banner ad

กวางตุ้ง

| October 17, 2013

กวางตุ้ง

ชื่ออื่นๆ :Pak choi cabage, Pe-Tsaicabbage

ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ชื่อสามัญ : Chinese cabbage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica chinensis L.

 

 

1.พันธุ์ กวางตุ้งมี 2 ประเภท พันธุ์ผักกาดขาวกวางตุ้ง ผักกาดเขียวกวางตุ้ง พันธุ์ที่นิยมปลูกจึงเป็นพันธุ์ลูกผสมต่างๆ ของบริษัทที่ผลิตออกมาเป็นพันธุ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ฉะนั้นเกษตรกรควรเลือกปลูกตามที่ตลาดต้องการ

การเพาะกล้า
เพาะกล้าลงในถุงพลาสติก ขนาด 3×4 นิ้ว ใส่วัสดุดินผสม มีดิน ปุ๋ยหมัก แกลบดิบ ขี้เถ้าแกลบ
อัตราส่วน 2:1:1:1 หยอดเมล็ดลงถุงๆละ 3-4 เมล็ด
-  อายุ 10 วัน ทำการแยกถอน เหลือถุงละ 2 ต้น
-  การปฏิบัติดูแลรักษา รดน้ำเช้าเย็น บังร่มด้วยตาข่ายพรางแสงชนิด 50% พ่นสารกำจัดแมลงตามความจำเป็น
-  ต้นกล้าอายุ 20 วัน ทำการย้ายปลูกในแปลง

2. การเตรียมดิน ผักกวางตุ้งก่อนปลูกต้องมีการเตรียมดินเหมือนกับพืชตระกูลกะหล่ำทั่วๆ ไป คือ ไถดิน ตากแดด 7-10 วัน พรวนดิน  โรยปูนขาว อัตรา 50 กก./ไร่ พรวนดินให้ละเอียด ยกแปลงขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 10 เมตร ระยะระหว่างแปลง 50 ซม. ใส่ปุ๋ยคอก (มูลไก่) อัตรา 1600 กก./ไร่ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กก./ไร่

3. วิธีการปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว รดน้ำให้ชุ่ม และพ่นสารคุมวัชพืชด้วย อะลาคลอร์ หรือเพนดิเมทาริน ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วหว่านเมล็ดบางๆ หรือปัจจุบันใช้เครื่องหว่านเมล็ดแล้วเราสามารถกำหนดได้จะให้ถี่หรือห่างเท่าไรก็ได้ หรือระยะปลูก ระหว่างต้น 50 ซม. ระหว่างแถว 70 ซม. ขุดหลุมรดน้ำให้ชุ่ม เสร็จแล้วจึงทำการย้ายปลูกและรดน้ำซ้ำอีกครั้งหนึ่ง คุมด้วยฟางข้าวบางๆ

4. การให้น้ำ โดยระบบสปริงเกอร์ หรือใช้เรือรดน้ำแบบร่องสวน ระยะแรกควรรดน้ำเช้า-เย็น พองอกแล้ววันละ 1 ครั้ง จากนั้นพิจารณารดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

5. การใส่ปุ๋ยหลังปลูก 15-20 วัน ใส่ปุ๋ยยูเรียอัตรา 30 กก./ไร่ โดยละลายน้ำรดป้องกันกำจัดโรคแมลง พ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูที่สำคัญตามความจำเป็น เช่น กำจัดหมัดกระโดด โดยฉีดพ่นสารคาร์บาริน ถ้าพบหนอนฉีดพ่นด้วย สารคาร์โบซัลแฟน ถ้ามีโรคใบจุดฉีดพ่นด้วยรอฟรัล เป็นต้น ทำรั้วรอบแปลงเมื่อผักกาดออกดอก เพื่อกันต้นล้ม หรือจะปักเฉพาะต้นก็ได้ การคัดพันธุ์ที่ปนปลอมไม่ตรงตามพันธุ์ออก โดยสังเกตจากลักษณะทรงต้น สีใบ สีดอก การออกดอกเร็ว ช้า ที่ผิดไปจากลักษณะประจำพันธุ์ทิ้งทันทีที่เห็นผิดปกติ ช่วงที่สำคัญดังนี้ ช่วงต้นกล้า ช่วงเจริญเติบโต และช่วงออกดอก การเว้นระยะห่างจากแปลงข้างเคียง ที่เป็นพืชตระกูลใกล้เคียงอย่างน้อยประมาณ 3 กิโลเมตร

6. การเก็บเกี่ยว อายุกวางตุ้งที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 40-45 วัน ก็ทำการตัดโคนต้นแต่งใบที่เสียออก มัด บรรจุถุง หรือเข่ง ส่งตลาด

- การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ : ผักกาดเขียวกวางตุ้งเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 3 เดือน สังเกตจากลักษณะฝัก ส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลและแข็ง เมื่อฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ตัดก้านดอกของผักกาดเขียวกวางตุ้ง นำไปตากแดดประมาณ 3 แดด จนแห้งสนิท ทำการนวดเมล็ดและฝักแยกเปลือกหุ้มเมล็ดออกจนหมด

6. โรค ที่สำคัญคือ โรคราน้ำค้าง ใบจุด ใบไหม้ โรคเน่า พิจารณาพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไดเมทโธ ม็อบ แมนโคเซป และโพรพิเนป โดยพ่นตามการระบาดของโรค

7. แมลงศัตรู ที่สำคัญคือ ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะยอด ควรพ่นด้วย ไดโครโทฟอส โปฟีโนฟอส อะบาเม็กติน และคลอร์ฟีนาเพอร์ ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลงศัตรู ด้วงหมัดผัก พ่น profenofos อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือพ่น dinotefuran+etofenprox อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

8. การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
8.1  ตากเมล็ดพันธุ์จนเหลือความชื้น 10% จากนั้นก็คลุกยาป้องกันแมลง โดยใช้ยา Posse อัตรา 20 กรัม/ไร่ แล้วบรรจุเมล็ดไว้ในถุงผ้า หรือถุงพลาสติก
8.2  เก็บไว้ที่ร่ม หรือห้องเย็น ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ย 8 องศาเซลเซียส

Category: พืชผัก, พืชผัก ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news