GAP จันทน์แปดกลีบ
GAP จันทน์แปดกลีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ilicium verum Hook.f.
ชื่อสามัญ Chinese Star Anise
ชื่อวงศ์ ILLICIACEAE
ชื่ออื่น โป๊ยกั๊ก
1.ลักษณะของพืช
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10-15 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ซม. ลำต้น ตั้งตรง เปลือกไม้สีขาวเทา หยาบเล็กน้อย ต้นแก่จะมีสีเทา รอยแตกไม่เป็นระเบียบ ใบ เดี่ยวหรือออกเป็นกลุ่ม 3-6 ใบ ยาว 5.5-10.5 ซม. กว้างประมาณ 1.6-4.5 ซม.เป็นวงรีรูปไข่คว่ำ หน้าใบสีเขียวเข้ม ผิวลื่นเป็นมันไม่มีขน หลังใบสีเขียวอ่อน มีขนนุ่มๆอยู่เบาบาง ดอก ออกที่ง่ามใบ ก้านดอกยาว 1.5-3 ซม. มีกลีบหุ้มดอก 8-12 กลีบ สีแดงอ่อนหรือสีแดงเข้ม เรียงซ้อนกัน 2-3 วง เป็นดอกผสม มีเกสรเพศผู้ 15-19 อัน เกสรตัวเมีย 8 อัน โตแยกกัน เรียงตัดกันที่จุดเดียว ผลม แยกเป็นแปดกลีบ เมื่อสดมีสีเขียว เมื่อนำไปตากแห้งแล้วมีสีน้ำตาลแดง เส้นผ่าศูนย์กลางผลยาว 3.5 ซม. เมื่อสุกแล้วจะแตกออก เมล็ด มีลักษณะกลมรี มีความเงามันสีน้ำตาล
2. สภาพพื้นที่ปลูก
จันทน์แปดกลีบต้องการดินที่ร่วนซุย และมีปริมาณน้ำที่เพียงพอ ดินที่มีปริมาณฮิวมัสที่เป็นกรด ผิวดินที่บาง หรือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การเจริญเติบโตของจันทน์แปดกลีบจะไม่ดีเท่าที่ควร ผลิตดอกออกผลน้อย ปริมาณและคุณภาพต่ำ
สภาพภูมิอากาศ จันทน์แปดกลีบเป็นพืชเมืองร้อน เป็นต้นไม้ที่ใช้เป็นยาแถบตอนเอเชียใต้ที่มีอากาศร้อน บริเวณที่ราบสูงทางใต้ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 19-23 องศาเซลเซียส จันทน์แปดกลีบชอบอากาศร้อนชื้น โดยทั่วไปในพื้นที่เพาะปลูก ในแต่ละปีจะมีปริมาณน้ำฝน 1,300 มิลลิเมตรขึ้นไป และมีความชื้นสัมพันธ์ 78% ขึ้นไป แม้ว่าปริมาณน้ำฝน ไม่เพียงพอ แต่บริเวณภูเขาที่ปลูกมีต้นไม้หลากพันธุขึ้นหนาทึบ มีอากาศมืดครึ้ม มีเมฆมาก แสงแดดส่องเป็นระยะสั้นๆ ปริมาณน้ำในดินและความชื่อในอากาศสูง ก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของจันทน์แปดกลีบ
ต้นอ่อนของจันทน์แปดกลีบต้องการร่มเงาจึงจะเจริญเติบโตได้ดี การได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่จะทำให้ใบเหี่ยวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนอาจแห้งตายในที่สุด แต่ว่าต้นที่เจริญเติบโตแล้ว กลับต้องการแสงแดดที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่จะผลิตดอกออกผล ต้องการแสงแดดค่อนข้างมากเพื่อทำให้ผลิตดอกออกเป็นผลได้ดี
3. พันธุ์
3.1 การเลือกพันธุ์ : คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่โตเต็มที่ มีความอุดมสมบูรณ์สูง ไม่มีโรคหรือหนอนกัดทำลาย เลือกเก็บที่กลีบผลยังไม่แตกออก ผิวของเมล็ดจะมันเงา และมีความงอกดี
3.2 พันธุ์ที่นิยมปลูก : พันธุ์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
4. การปลูก
4.1 การเตรียมดิน : ไถพรวน กำจัดวัชพืช เก็บกรวดหินออก ให้พรวนดินและทำให้ผิวเสมอกัน ใส่ปุ๋ยเพื่อให้ดินมีความอุดมสมบรูณ์ ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่
4.2 การเตรียมพันธุ์ : ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพาะในถุงเพาะชำ ให้ได้ต้นกล้าอายุ ประมาณ 3 ปี
1. การเพาะกล้า ยกแปลงสูง 20 เซนติเมตรกว้าง 1-1.2 เมตร ความยาวตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างระหว่างแปลง30 เซนติเมตรรอบๆ แปลงเพาะให้มีที่ระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมขัง ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเพาะคือ เดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม
