banner ad

GAP มะระขี้นก

| December 20, 2013

GAP มะระขี้นก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.

ชื่อสามัญ Balsam Pear, Bitter Cucumber

ชื่อวงศ์ CUCURBITACEAE

ชื่ออื่น ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) มะร้อยรู (ภาคกลาง Peninsular) มะห่อย มะไห่ (ภาคเหนือ) สุพะซู สะพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

 

1. ลักษณะของพืช

เป็นไม้เถา มีมือเกาะใบเดี่ยว รูปร่างคล้ายฝ่ามือ เรียงสลับกัน ขอบใบเว้าลึก 5-7 แฉก กว้างและยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ดอกเดี่ยว ดอกแยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบดอกสีเหลืองรูประฆัง ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ และมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนแดงและผลจะแตกอ้าออก ข้างในจะมีเมล็ดรูปรี หรือรูปขอบขนาน เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด ใบ ลำต้น และผลมีรสขม

 

2. สภาพพื้นที่ปลูก

- สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด

- ชอบดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี

- ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง

- ชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน ความชื้นในดินสูงสม่ำเสมอเพียงพอ

3 พันธุ์

3.1 การคัดเลือกพันธุ์

1. เลือกพันธุ์ที่ติดผลดก ผลมีขนาดสั้นป้อมยาว
ประมาณ 2-3 นิ้ว หัวแหลม ท้ายแหลม

2.เป็นพันธุ์ที่ติดผลจำนวนมาก มีคุณภาพดี เนื้อหนา
ผิวผลขรุขระ สีเขียวเข้ม รสขมจัด

3.เหมาะสมสำหรับบริโภคสด และนำไปแปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

3.2 พันธุ์ที่นิยมปลูกเพื่อผลิตเชิงการค้า : มะระขี้นกพันธุ์พื้นเมือง

 

4. การปลูก

4.1 การเตรียมดิน : ไถดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตรตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด หว่านปูนขาวในอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2 ตันต่อไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกเคล้าในแปลง ยกแปลงสูงประมาณ30 เซนติเมตรกว้าง120 เซนติเมตรรดน้ำและคลุมด้วยพลาสติก เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช

4.2 การเตรียมพันธุ์ : ใช้กล้าที่เพาะจากเมล็ด

การเตรียมต้นกล้า นำเมล็ดมะระขี้นกมาเพาะในกระบะเพาะ หรือถาดหลุมสำหรับเพาะกล้า แต่ก่อนเพาะทำการขลิบขั้วเมล็ดก่อนปลูก ด้วยกรรไกรหรือมีดที่สะอาด ลึกประมาณ 1 มิลลิเมตร แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาดประมาณ 5 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดงอกดีขึ้น ใส่เมล็ดลงปลูกในถาดเพาะที่มีดินผสมสำหรับเพาะกล้า ประกอบด้วย ทราย ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้วและดินละเอียด อย่างละเท่าๆ กัน รดน้ำเช้า เย็น

4.3 วิธีการปลูก : นำกล้ามะระขี้นกระยะมีใบจริง 4 ใบ ซึ่งมีอายุประมาณ 15 วัน นำไปปลูกแบบยกแปลง ยกแปลงสูง 30 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เมตร และยาว 10 เมตร หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ ระยะปลูกระหว่างต้น 50 ?75 เซนติเมตรระหว่างแถว 0.75- 1 เมตร ปลูกหลุมละ 1 ต้น ปักไม้ค้างสูงจากพื้นดิน 2 เมตร ใช้เชือกตาข่ายไนล่อนขึงพาดตามแนวขวาง ให้มะระขี้นกไต่ขึ้นบนค้าง คลุมโคนต้นด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งที่สะอาดให้หนาพอควร รดน้ำให้ชุ่ม เช้าและเย็น

5. การดูแลรักษา

5.1 การให้น้ำ : ควรให้นํ้ามะระขี้นกเช้าและเย็นทุกวัน หรือวันเว้นวัน อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงกับเปียกแฉะ และไม่ควรขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงออกดอกติดผล

5.2 การใส่ปุ๋ย : ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 30 ? 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ช่วงแรกออกดอกและติดผลหลังจากย้ายปลูก 7-10

companies my hair after, http://www.meda-comp.net/fyz/cialis-5.html because put least Customer ingredients.

