GAP กระชายดำ
GAP กระชายดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora Wall. ex Baker
ชื่อสามัญ Belamcanda chimensis
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่อสามัญ กระชายดำ, ว่านกระชายดำ, กระชายม่วง, ว่านเพชรดำ
1. ลักษณะของพืช
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตรเหง้าใต้ดินเป็นอ้วนป้อมและแตกแขนงเป็นหัวด้านข้างค่อนข้างถี่เจริญเติบโตต่อเนื่องกัน เนื้อใบมีสีม่วงเข้มเกือบดำใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียว มีน้ำมันหอมระเหย กาบใบสั้นอวบหนา 2 อัน ขนาด 2?3 เซนติเมตร สีแดงเรื่ออัดกันไม่แน่น แผ่นใบรูปไข่กลับหรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 7-12 เซนติเมตรยาว 7-20 เซนติเมตรปลายใบติ่งแหลม ฐานใบสองข้างไม่เท่ากันค่อนข้างตัด ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีข้าว เข้มเป็นมัน ด้านล่างสีเขียวอมเทามีขนกลุ่มระหว่างกาบใบและแผ่นใบมีก้านใบเทียม ยาว 5-8 เซนติเมตร. ลิ้มใบรูปสามเหลี่ยมยาว4 มิลลิเมตร
ช่อดอกเป็นเชิงลดเกิดที่ปลายยอดลำต้นเทียม ใบประดับช่อดอกเป็นกาบหุ้มโดนก้านช่อดอก กว้าง1.2 เซนติเมตร. ยาว 1.8-2.3 เซนติเมตรใบประดับดอกรูปแถบกว้าง 1-2 มิลลิเมตรยาว 0.6-1.2 เซนติเมตรดอกสมบูรณ์เพศ สมมาตรด้านข้างกลีบเกลี้ยงยาว4 เซนติเมตรแฉกกลีบรูปแถบยาว 1.2-1.4 เซนติเมตรกลีบของดอกที่มีขนาดใหญ่ด้านล่างเป็นกลีบข้าง 2 กลีบ มีขนาดเล็กกว่ากลีบปาก สีขาว เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 1 อัน อับเรณูมีติ่งด้านบนรูปสามเหลี่ยมกลีบยาว1 มิลลิเมตรขาวใสอับเรณูสีเหลืองยาว2 มิลลิเมตรก้านชูอับเรณูสั้นมาก เกสรเพศเมียประกอบมี 3 คาร์เพล เชื่อมกันมีออวุลจำนวนมากติดที่แกนรังไข่ร่วม
2. สภาพพื้นที่ปลูก
- เป็นพืชพื้นเมืองเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- พบบริเวณในป่าภูเขาของประเทศไทย ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 630 เมตร หรือมากกว่า
- ชอบดินปนทราย อากาศร้อน หรือเป็นป่าฝนชื้น
- มีแสงแดดรำไร
- แหล่งปลูกที่สำคัญ เขตอำเภอนาแห้ว อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
3. พันธุ์
3.1 การเลือกพันธุ์ : เลือกหัวพันธุ์ที่สมบูรณ์ และปราศจากโรคและแมลง
3.2 พันธุ์ที่นิยมปลูก : พันธุ์ใบเขียว และพันธุ์ใบแดง
4. การปลูก
4.1 การเตรียมดิน : ควรไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูก ระหว่างต้นประมาณ 25-30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200-400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 ซม. ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160-200 กก.
4.2 การเตรียมพันธุ์ : หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้หักออกมาเป็นแง่งๆ แง่งเล็กใช้ได้ 2-3 แง่ง แง่งใหญ่ที่สมบูรณ์ใช้เพียงแง่งเดียว เพราะเมื่อกระชายดำโตขึ้นจะแตกหน่อ เกิดหัวกระชายดำหัวใหม่ขึ้นมาแทน และจะขยายหัวและหน่อออกไปเรื่อยๆ จำนวนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา ส่วนหัวหรือแง่งที่ใช้ปลูกในตอนแรกจะเหี่ยวและแห้งไปในที่สุด ก่อนนำไปปลูก ควรทารอยแผลของแง่งที่ถูกหักออกมาด้วยปูนกินหมาก หรือจะจุ่มในน้ำยากันเชื้อราก็ได้ แล้วผึ่งในที่ร่มจนหมาดหรือแห้งแล้วจึงนำไปปลูก
4.3 วิธีการปลูก : สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
- การปลูกในกระถาง ควรใช้กระถางที่มีขนาดกลาง-ใหญ่ ใส่วัสดุปลูกให้มากๆ ประมาณ 3ใน 4 ส่วนของกระถาง (ปุ๋ยคอก 1 ส่วน/ดิน 2 ส่วน) จะทำให้ได้หัวที่มีคุณภาพและมีปริมาณหัวต่อต้นมาก การปลูกในกระถางควรใช้หัวหรือเหง้า ประมาณ 3-5 หัว (แง่ง)
- การปลูกลงแปลง โดยยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10-15 ซม. แล้วนำหัวพันธุ์ลงปลูกประมาณ 2-3 หัว ให้มีระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 x 30 ซม. กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม
5. การดูแลรักษา
5.1 การให้น้ำ เมื่อปลูกกระชายดำแล้วฝนไม่ตก หรือดินแห้งเกินไปให้รดน้ำพอชุ่ม แต่ไม่แฉะ อย่าให้น้ำขัง
5.2 การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกมูลไก่ผสมแกลบรองพื้น หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นพร้อมกับการกำจัดวัชพืชและพรวนดิน เมื่อมีใบ 2-3 ใบ และให้อีกครั้งเมื่อกระชายดำเริ่มออกดอก ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีกับกระชายดำโดยเด็ดขาด
5.3 การกำจัดวัชพืช วัชพืชในไร่กระชายดำไม่ค่อยมีปัญหามากนัก เนื่องจากระชายดำมีระยะปลูกถี่ ใบสามารถคลุมดินป้องกันการงอกของเมล็ดวัชพืชได้ดี ในการกำจัดวัชพืชควรกำจัดเมื่อกระชายดำมีใบประมาณ 2-3 ใบ และกำจัดอีกครั้ง เมื่อกระชายดำเริ่มออกดอก ควรกำจัดวัชพืชพร้อมกับการพรวนดินไปด้วย
5.4 โรคและแมลง
โรคที่สำคัญของกระชายดำ คือ โรคเหี่ยวหรือโรคหัวเน่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum จะทำให้ต้นมีอาการใบเหลือง ต้นเหี่ยว และหัวเน่าในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปลอดจากโรค
- ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม และพืชหมุนเวียนทุกๆ ปี ด้วยพืชตระกูลถั่ว
Indulgence made rubbing http://www.meda-comp.net/fyz/viagra-for-sale-on-ebay.html getting Just least view website sink purchase hopes balance.