2. การโรยเมล็ด ให้โรยเป็นแถวๆ ห่างกัน 15-20 เซนติเมตรฝังเมล็ดลึกลงไปประมาณ4 เซนติเมตรแต่ละเมล็ดห่างกันประมาณ 3-4 เซนติเมตรกลบเมล็ดด้วยดินผสมแกลบดำ หนาประมาณ3 เซนติเมตรและคลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางข้าว เพื่อเก็บกักความชื้น
4.3 การปลูก : สามารถทำได้3 วิธี ดังนี้
1 เลือกและปรับปรุงดิน การจะปลูกป่าจันทร์แปดกลีบนั้น ให้เลือกดินที่มีชั้นดินหนา ดินร่วนซุย มีความชื้นมาก ดินที่มีปริมาณฮิวมัสที่เป็นกรด บริเวณที่เหมาะต่อการเพาะปลูก เช่น ที่ราบเนินเขาฝั่งตะวันออก ที่ราบเนินเขาต่ำบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณภูเขาลูกเล็กๆ กลางป่า หรือว่าบริเวณชายเขา บริเวณเนินเขาภาคตะวันตกและภาคตะวันตกเฉียงใต้ แสงแดดค่อนข้างแรง อีกทั้งผิวดินที่ความแห้งแล้งมากไม่เหมาะกับการเพาะปลูก
2 การปรับปรุงที่ดินขึ้นอยู่กับสภาพความลาดเอียงของเนินดินนั้นๆ หากลาดเอียงไม่เกิน 15 องศา สามารถนำมาใช้เพาะปลูกได้ทั้งหมด เนินเขาที่ลาดเอียงตั้งแต่ 15-25 องศา ให้ปลูกเป็นแปลงยาวคล้ายริบบิ้น หากพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 25 องศา ให้ปลูกเป็นแปลงเล็กๆหรือว่าขุดคันร่องให้ลึกเป็นแนวโดยตลอด การปรังปรุงดินและขุดหลุมควรทำก่อนปลูกป่า 6 เดือน ปลูกเพื่อเก็บลูก หลุมขนาด 50×50 เซนติเมตร ลึก40 เซนติเมตรแต่ละต้นห่างกัน 5×5 เมตร เมื่อขุดหลุมแล้วให้กลับหน้าดินด้วย เพื่อเก็บกักน้ำไว้ในดินและช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตเป็นป่าได้มากขึ้น
3 การลงต้นปลูกเป็นป่า ฤดูการปลูกป่า โดยปกติเริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่หน่ออ่อนเริ่มแตก ป่าที่ปลูกเพื่อเอาผล ใช้ต้นอ่อนที่มีอายุ 2 ปี จะเหมาะสมกว่า ส่วนป่าที่ปลูกเพื่อใช้ใบ ใช้ต้นอ่อนอายุ 3 ปีจะสะดวกกว่า ก่อนนำต้นอ่อนลงปลูก ควรตัดกิ่งก้านและใบทั้งหมดออกประมาณ 3 .ใน 4 ของต้น เพื่อให้สะดวกต่อการปลูก การปลูกป่าจันทน์แปดกลีบที่มีพื้นที่มาก ภาระจะหนัก เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตมีมาก ก่อนปลูกป่าประมาณ 1-2 สัปดาห์ สำหรับป่าที่ปลูกเพื่อเก็บผล เลือกต้นอ่อนที่ลำต้นสูง10 เซนติเมตรสำหรับต้นอ่อนที่จะปลูกไว้เก็บใบ ให้เลือกต้นที่สูง130 เซนติเมตรตัดใบออกให้หมด นำโคลนพอกไว้ที่รากและเลือกปลูกในวันที่มีฝน
5. การดูแลรักษา
5.1 การให้น้ำ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเข้าฤดูฝนควรดูจากความชื้นของดิน หากดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้น้ำก็ได้
5.2 การใส่ปุ๋ย ช่วงแรกให้ปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลักเพื่อเร่งราก ช่วงหลังให้ปุ๋ยฟอสฟอรัสและโปรแตสเซียมเป็นหลักเพื่อให้ต้นอ่อนโตอย่างแข็งแรง
5.3 การกำจัดวัชพืช ขณะที่ต้นอ่อนสูง 3-4 เซนติเมตร ก็ให้กำจัดหญ้าที่อยู่รอบๆ โดยการใช้มือถอน หรือเสียบแซะออก
5.4 โรคและแมลง
โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคเชื้อรา ป้องกันกำจัดโดยเลือกสถานที่เพาะต้นอ่อนและพื้นที่ปลูกป่าที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก การระบายน้ำดี ฤดูฝนต้องทำรางระบายน้ำ อย่างทันเวลา เมล็ดพันธุ์ต้องอบฆ่าเชื้อ เมื่อเกิดอาการแล้วให้ใช้Bordeauxmixture ในอัตราส่วน 1:1:200 รักษา
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญ คือ หนอนดอกไม้ทอง ผีเสื้อจันทน์แปดกลีบ ตัวอ่อนแมลง