วัน ใส่

5.3 การกำจัดวัชพืช : ใช้มือถอนเพื่อกำจัดวัชพืช ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงระบบราก

5.4 โรคและแมลงที่สำคัญ : โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคราน้ำค้าง

การป้องกันกำจัด การคลุกเมล็ดด้วยเมทาแลคซิล 7 กรัมต่อเมล็ด1 กิโลกรัมหลังปลูกพ่นด้วยแมนโคเซปอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร

แมลงที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมลงวันทอง

การป้องกันกำจัด พ่นด้วย คาร์บาริล คาร์โบซัลแฟน และแมนโคเซป เป็นต้น

ใช้สารสกัดจากพืช เช่น สารสกัดสะเดา มีฤทธิ์ในการยับยั้งการกินอาหารของแมลง และทำให้แมลงไม่ลอกคราบ เป็นการตัดวงจรชีวิตของแมลง

6. การเก็บเกี่ยว

6.1 ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม : อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน เก็บผลสดที่มีสีเขียวและยังไม่เหลือง

6.2 วิธีการเก็บเกี่ยว : ทยอยเก็บผลผลิตที่ได้ขนาดเหมาะสมทุกวันหรือวันเว้นวัน โดยเก็บผลที่ยังอ่อนอยู่โดยใช้มือเด็ดหรือกรรไกรตัดขั้วผลระวังไม่ให้เถากระทบกระเทือนมาก นำผลมาใส่ภาชนะรองรับ เช่น ตะกร้าที่มีวัสดุรองก้น เช่น ฟองน้ำ หลังจากนั้นนำมาคัดขนาดบรรจุถุง หรือแปรรูปต่อไป

6.3 การเก็บเกี่ยวผลแก่ เพื่อใช้ทำพันธุ์ หรือใช้ทำยาที่ต้องการผลแก่ เก็บหลังจากเลยอายุ 45 วัน และผลเริ่มมีสีเหลือง

 

7. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

7.1 การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว : นำผลสดมาล้างให้สะอาด และทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ ใช้มีดผ่าครึ่งลูก แล้วควักเมล็ดและไส้ออกให้หมอ จึงนำมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ เข้าตู้อบอุณหภูมิประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส ประมาณ 48 ชั่วโมง จนแห้งสนิท มีความชื้นไม่เกินร้อยละ 11

7.2 การเก็บรักษา : หลังจากอบ และทิ้งไว้ให้เย็น เก็บใส่ถุงพลาสติก และมัดปากถุงให้แน่น นำไปเก็บในที่เย็น หรือห้องที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่โดนแสงแดด และระวังการเข้าทำลายของโรคและแมลง

8. สุขลักษณะและความสะอาด

- ควรรักษาแปลงปลูกสมุนไพรให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ

- กำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืชซึ่งอาจติดไปกับผลผลิต

- หลังการตัดแต่ง ควรนำเศษพืชไปทิ้งนอกแปลง หรือทำลายเสีย

- หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เผากำจัดวัสดุเหลือใช้ และกำจัดภาชนะบรรจุให้ถูกวิธี

- เก็บรักษาวัสดุทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำการเกษตรกรรมให้เรียบร้อยปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

 

9. การบันทึกข้อมูล

ในการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมของไพล ควรมีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบวิธีการผลิตได้โดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบคือสารออกฤทธิ์ ดังนั้นการบันทึกข้อมูลจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลิตวัตถุดิบให้ได้สารออกฤทธิ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและหากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเกิดขึ้น จะได้สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงวิธีการผลิตได้ทันทีรายละเอียดที่ควรบันทึกได้แก่

1. บันทึกขั้นตอนการผลิต เช่น รายละเอียดการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะปุ๋ยซึ่งมีผลต่อปริมาณสารสำคัญ และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากมีสารพิษตกค้างจะทำให้คุณภาพของสมุนไพรไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

2. บันทึก วันปลูก วันออกดอก วันเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว วิธีการบรรจุ การขนส่ง และชื่อผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบสมุนไพร เช่น ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา/อายุ ที่ไม่เหมาะสมจะมีผลทำให้คุณภาพต่ำ ข้อมูลที่บันทึกไว้จะสามารถนำมาใช้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการผลิตให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐาน

3. บันทึก วัน เดือน ปี และวิธีการปฏิบัติงานเพื่อใช้ตรวจสอบ และวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหา

 

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)
P.O.Box 50 Chattuchak, Bangkok 10900, Thailand
Tel: 66-2940-5484 ext. 117
Fax: 66-2561-4667
E-mail address : herbdoa@gmail.com

Category: GAP

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news