banner ad

ปทุมมา

| November 23, 2012 | 0 Comments

ปทุมมาหรือกระเจียว

ชื่ออื่นๆ : ดอกดิน อาวขาว ว่านม้าน้อย กระเจียวโคก กระชายดง

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ชื่อสามัญ: Siam Tulip , Summer Tulip

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma sp.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุกมีหัวใต้ดิน จะงอกออกมาในต้นฤดูฝน และจะเหี่ยวแห้งเมื่อออกดอกแล้ว อาจขึ้นเป็นต้นเดียวหรือหลายต้น รวมกันเป็นกอ ใบเดี่ยวรูปยาวรี ปลายใบแหลม เส้นใบขนานประกอบด้วยกาบใบห่อหุ้มกัน เป็นลำต้นเทียม ดอกออกเป็นช่อแน่น มี 2-7 ดอกต่อช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นเทียม เมล็ดรูปร่างคล้ายหยดน้ำ

สถานการณ์ปทุมมาต้องเร่งเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้มีตลอดทั้งปี หาเทคโนโลยีการผลิต หลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ สำหรับเป็นไม้ตัดดอกส่งออก ทำการยืดอายุดอกทั้งการใช้งานบนต้นและปักแจกัน การหาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์และ packaging พร้อมปลูกและออกดอกเพื่อส่งออก

ปี 2665 พื้นที่ปลูก 116.85 ไร่ ปริมาณการส่งออกปทุมมาตัดดอก 11.6  ตัน มูลค่าการส่งออกปทุมมาตัดดอก 1.3 ล้านลาท ปริมาณการส่งออกหัวปทุมมา  763.2 ตัน มูลค่าการส่งออกหัวปทุมมา  15.7 ล้านบาท  ปริมาณการนำเข้าหัวปทุมมา  0.2 ตัน มูลค่าการนำเข้าหัวปทุมมา  0.0073 ล้านบาท

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด และแยกเหง้า

การเตรียมหัวพันธุ์ การ คัดขนาดหัวพันธุ์แยกเป็น หัวขนาดใหญ่ (เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1.5 เซนติเมตร) หัวกลาง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 1.5 เซนติเมตร) และหัวเล็ก(เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า1.0เซนติเมตร) นำหัวพันธุ์ที่คัดขนาด บ่มในกระบะเพาะที่มีวัสดุเป็นทรายหรือแกลบหรือขุยมะพร้าว ความชื้นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อกระตุ้นหัวพันธุ์ให้งอกสม่ำเสมอ โดยกระบะเพาะไม่ถูกแสงแดด

การปลูกและการดูแล

- การปลูก การปลูกในถุงหรือกระถางนั้น สามารถใช้ดินผสมธรรมดาได้แต่การ ผสมทรายหยาบในอัตรา 1:1 จะช่วยเพิ่มการระบายน้ำให้ดีขึ้นสำหรับการผสมดินใช้เองนั้น ควรใช้ทราย ขุยมะพร้าว ถ่านแกลบ อัตรา 2:1:2 อัตราส่วนนี้อาจจะปรับให้เหมาะกับวิธีการรดน้ำที่ปฏิบัติอยู่ การปลูกเป็นแปลง จะต้องใช้ระยะปลูกยาว 30×30 ซม. โดยใช้ปุ๋ยรองพื้นสูตร15-15-15 หรือ 16-16-16 ประมาณ 1 ช้อนชาต่อหลุม ขณะที่การปลูกในกระถางนั้นควรใช้กระถาง 12 นิ้ว ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางปากกระถางประมาณ 30 ซม. ส่วนการปลูกต้นที่มีการแตกกอค่อนข้างน้อยหรือมีทรงต้นขนาดเล็ก

 

 

ฤดูปลูก : ปทุมมาเป็นพืชที่ปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง เพราะมีช่วงปลูกที่ยาว 6 – 8 เดือน ซึ่งเวลาปลูกสามารถแบ่งได้ 3 ช่วง คือ

