กระเทียม
กระเทียม
ชื่ออื่นๆ : หอมเทียม กระเทียมขาว หอมขาวหัวเทียม กระเทียมจีน
ชื่อวงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Garlic
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
กระเทียมมีการเพาะปลูกมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่เป็นดินร่วน หรือระบายน้ำได้ดี และมีอุณหภูมิอากาศค่อนข้างหนาวเย็นหลายเดือน โดยจะปลูกในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน เป็นพืชล้มลุก สูง 30-60 ซม. มีกลิ่นแรง มีหัวใต้ดินแบบ Tunic bulb ลักษณะกลมแป้น 3-4 ชั้น ซึ่งลอกออกได้แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ กลีบเกิดจากตาซอกใบของใบอ่อน ลำต้นลดรูปลงไปมาก ใบเดี่ยว (Simple leaf) ขึ้นจากดินเรียงซ้อนสลับแบนเป็นแถบแคบ กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลมแบบ Acute ขอบเรียบและพับทบเป็นสันตลอดความยาวของใบ โคนแผ่เป็นแผ่นและเชื่อมติดกันเป็นวงหุ้มรอบใบที่อ่อนกว่าและก้านช่อดอกทำให้เกิดเป็นลำต้นเทียม ปลายใบสีเขียวและสีจะค่อยๆ จางลงจนกระทั่งถึงโคนใบ ส่วนที่หุ้มหัวอยู่มีสีขาวหรือขาวอมเขียว ช่อดอกแบบช่อซี่ร่ม (Umbel) ประกอบด้วยตะเกียงรูปไข่เล็กๆ จำนวนมากอยู่ปะปนกับดอกขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนน้อย มีใบประดับใหญ่ 1 ใบ ยาว 7.5-10 ซม. ลักษณะบาง ใส แห้ง เป็นจะงอยแหลมหุ้มช่อดอกขณะที่ยังตูมอยู่ แต่เมื่อช่อดอกบานใบประดับจะเปิดอ้าออกและห้อยลงรองรับช่อดอกไว้ ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด เรียบ รูปทรงกระบอกตัน ยาว 40-60 ซม. ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรวม 6 กลีบ แยกจากกันหรือติดกันที่โคน รูปใบหอกปลายแหลม ยาวประมาณ 4 มม. สีขาวหรือขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 6 อัน ติดที่โคนกลีบรวม อับเรณูและก้านเกสรเพศเมียยื่นขึ้นมาสูงกว่าส่วนอื่นๆ ของดอก รังไข่ 3 ช่อง แต่ละช่องมี ออวุล 1-2 เม็ด ผลเล็กเป็นกระเปาะสั้นๆ รูปไข่หรือค่อนข้างกลม มี 3 พู เมล็ดเล็ก สีดำ
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกระเทียมเป็นพืชล้มลุกสูง 30-60 เซนติเมตร เนื้ออ่อน ขนาดเล็ก อายุปลูกถึงเก็บเกี่ยว 70-150 วัน เจริญเติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น ช่วงแสงแดดยาว 9-11 ชั่วโมงต่อวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 12-18 องศาเซลเชียส เส้นผ่าศูนย์กลางกระเทียมไทย 2-4 เซนติเมตร มีแผ่นเยื่อขาวหรือสีม่วงอมชมพูหุ้ม 3-4 ชั้น ลอกออกได้แต่ละหัวมี 6-10 กลีบ พันธุ์กระเทียม ที่นิยมปลูกทั่วไปได้พันธุ์ศรีสะเกษ เป็นกระเทียมอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 75 วัน พันธุ์เชียงใหม่ เป็นกระเทียมที่อยู่กลางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 100 วันขึ้นไป หรือประมาณ 100-120 วัน ส่วนพันธุ์จีนมีการปลูกบ้างเพียงเล็กน้อยเนื่องจากว่า กระเทียมพันธุ์จีนอายุการเก็บเกี่ยวนานตั้งแต่ 150 วัน และผลผลิตที่เก็บมาได้อายุการเก็บรักษามีน้อยกว่าพันธุ์พื้นเมืองหรือฝ่อเร็ว
1.พันธุ์ เกษตรกรจะมีการเก็บขยายพันธุ์กันมานาน เช่นพันธุ์ของจังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดศรีสะเกษ เเละแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ ดังนี้
