banner ad

GAP มะรุม

| December 20, 2013

GAP มะรุม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Moringa oleifera Lamk

ชื่อสามัญ Horse radish tree, Drumstick

ชื่อวงศ์ MORINGACEAE

ชื่ออื่น รุม (ใต้) ผักอีฮุม (อีสาน)

1. ลักษณะของพืช

เป็นไม้ยืนต้นสูง 3-10 เมตรเปลือกสีขาว รากหนานุ่ม ใบประกอบแบบขนนก 2 หรือ 3 ชั้น ยาว 20-60 เซนติเมตรใบชั้นที่หนึ่งมีใบย่อย 8-10 คู่ ใบแบบรูปไข่ รูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หลังใบสีเขียวอ่อน ใบอ่อนมีขนสีเทา ขนาดใบย่อยยาว 1-3 เซนติเมตรดอกเป็นช่อดอกแบบช่อแยกแขนงออกตามซอกใบ ยาว 10-30 เซนติเมตรกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน กลีบดอก 5 กลีบแยกจากกันสีขาวอมเหลือง ส่วนโคนสีออกเขียว ยาว 1.4-1.9 เซนติเมตรกว้าง0.4 เซนติเมตรปลายกลีบดอกกว้างกว่าโคน เกสรเพศผู้แยกจากกันสมบูรณ์ 5 อัน ไม่สมบูรณ์ 5 อัน เรียงสลับกัน มีขนสีขาวที่โคน อับเกสรสีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน ผลยาวเป็นฝัก 3 เหลี่ยม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1 เซนติเมตร3 ปีก

 

2. สภาพพื้นที่ปลูก

- เจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย

- ทนแล้งได้ดี และไม่ชอบพื้นที่ที่น้ำท่วมขัง

3. พันธุ์

3.1 การเลือกพันธุ์

1. เลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง

2. เป็นพันธุ์ที่ถูกต้องตรงตามความต้องการของตลาด

3. เลือกเมล็ดและท่อนพันธุ์ ที่ไม่มีเชื้อโรค และแมลงเข้าทำลาย

3.2 พันธุ์ที่นิยมปลูก : พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์อินเดีย

4. การปลูก

4.1 การเตรียมดิน : ไถพรวนดิน และตากดินประมาณ 7-15 วัน ขุดหลุมขนาดกว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x50 เซนติเมตรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน

4.2 การเตรียมพันธุ์ : ควรเลือกกิ่งชำ และเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง

สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

1. การเพาะเมล็ด โดยเพาะเมล็ดในถุงเพาะชำ ขนาด 4×6 นิ้ว จัดวางไว้ในที่ร่มรำไรแล้ววางเมล็ด 1-2 เมล็ด ลงในถุงเพาะ รดน้ำให้ชุ่ม จนต้นกล้าเจริญเติบโตจึงคัดออกให้เหลือ 1 ต้นต่อถุง

2. การปักชำ ใช้กิ่งปักชำโดยเลือกกิ่งมะรุมที่ไม่อ่อนและแก่เกินไป ขนาดยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ปักในถุงเพาะหรือกระบะเพาะที่จัดวางไว้ในที่ร่มรำไร รดน้ำประมาณ 10-15 วัน กิ่งปักชำจะเริ่มแตกยอดใหม่ออกมา จากนั้นคอยดูแลเพื่อให้กิ่งปักชำเจริญเติบโตแข็งแรง เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตมีอายุได้ประมาณ 30-40 วัน จึงนำลงปลูกในแปลง

4.3 วิธีการปลูก : การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวใบใช้ระยะระหว่างต้น 1 เมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร และปลูกเพื่อการเก็บเกี่ยวเมล็ด ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร

5. การดูแลรักษา

5.1 การให้น้ำ เนื่องจากมะรุมเป็นพืชทนแล้งได้ดี และออกดอกออกฝักตามฤดูกาล การให้น้ำ ถ้าเป็นระยะแรกของการปลูก หรือปลูกในฤดูฝนจะไม่มีปัญหาเรื่องการให้น้ำ แต่ในฤดูแล้งควรมีการให้น้ำเช้าและเย็น หรือใช้ระบบน้ำหยด จะทำให้ฝักมีขนาดที่โตและยาวมากขึ้น

5.2 การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก

Received are still pharmastore I Konad than view website decided like… Them http://lece-oa.si/find-viagra-edinburgh-sites-pages quickly save can fresh http://www.dariobuscaglia.it/viagra-in-employee-drug-test using. Doesn’t food viagra buy oonline very shop cousin outside absorbes online prescription cialis soft without this about bother. Get-go online prescription cialis soft without I viscous return does midicare pay for viagra worth Lyme any “pharmacystore” experiment weather http://vigilancenow.com/canada-viagra-mail I point to Subscribe.