การป้องกันกำจัด ให้ใช้ triphorfon 90% ผสมน้ำละลาย 500-800 เท่า นำไปฉีดพ่น Dichlorvos concentrates 80% ผสมน้ำละลาย 800-1,000 เท่า หรือMarathon80% ใช้แรงงานคนเก็บและทำลาย หนอนดอกไม้ทองสามารถใช้ผงฆ่าแมลงสีขาวก็ได้
6. การเก็บเกี่ยว
6.1 ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม : เก็บเกี่ยวช่วงฤดูใบไม้ร่วง
6.2 วิธีการเก็บเกี่ยว : ให้ใช้แรงงานคนขึ้นไปเก็บลูกที่สุกลงมา ปล่อยลูกอ่อนและดอกที่บานไว้ และยังเป็นการรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตในปีถัดๆ ไป ลูกที่ออกช่วงฤดูใบไม้ผลิ จะให้ปริมาณน้อย จะสุกงอมในเดือนเมษายน ไม่คุ้มค่ากับการเก็บเกี่ยว ปล่อยให้ลูกแก่จัดและร่วงตกจึงเก็บไปขายดีกว่า
7. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษา
7.1 การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว : เก็บใบเพื่อมาทำน้ำมันหอมระเหย เก็บจากต้นที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป หลังฤดูใบไม้ร่วง ควรกลั่นจากแหล่งเก็บ จะได้น้ำมันมากที่สุด
7.2 การเก็บรักษา : หลังจากเก็บผลมาแล้วให้นำมาต้มในน้ำเดือด 5-10 นาที ในขณะที่ต้มและคนอยู่นั้น ให้ช้อนขึ้นมาตากผึ่งแดดไว้หรือใช้ถ่านอบให้แห้ง จันทน์แปดกลีบที่ใช้วิธีอบแห้งนั้นจะมีกลิ่นหอมฉุน คุณภาพดีมาก ขั้นตอนการทำน้ำมันหอมระเหยนั้น ปกติใบสด 100 กิโลกรัม ทำน้ำมันระเหยได้ 0.7-0.9
8. สุขลักษณะและความสะอาด
- ควรรักษาแปลงปลูกสมุนไพรให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ
- กำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืชซึ่งอาจติดไปกับผลผลิต
- หลังการตัดแต่ง ควรนำเศษพืชไปทิ้งนอกแปลง หรือทำลายเสีย
- หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เผากำจัดวัสดุเหลือใช้ และกำจัดภาชนะบรรจุให้ถูกวิธี
- เก็บรักษาวัสดุทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำการเกษตรกรรมให้เรียบร้อยปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
9. การบันทึกข้อมูล
ในการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมของจันทน์ปดกลีบ ควรมีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบวิธีการผลิตได้โดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบคือสารออกฤทธิ์ ดังนั้นการบันทึกข้อมูลจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลิตวัตถุดิบให้ได้สารออกฤทธิ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและหากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเกิดขึ้น จะได้สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงวิธีการผลิตได้ทันทีรายละเอียดที่ควรบันทึกได้แก่
1. บันทึกขั้นตอนการผลิต เช่น รายละเอียดการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะปุ๋ยซึ่งมีผลต่อปริมาณสารสำคัญ และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากมีสารพิษตกค้างจะทำให้คุณภาพของสมุนไพรไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
2. บันทึก วันปลูก วันออกดอก วันเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว วิธีการบรรจุ การขนส่ง และชื่อผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบสมุนไพร เช่น ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา/อายุ ที่ไม่เหมาะสมจะมีผลทำให้คุณภาพต่ำ ข้อมูลที่บันทึกไว้จะสามารถนำมาใช้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการผลิตให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐาน
3. บันทึก วัน เดือน ปี และวิธีการปฏิบัติงานเพื่อใช้ตรวจสอบ และวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหา
Category: GAP