1.1 พันธุ์เบา หรือพันธุ์ขาวเมือง ลักษณะใบแคบ ลำต้นแข็ง กลีบและหัวขาว กลีบเท่าหัวแม่มือ กลิ่นฉุนและรสจัด อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน
1.2 พันธุ์กลาง ลักษณะใบเล็กและยาว ลำต้นใหญ่และแข็ง หัวขนาดกลาง หัวและกลีบสีม่วงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90-120 วัน ปริมาณ 15-20 หัวต่อ 1 กิโลกรัมนิยมปลูกในภาคเหนือ
1.3 พันธุ์หนัก บางทีเรียกพันธุ์จีนลักษณะใบกว้างและยาว ลำต้นเล็กหัวใหญ่ กลีบโต เปลือกหุ้มสีชมพูอายูเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน ปริมาณหัว 15-20 หัวต่อ 1 กิโลกรัม
2. การเตรียมดิน ไถดินตากประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าหรือพรวนดินให้เข้ากันพร้อมยกร่องแบบปลูกผักปรับหน้าดินให้เรียบใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อรองพื้นรดนํ้าให้ชื้นพร้อมปลูก
3. การเตรียมพันธุ์ ใช้กลีบหรือโคลฟ (clove) ของกระเทียมโดยแกะออกจากหัวแยกเป็นกลีบๆคัดเลือกเฉพาะกลีบที่ใหญ่และสมบูรณ์ดีใช้พันธุ์ประมาณ 80-100 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่
4. การปลูก ควรรดนํ้าให้ชื้นก่อนแล้วดำกลีบกระเทียมลงในแปลงโดยดำกลีบลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบลงในดินให้เป็นแถวเป็นแนวตามระยะปลูก คือระหว่างต้น10 เซนติเมตรและระยะระหว่างแถว 10-15 เซนติเมตรคลุมด้วยฟางข้าวรดนํ้าให้ชุ่ม
5. การให้นํ้า กระเทียมควรให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอและเพียงพอในช่วงระยะของการเจริญเติบโตและควรงดการให้นํ้าเมื่อหัวเริ่มแก่
6. การใส่ปุ๋ย ครั้งแรกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่เป็นการรองพื้น ครั้งที่สองเมื่ออายุประมาณ 10-14 วันควรใส่ปุ๋เคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบรณ์ของดินครั้งที่สามอายุประมาณ 30 วันหลังปลูกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่
7. การเก็บเกี่ยว เมื่อได้อายุการเก็บเกี่ยวตามพันธุ์หนักพันธุ์เบาแล้วเลือกเก็บหัวที่แก่จัดสังเกตุที่คอกระเทียม ( ระหว่างต้นกับหัว ) เหี่ยวและต้นพับลงมาใช้มือถอนทั้งต้นและหัวที่แก่จัดมัดแขวนหรือผึ่งลมในร่มกันฝนกันแดดได้ให้หมาดๆหรือเกือบแห้งแล้วมัดเป็นจุกๆรอการจำหน่ายต่อไป
8. โรค ได้แก่โรคเน่า โรคใบใหม้ โรคใบจุด โรคแอนแทรคโนส และโรครานํ้าค้างป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น เมทาแลคซิล โปรคลอราช สกอร์ แมนโคเซป ตัวใดตัวหนึ่งตามอาการของโรค
9. แมลง ได้แก่ เพลี้ยไฟ หนอนกระทู้หอม ป้องกันกำจัดโดยการฉีดพ่น อะบาเม็กติน อาทาบรอน หรือไซเปอร์เมทรินตัวใดตัวหนึ่ง
—————————————–
สถานการณ์การผลิตและการตลาด
1 การผลิตและการตลาดกระเทียมโลก
ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ากระเทียมสดหรือแช่เย็น ปริมาณ 31,730 ตัน มูลค่า 555.40ล้านบาท ลดลงจากปริมาณ 36,991 ตัน มูลค่า 631.25 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 14.2และ 12.0 ตามลำดับ สำหรับการส่งออก ปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) มีการส่งออกกระเทียมสดหรือแช่เย็น ปริมาณ1,044 ตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 13.60 ขณะที่มูลค่า 37.27 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 41.10
ผลผลิตกระเทียมโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552-2556) อัตราเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.26 โดยปี 2556 มีผลผลิต 24.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีผลผลิต 22.03 ล้านตัน
