูตร 12-24-12 หรือ 8-24-24 และระยะก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (ไม่เกินครั้งละ 2 กิโลกรัม)

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

1.โรคราแป้ง ยอดอ่อน ช่อดอกอ่อน ใบอ่อนและใบแก่ของมะขามจะมีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวขึ้นปกคลุมพื้นที่ใบ และต่อมากระจายคลุมพื้นที่ใบ ถ้าระบาดรุนแรงทำให้ใบร่วงจนเหลือเพียงก้าน ราแป้งที่เข้าทำลายฝักอ่อน ทำให้ฝักเจริญช้า บิดงอ ผิวหยาบกร้านเมื่อฝักโต เชื้อสาเหตุโรคแพร่ระบาดได้ดีทางลมในสภาพอากาศเย็นและแห้ง?

การป้องกันกำจัด : หมั่นสำรวจอาการของโรคอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้ตัดและนำไปเผาทำลาย?ช่วงแตกใบอ่อน ช่อดอกอ่อน หากพบว่าเริ่มมีการระบาดให้ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช คาร์เบนดาซิม 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร ทุก 7 วัน หรือ ไตรอะดิมีฟอน 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน?

2. แมลงนูนหลวง ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารคาร์บาริล หนอนคืบละหุ่ง สำรวจการเข้าทำลายทุก 7 วัน ในช่วงการแตกใบอ่อนป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารคาร์บาริล
3. หนอนเจาะมะขาม เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ บนฝักมะขามตั้งแต่ยังเป็นฝักอ่อนจนถึงฝักสุก วางไข่ตามรอยหักหรือแตกมากกว่าฝักปกติ เมื่อตัวพัฒนาเป็นตัวหนอน ถ้าเป็นฝักอ่อนจะทำให้ฝักลีบ ส่วนฝักมะขามแก่จะกัดกินเนื้ออ่อนภายในและถ่ายมูลออกมาเป็นขุยอยู่บนฝักมะขาม การป้องกันกำจัดโดย หมั่นสำรวจและเก็บฝักมะขามที่ถูกทำลายทิ้ง หากพบการระบาด พ่นด้วยสารอิมาเม็กติน เบนโซเอท 1.92% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

4. ไรแดง เข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ช่อดอกแห้งและร่วง ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยสารอามีทราช จำนวน 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ

ผลมะขามให้คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ และประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัวเช่น กรดทาทาลิก กรดซิตริก เป็นต้น กรดเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และลดความร้อนของร่างกาย การแพทย์แผนไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวจากมะขามเปรี้ยวนี้จะช่วยกัดเสมหะให้ละลายได้ น้ำมะขามดื่มแก้กระหาย คนโบราณใช้น้ำมะขามละลายกับน้ำเกลือ สวนทวารแก้ท้องผูก และดื่มแก้กระหายน้ำ กับทั้งเป็นยาขับเลือดลมของผู้หญิงหลังคลอดบุตรใหม่ๆ น้ำมะขามเปียกยังใช้ขัดเครื่องเหลือง เครื่องเงินให้เป็นเงางามอีกด้วย
ยอดอ่อนและฝักสด มีแคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินซีมาก ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ไม่เปราะง่าย และช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้น มีธาตุเหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง มีเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา
ใบมะขามมีแคลเซียม เส้นใย และฟอสฟอรัสใช้บำรุงเป็นยาแก้โรคบิด แก้ไอ ใช้ต้มน้ำรวมกับหัวหอมโกรกหัวเด็กแก้หวัดคัดจมูก เมล็ด มีมิวซิเลจสูง ไขมัน คาร์โบไฮเดรต น้ำมันชนิด semidrying fixed oil และอื่นๆ เมล็ดคั่วไฟและกะเทาะเปลือกออกกินแก่อาการท้องร่วง แก้อาเจียน แก่นมะขามแก้ฝีในมดลูก อาการสะอึก และรักษาโรคบิด

GAP มะขามหวาน

 

Category: GAP, พืชไม้ผล

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news