หรือพืชหมุนเวียนอื่นที่สามารถทำลายเชื้อสาเหตุโรคในดิน
- แหล่งที่มีการระบาดของโรคให้อบดินฆ่าเชื้อในดิน โดยใช้ยูเรีย และปูนขาว อัตรา 80:100 กก/ไร่ โรยและคลุกเคล้าดินในแปลงปลูก แล้วใช้พลาสติกสีดำคลุมแปลงอบดินไว้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ก่อนปลูก
แมลงศัตรูที่สำคัญ คือ หนอนเจาะลำต้น
การป้องกันกำจัด
เก็บส่วนที่ถูกทำลาย เผาทิ้งภายนอกแปลง
6. การเก็บเกี่ยว
6.1 ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม : เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ
8-12 เดือน ประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น
6.2 วิธีการเก็บเกี่ยว : ใช้จอบหรือเสียม ขุดหัวกระชายดำขึ้นมาแล้วเคาะดินให้หลุดออกจากหัว จากนั้นตัดราก และนำไปล้างน้ำสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง
7. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและเก็บรักษา
7.1 การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว : นำเหง้ากระชายดำมาล้างให้สะอาด และผึ่งให้แห้ง นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ไวน์กระชายดำ ส่วนการทำให้แห้ง โดยการหั่นให้เป็นชิ้นบางๆ แล้วจึงนำไปตากหรืออบให้แห้ง ด้วยอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ความชื้นไม่เกินร้อยละ 11
7.2 การเก็บรักษา นำกระชายดำที่อบแห้งสนิทบรรจุถุงพลาสติกใส 2 ชั้นปิดปากให้สนิท เขียนฉลากปิดถุงให้เรียบร้อย นำเข้าจัดเก็บในห้องที่สะอาด เย็นไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทดี ป้องกันแสงแดด ระวังไม่ให้มีเชื้อราหรือแมลงเข้าไปทำลาย ทำให้คุณภาพลดลง กระชายดำแห้งที่จัดเก็บไว้อายุเกิน 3 เดือนควรจะมีการนำมาอบใหม่อีกครั้งเพื่อไม่ให้มีความชื้น และมีแมลงรบกวน
8. สุขลักษณะและความสะอาด
- ควรรักษาแปลงปลูกสมุนไพรให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ
- กำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แข่งขันกับพืชหลัก หรือเป็นแหล่งเพาะศัตรูพืชซึ่งอาจติดไปกับผลผลิต
- หลังการตัดแต่ง ควรนำเศษพืชไปทิ้งนอกแปลง หรือทำลายเสีย
- หลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เผากำจัดวัสดุเหลือใช้ และกำจัดภาชนะบรรจุให้ถูกวิธี
- เก็บรักษาวัสดุทางการเกษตร เช่น ปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการทำการเกษตรกรรมให้เรียบร้อยปลอดภัย อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
9. การบันทึกข้อมูล
ในการผลิตเกษตรดีที่เหมาะสมของกระชายดำ ควรมีการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติในขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ เพื่อสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบวิธีการผลิตได้โดยเฉพาะการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบคือสารออกฤทธิ์ ดังนั้นการบันทึกข้อมูลจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลิตวัตถุดิบให้ได้สารออกฤทธิ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและหากมีข้อผิดพลาดหรือบกพร่องเกิดขึ้น จะได้สามารถแก้ไขหรือปรับปรุงวิธีการผลิตได้ทันทีรายละเอียดที่ควรบันทึกได้แก่
1. บันทึกขั้นตอนการผลิต เช่น รายละเอียดการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะปุ๋ยซึ่งมีผลต่อปริมาณสารสำคัญ และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากมีสารพิษตกค้างจะทำให้คุณภาพของสมุนไพรไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
2. บันทึก วันปลูก วันออกดอก วันเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว วิธีการบรรจุ การขนส่ง และชื่อผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เพื่อใช้ตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบสมุนไพร เช่น ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงเวลา/อายุ ที่ไม่เหมาะสมจะมีผลทำให้คุณภาพต่ำ ข้อมูลที่บันทึกไว้จะสามารถนำมาใช้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการผลิตให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพดีตามมาตรฐาน
3. บันทึก วัน เดือน ปี และวิธีการปฏิบัติงานเพื่อใช้ตรวจสอบ และวางแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหา
Category: GAP