การส่งออกกระเทียมโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552-2556) อัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.09 โดยปี 2556 มีการส่งออก 1.97 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่มีการส่งออก 1.91 ล้านตัน
การนำเข้ากระเทียมโลกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552-2556) อัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.58 โดยปี 2556 มีการนำเข้า 1.83 ล้านตัน ลดลงจากปี 2552 ซึ่งมีการนำเข้า 1.77 ล้านตัน
2 การผลิตและการตลาดกระเทียมไทย พื้นที่เพาะปลูก เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง
ปี 2566 มีเนื้อที่ปลูก 56,816 ไร่ ผลผลิต 61,722 ตัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 8.06 เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ไม่ได้จูงใจให้ขยายพื้นที่ปลูก ต้นทุนการผลิตสูงเนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น และเกษตรกรบางรายประสบปัญหาด้านเงินลงทุนจึงลดพื้นที่ปลูกลง
ราคากระเทียมสดคละที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 กิโลกรัมละ 13.35 บาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่ขายได้กิโลกรัมละ 11.64 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.70 สำหรับราคากระเทียมแห้งคละเฉลี่ยเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 กิโลกรัมละ 37.01 บาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 ที่ขายได้กิโลกรัมละ 42.81 บาท หรือลดลงร้อยละ 13.55
ปี 2564 เนื้อที่เพาะปลูก 69,193 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 68,981 ไร่ ผลผลิต 75,476 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,094 กิโลกรัม
ปี 2563 เนื้อที่เพาะปลูก 70,161 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 70,056 ไร่ ผลผลิต 76,839 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,097 กิโลกรัม
เนื้อที่เพาะปลูกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2558) มีแนวโน้มลดลงในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 1.73 ต่อปี
โดยลดลงจาก 76,809 ไร่ ในปี 2554 เป็น 71,706 ไร่ ในปี 2558 โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกกระเทียม จำนวน 27,663 ครัวเรือน ผลผลิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2558) มีแนวโน้มลดลงในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.19 ต่อปี โดยลดลงจาก 75,589 ตัน ในปี 2554 เป็น 73,626 ตัน ในปี 2558
- ต้นทุนการผลิตกระเทียมแห้ง ปี 2558 มีต้นทุนไร่ละ 27,617.71 บาท และกิโลกรัมละ 26.89 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ซึ่งมีต้นทุนไร่ละ 22,859.74 บาท และกิโลกรัมละ 23.23 บาท ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.83 และ 5.08 ต่อปี ตามลำดับ
- การนำเข้ากระเทียมและผลิตภัณฑ์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2558) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 11.83 และ 21.68 ต่อปี ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 77,377 ตัน มูลค่า 581.26 ล้านบาท ในปี 2554 เป็นปริมาณ 105,714 ตัน มูลค่า 1,340.25 ล้านบาท ในปี 2558
