กระบือเจ็ดตัว
กระบือเจ็ดตัว
ชื่ออื่นๆ : กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ กะเบือ ใบท้องแดง บัวรา กระทู้เจ็ดแบก ตาตุ่มไก่ ตาตุ่มนก
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Excoecaria cochinchinesis Lour.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 0.5-1.5 เมตร หน้าใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบ สีแดงเข้ม ดอกเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ เมล็ดรูปทรงค่อนข้างกลม มี 3 พู พอแก่จะแตกออก
การนำไปใช้ประโยชน์ : ใบ ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลา ยางจากต้น เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ตอน
การปลูกและการดูแล : แยกเอารากไปปลูกก็ขึ้นได้ดี เอาไปปลูกในกระถางก็สะดวก ขึ้นงอกงามเป็นไม้ประดับไป ใบสองสีของต้นกระบือเจ็ดตัวนี้มีทั้งสีแดงใต้ใบ และสีเขียวใบไม้ข้างบนจึงมองดูงดงามมาก มีผู้เอาไปปักแจกันรวมกับดอกไม้อื่นๆ ได้อย่างน่าชม ขายได้ด้วย
สรรพคุณ
- ใบ ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลา แก้บาดทะยักในปากมดลูก ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้บวมฟกช้ำดำเขียว
- กระพี้และเนื้อไม้ ถอนพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ร้อนภายใน
- ยาง ใช้เบื่อปลา
โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