banner ad

เกล็ดลิ่นใหญ่ (เกล็ดปลา)

| November 23, 2012 | 0 Comments

เกล็ดลิ่นใหญ่ (เกล็ดปลา)

ชื่ออื่นๆ : เกล็ดลิ่นใหญ่(นครราชสีมา) ลูบตีบต้น(เชียงใหม่) กาสามปีกใหญ่(สร) เกล็ดปลา (กาญจนบุรี)

ชื่อวงศ์ : PAPILIONACEAE

ชื่อสามัญ : Klet Lin Yai

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phylloidium longips (Craib) Schindl.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1.5-2.5 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่ง ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน ปลายกิ่งย้อยลง ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบกลางรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ใบย่อยด้านข้าง กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร ใบข้างเล็กกว่าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบมีขน ก้านใบย่อยยาว 1.5-2 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ ที่ปลายกิ่ง มีใบประดับ ลักษณะคล้ายเกล็ดปลาขนาดใหญ่ประกบหุ้มไว้ 2 ใบ สีเขียวไม่เข้มมาก ประกบซ้อนๆกัน เป็นรูปแท่งห้อยย้อยออกมา กลีบดอกสีขาว รูปดอกถั่ว มีขนาดเล็ก ผลเป็นฝักแบนยาวคอดเป็นข้อๆ กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาว 0.7-1 เซนติเมตร ผิวฝักมีขนปกคลุม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ

การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ยอดกินสด เป็นผักจิ้มกินกับลาบ รสฝาด มัน ขมเล็กน้อย

ทางยา รากต้มกินแก้ปวดท้อง ปวดเส้น ปวดข้อ ปวดหลัง การใช้สอย ใช้เป็นต้นไม้มงคล เมื่อเอาข้าวขึ้นยุ้งฉาง

การขยายพันธุ์ : เมล็ด

การปลูกและการดูแล :

สรรพคุณ

ใบ แก้ไอ แก้ปัสสาวะดำ แก้ไข้จับสั่น

ราก ดื่มแก้ตับพิการ

เปลือกราก พอกแก้ปวด แก้เล็บบวม

by : Satja Prasongsap

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news