- การส่งออกกระเทียมและผลิตภัณฑ์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2558) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่าในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.72 และ 1.58 ต่อปี ตามลำดับ
- ราคากระเทียมแห้งใหญ่คละที่เกษตรกรขายได้ปี 2558 มีราคากิโลกรัมละ 61.14 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 37.37 บาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 21.58 ต่อปี
3 การแปรรูป มีการนำกระเทียมมาแปรรูปในอุตสาหกรรม เช่น กระเทียมดอง กระเทียมผง กระเทียมเจียว
พื้นที่เพาะปลูกกระเทียมปี 2559 คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 71,093 ไร่ ผลผลิต 73,638 ตัน แยกเป็นภาคเหนือ 70,513 ไร่ ผลผลิต 73,215 ตัน โดยมีการเพาะปลูกได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 580 ไร่ ผลผลิต 423 ตัน ได้แก่ จังหวัดนครพนม ศรีสะเกษ และชัยภูมิ
มาตรฐาน
1. มาตรฐานนี้ครอบคลุมกระเทียมที่ผลิตเพื่อการค้าที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum L. สำหรับการบริโภตในรูปสด กึ่งแห้ง หรือแห้ง แต่ไม่รวมกระเทียมสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม
2. ข้อกำหนดขั้นต่ำของกระเทียม เช่น เป็นกระเทียมทั้งหัว ไม่เสื่อมเสีย เหมาะสมสำหรับการบริโภค สะอาด ปราศจากสิ่งปนเปื้อน ปลอดจากแมลงที่ทำลายผลซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการเสื่อมเสีย ไม่มีความผิดปรกติที่เกิดจากความชื้นโดยไม่รวมหยดน้ำที่ออกจากห้องเย็น ไม่มีกลิ่นและรสที่ผลิดปกติ ไม่มีความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำและหรืออุณหภูมิสูง เนื้อแน่น ไม่มีรากที่งอกออกมา
การแบ่งชั้นคุณภาพมี 3 ชั้นคุณภาพ ได้แก่ ชั้นพิเศษ (Extra Class) ชั้นหนึ่ง (Class I) และชั้นสอง (Class II)
โดยพิจารณาจากตำหนิด้านรูปทรง สี และตำหนิอื่น ๆ ดังนี้
- ชั้นพิเศษ (Extra Class) กระเทียมในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด ตรงตามพันธุ์ ไม่มีตำหนิ มีความสม่ำเสมอในเรื่องของสีและขนาด มีขั้ว กลีบกระเทียมอัดแน่น
- ชั้นหนึ่ง (Class I) กระเทียมในชั้นนี้มีคุณภาพดี มีความสม่ำเสมอในเรื่องของสีและขนาด มีขั้วและรูปทรงปรกติ กลีบกระเทียมอัดแน่นพอสมควร มีความแก่ที่เหมาะสมต่อการบริโภค มีตำหนิได้เล็กน้อย โดยยอมให้ผิวมีรอยปริได้ ทั้งนี้ ตำหนิดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบกับเนื้อกระเทียม
- ชั้นสอง กระเทียมในชั้นนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต่ำของคุณภาพ ต้องมีสีตรงตามชนิดพันธุ์ โดยยอมให้มีรอยปริที่ผิว รอยแผลเป็น รูปร่างผิดปรกติได้ และยอมให้มีกลีบกระเทียมที่หายได้จำนวน 3 กลีบ ทั้งนี้ ตำหนิดังกล่าวต้องไม่มีผลกระทบกับเนื้อกระเทียม
3. การแบ่งชั้นด้านขนาด โดยใช้เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเกณฑ์ โดยกำหนดให้ไม่น้อยกว่า 45 mm. ในชั้นพิเศษ
และในชั้น1และชั้น2 ไม่น้อยกว่า 30 mm. การจัดรหัสขนาดแบ่งเป็น 10 ขนาด คือ รหัสขนาด 12,11,10,99,8,7,6,5,4, และ 3 มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 75 A more, 70 A 75, 65 A 70, 60 A 65, 55 A 60, 50 A 55, 45 A 50, 40 A 45, 35 A 40, และ 35 A 35 ตามลำดับ
4. เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน กำหนดเรื่องคุณภาพและขนาดในแต่ละภาชนะบรรจุ
- ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพ ในชั้นพิเศษ ยอมให้กระเทียมที่ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ ชั้นพิเศษแต่อยู่ในเกณฑ์ชั้นหนึ่งปนได้ไม่เกิน 5 %โดยจำนวนหรือน้ำหนักของกระเทียม ชั้นหนึ่งและชั้นสองยอมให้กระเทียมที่อยู่ในชั้นถัดไปปนได้ไม่เกิน 10 % โดยจำนวนหรือน้ำหนัก แต่ต้องไม่มีส่วนเน่าเสียหรือสภาพไม่เหมาะสมต่อการบริโภค
- ความคลาดเคลื่อนเรื่องขนาด ทุกรหัสขนาดมีกระเทียมที่ใหญ่หรือเล็กกว่าชั้นถัดไปหนึ่งชั้นปนได้ไม่เกิน 10 % โดยจำนวนหรือน้ำหนัก
การวิเคราะห์ SWOT
จุดแข็ง (S)
1. เป็นพืชดั้งเดิมปลูกมาเป็นเวลานานรายได้เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ
2. อาหารไทยนิยมใช้กระเทียมไทยเพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทย
3. มีกลิ่นฉุนมีสารอัลลิซิน มากกว่าการเทียมจีน มีสรรพคุณใช้ประโยชน์ทางการแพทย์รักษาโรคบิด ป้องกันมะเร็ง ระงับกลิ่นปากและแบคทีเรีย
4. ราคาสูง เกษตรกรตอบสนองสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกได้ง่าย
จุดอ่อน (W)
1. ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำ ราคาสูง เกษตรกรขายแข่งขันกับกระเทียมจีนไม่ได้
2. เกษตรกรเข้าร่วมแปลง GAP น้อย ทำให้การผลิตกระเทียมคุณภาพมีน้อย
3. การกระจายผลผลิตออกสู่ตลาดปลายทางทำได้น้อย
4. โรคกระเทียมได้แก่ หนอน เพลี้ยไฟ เชื้อรา ใบไหม้ ใบจุด
5. การแปรรูปมีน้อย
6. การนำเข้ากระเทียมในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมากทำให้ราคากระเทียมภายในตกต่ำ
7. อายุการเก็บรักษากระเทียมไทยไม่ยาวนามากนัก
8. งานวิจัยลักษณะเด่นของกระเทียมไทยมีน้อย จึงยังไม่สามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่จุดเด่นกระเทียมไทยได้
9. ยังไม่มีเครื่องจักรกลใช้แรงงานคนเพื่อลดต้นทุนการผลิต
โอกาส (O)
1. ร้านอาหารไทยในต่างประเทศนิยมกระเทียมไทยใช้การปรุงอาหาร
2. นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจเหมาะสม (Zoning)
3. นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาราคากระเทียมตกต่ำ
4. กฎหมายการป้องกันการทุ่มตลาดของกระทรวงพาณิชย์ สามารถออกระเบียบและการนำเข้ากระเทียมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
5. กระทรวงมหาดไทยมีมาตรการกระจายกระเทียมจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภคตลาดปลายทางจำนวน 74,963 หมู่บ้าน (MOI Distribution Centos)
6. กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรมีเทคโนโลยีพร้อมถ่ายทอดให้กับเกษตรกร การปฏิบัติการที่ดี (GAP) และการผลิตกระเทียมให้ได้คุณภาพ
7. กระเทียมใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น อาหาร สมุนไพร ยารักษาโรค
8. กรมวิชาการเกษตรและสถาบันการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรในการเพาะปลูก เก็บเกี่ยวกระเทียม
1. กระเทียมนำเข้ามาจากต่างประเทศมาก เช่น จีน พม่า ลาว เนื่องจากอัตราภาษีนอกโควตาไม่สามารถปกป้องคุ้มครองกระเทียมนำเข้า
2. ตลาดต่างประเทศไม่ค่อยนิยมบริโภคกระเทียมไทยมีกลิ่นฉุน
3. กระเทียมไทยไม่สามารุแข่งขันในตลาดโลกได้เนื่องจากกระเทียมจีนมีต้นทุนการ ผลิตกระเทียมถูกกว่าในประเทศภูมิภาคอาเซียน ทำให้จีนส่งออกกระเทียมขายได้ทั่วโลก
4. กระเทียมลักลอบนำเข้ามาตามชายแดนไทยทำให้ราคากระเทียมตกต่ำ
Category: พืชผัก, พืชผัก ก-ณ