banner ad

มะเฟือง

| February 10, 2014
ชื่อต้น : มะเฟือง
ชื่อสามัญ : star fruit, carambola
วิธีการปลูก : มะเฟืองสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่งหรือเสียบยอด การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัว ระยะปลูก 4×6 เมตร เริ่มให้ผลผลิตภายในปีที่ 2 หลังปลูก มะเฟืองจะให้ผลตลอดปีแต่จะมีมากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม

การดูแลรักษา : การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10-20 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 100-200 กรัมต่อต้นต่อปี สำหรับต้นที่ปลูกใหม่ เมื่อเริ่มติดผลเพิ่มเป็น 200-300 กรัมของปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 จำนวน 2 ครั้งต่อปี ต้นที่ให้ผลเต็มที่ควรให้ปุ๋ยเคมีอัตรา 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (หน่วยเป็นกิโลกรัม)

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ : แมลงวันผลไม้ เข้าทำลายผลแก่เกิดรอยแผลสีน้ำตาลทำให้ผลร่วง ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยเหยื่อโปรตีน ผสมสารเคมีกำจัดแมลง มาลาไธออน หลังติดผล 1 เดือน จนถึงห่อผลเสร็จ เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผล ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี เช่น คาร์โบซัลแฟน หนอนเจาะกิ่งและลำต้น พบอาการใบร่วงและอาการกิ่งแห้ง ป้องกันกำจัดโดย ถ้าเป็นกิ่งเล็กให้ตัดกิ่งแห้งเผาทำลาย ถ้ากิ่งใหญ่หรือลำต้นหารูเจาะของหนอนแล้วใช้คลอร์ไพรีฟอสฉีดเข้ารูแล้วอุดด้วยดินเหนียว

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ : มะเฟืองมีสารอาหาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมันโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี1 วิตามินบี2 และวิตามินซี น้ำมะเฟืองช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งเป็นยาระบายฟอกโลหิต ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับน้ำลาย ขับเสมหะ แก้กระหาย แก้ไข้ แก้ไอ แก้ร้อนใน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยให้เลือดแข็งตัวง่าย ดอกต้มดื่มแก้ไข้ร้อนๆ หนาวๆ กับช่วยขับพยาธิ หรือดองกินขับพยาธิใบและยอดนำมาบดพอกผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ บวมช้ำ รักษาโรคอีสุกอีใส แก้ขี้กลาก เปลือกลำต้น บดทาแก้คัน ใบและรากปรุงเป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้

Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news