กำลังช้างสาร
กำลังช้างสาร
ชื่ออื่นๆ : กระแจะ ตาลเหลือง แง่ง ช้างน้าว ตานนกกรด ขมิ้นพระต้น ช้างโน้ม ช้างโหม ฝิ่น
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pithecellobium tenue Craib
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นสูง 5-8 เมตร กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบ 1-3 คู่ ใบย่อยรูปไข่กลับ ปลายแหลม ขอบเรียบเป็นคลื่น ก้านใบแผ่เป็นครีบ หูใบเป็นหนาม ดอกสีขาวออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ เกสรตัวผู้เป็นฝอยยาวสีขาว ฝักแบนยาว เกิดตามป่าดงดิบและป่าโปร่งทั่วไป
การนำไปใช้ประโยชน์
- ทางอาหารใบอ่อนรับประทานเป็นผักสดได้
- ทางยา ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้ปวดหลัง ปวดเอว รากขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำ
การปลูกและการดูแล : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดด และความชื้นในอากาศสูง เจริญได้ดีในดินร่วนซุย และสามารถเก็บความชื้นได้ดี อาจหาวัสดุคลุมดินช่วยก็เป็นการดี ต้องการน้ำมากควรรดน้ำเป็นประจำต้นที่ถูกต้องให้เป็นพุ่มตลอดเวลาจะไม่ค่อยเห็นดอก เนื่องจากเป็นไม้ที่ออกดอกบริเวณปลายกิ่ง
สรรพคุณ : เนื้อไม้ แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น
โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