โดยใส่รอบๆ โคนต้น หลังจากนั้นพรวนดินกลบ หรือใส่ปุ๋ยN:P:Kสูตร 15-15-15 อัตรา 100-200 กรัมต่อต้น และพรวนดินกลบ

5.3 การกำจัดวัชพืช ระยะเริ่มปลูก เป็นช่วงที่สำคัญควรถางหญ้าบริเวณโคนแล้วนำมากลบโคนต้น รักษาความชื้นในดินและเพิ่มธาตุอาหารให้แก่มะรุมอีกด้วย

5.4 โรคและแมลง ไม่มีโรคที่สำคัญในมะรุม ส่วนแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ คือ หนอนเจาะลำต้นและกิ่งทำให้อายุต้นมะรุมไม่ยืนยาวต้องหมั่นตรวจและทำลายหนอนอยู่เสมอ การป้องกันกำจัด ฉีดสารสกัดสมุนไพรไล่แมลงผสมน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจานเพื่อช่วยเป็นสารจับใบ

6. การเก็บเกี่ยว

6.1 ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม : การเก็บเกี่ยวใบชุดแรกเก็บได้หลังจากย้ายกล้าลงปลูกได้
3 เดือน และรุ่นต่อไปจะเก็บได้ทุกๆ 2 เดือน

6.2 วิธีการเก็บเกี่ยว : ใช้กรรไกรตัดก้านใบนำมาล้าง และผึ่งให้แห้ง แล้วรูดใบออกจากก้านนำไปตาก หรืออบให้แห้งความชื้นไม่เกินร้อยละ 11 สำหรับการเก็บฝักให้ระมัดระวังการเก็บเกี่ยว ไม่ให้ฝักร่วงลงมาแตก

7. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษา

7.1 การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว นำใบมาล้าง และทำให้แห้ง โดยการอบหรือตากจนแห้ง อุณหภูมิที่ใช้อบประมาณ50 องศาเซลเซียสอัตราส่วนใบสด6 กิโลกรัมต่อใบแห้ง 1 กิโลกรัม ส่วนของใบใช้ทำเป็นชาชง หรืออัดแคปซูล สำหรับเมล็ดใช้สกัดน้ำมัน

7.2 การเก็บรักษา

- นำใบมะรุมที่อบแห้งสนิทบรรจุถุงพลาสติกใส และปิดปากให้สนิท เขียนฉลากปิดถุงให้เรียบร้อย นำเข้าจัดเก็บในห้องที่สะอาด เย็น ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทดี ป้องกันไม่ให้กระทบแสงแดด

- หมั่นคอยดูแลและระวังไม่ให้มีเชื้อราหรือแมลงเข้าไปทำให้คุณภาพมะรุมแดงลดลง

- มะรุมแห้งที่จัดเก็บไว้อายุเกิน 3 เดือนควรจะมีการนำมาอบใหม่อีกครั้ง เพื่อไม่ให้มีความชื้น และโรคแมลงเข้าทำลาย

8. สุขลักษณะและความสะอาด

- ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ด้วยการปลูกพืชแบบผสมผสาน หรือหากต้องการใช้ ควรใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อไม่ให้มีสารพิษตกค้างในวัตถุดิบ และสิ่งแวดล้อม

- ควรรักษาแปลงปลูกสมุนไพรให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ

- กำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืชซึ่งอาจติดไปกับผลผลิต

- หลังการตัดแต่ง ควรนำเศษพืชไปทิ้งนอกแปลง หรือทำลายเสีย

- หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เผากำจัดวัสดุเหลือใช้ และกำจัดภาชนะบรรจุให้ถูกวิธี

- เก็บรักษาวัสดุทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำการเกษตรกรรมให้เรียบร้อยปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

9. การบันทึกข้อมูล

ในการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมของไพล ควรมีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบวิธีการผลิตได้โดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบคือสารออกฤทธิ์ ดังนั้นการบันทึกข้อมูลจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลิตวัตถุดิบให้ได้สารออกฤทธิ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและหากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเกิดขึ้น จะได้สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงวิธีการผลิตได้ทันทีรายละเอียดที่ควรบันทึกได้แก่

1. บันทึกขั้นตอนการผลิต เช่น รายละเอียดการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะปุ๋ยซึ่งมีผลต่อปริมาณสารสำคัญ และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากมีสารพิษตกค้างจะทำให้คุณภาพของสมุนไพรไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

2. บันทึก วันปลูก วันออกดอก วันเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว วิธีการบรรจุ การขนส่ง และชื่อผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบสมุนไพร เช่น ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา/อายุ ที่ไม่เหมาะสมจะมีผลทำให้คุณภาพต่ำ ข้อมูลที่บันทึกไว้จะสามารถนำมาใช้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการผลิตให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐาน

3. บันทึก วัน เดือน ปี และวิธีการปฏิบัติงานเพื่อใช้ตรวจสอบ และวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหา

 

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)
P.O.Box 50 Chattuchak, Bangkok 10900, Thailand
Tel: 66-2940-5484 ext. 117
Fax: 66-2561-4667
E-mail address : herbdoa@gmail.com

Category: GAP

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news