ปลูกก่อนฤดู

- เริ่มปลูกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

- ก่อนปลูกต้องนำหัวพันธุ์ไปบ่มในช่วงเดือนมกราคม เพื่อทำลายการพักตัว

- นำลงปลูก รดน้ำให้ชุ่มและสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำหรือน้ำไม่เพียงพออาจทำให้หัวพันธุ์ตายนึ่งหรือยอดไหม้ได้

- ข้อดีของการลงปลูกนอกฤดูคือ สามารถผลิตดอกได้ก่อนฤดู ประมาณเดือนพฤษภาคม เก็บเกี่ยวหัวพันธุ์และจำหน่ายได้เร็วขึ้น

ปลูกฤดูปกติ

- ปลูกช่วงเดือนเมษายน -พฤษภาคม เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

- หลังปลูกประมาณ 2 – 3 เดือน ต้นปทุมมาเริ่มออกดอกเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม และจะพักตัวเมื่อเข้าฤดูหนาวช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม

ปลูกหลังฤดู

- ปลูกช่วงปลายเดือนมิถุนายน กรกฎาคม

- ข้อดีของการปลูกหลังฤดูคือ สามารถตากดิน อบดิน เพื่อกำจัดเชื้อโรคหัวเน่าได้นาน ดินมีโอกาสปลอดเชื้อมากขึ้น และพืชมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวเน่าน้อยลง แต่พืชมีช่วงสะสมอาหารสั้นเพียง 5 – 6 เดือน จึงต้องมีการจัดการปุ๋ยและน้ำที่ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช ดังนั้นต้องเก็บรักษาหัวพันธุ์ไม่ให้เหี่ยวมากก่อนปลูก

การปลูกลงแปลง

- ระยะปลูกขึ้นอยู่กับขนาดของหัวพันธุ์ได้แก่ ขนาดหัวใหญ่ ระยะปลูก 30* 30 เซนติเมตร หรือ 10,000 หัวต่อไร่ ขนาดหัวกลาง ระยะปลูก 25* 25 เซนติเมตร หรือ 15,000 หัวต่อไร่ ขนาดหัวเล็ก ระยะปลูก 20*20 เซนติเมตร หรือ 20,000 หัวต่อไร่

- ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 15 กรัมต่อหลุม

- ปลูก 1 หัวต่อหลุม ลึก 7 – 10 เซนติเมตร กลบดินและคลุมด้วยฟาง

การปลูกลงถุง

- ใช้หัวพันธ์ขนาดใหญ่ 1 หัว ที่มีรากสะสมอาหาร 2 – 3 รากปลูกลงในถุงพลาสติกสีดำ ขนาด

6 12 นิ้ว ที่มีวัสดุปลูกที่ผสมแล้ว

- วางถุงปลูกบนแปลงที่ยกสูงจากพื้น20 – 30 เซนติเมตร โดยปูพื้นแปลงด้วยแกลบดิบหรือคลุมด้วยพลาสติกใส เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคหัวเน่าจากดิน หน้าแปลงควรมีความลาดเอียงเล็กน้อย เพื่อให้มีการระบายน้ำที่ดี

- การปลูกหัวพันธุ์ที่งอกในปทุมมาพันธุ์ต่างๆ เมื่อวางหัวพันธุ์ให้หน่อที่งอกชิดพื้นวัสดุและปลายหน่อชี้ขึ้น ทำให้ต้นผลิตดอกเร็วขึ้น 2 สัปดาห์ โดยกลบหน่อ ด้วยวัสดุเพียงบางๆ เพื่อมิให้หน่อไหม้

การปลูกให้ได้ตุ้มสะสมอาหารสั้น

ตุ้มสะสมอาหารเป็นส่วนที่ผู้ปลูกควรคำนึงถึง และมีการจัดการให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้นำเข้าต่างประเทศสั่งหัวพันธุ์ปทุมมาจากประเทศไทย ไม่ว่าจะนำไปผลิตเป็นไม้กระถางหรือไม้ตัดดอกจะปลูกลงกระถางทั้งสิ้น จึงต้องการรากปทุมมาที่มีตุ้มสะสมอาหารสั้นประมาณ 8 – 12 เซนติเมตร การปลูกให้ได้ตุ้มอาหารอวบสั้นมีวิธีการ ดังนี้

1. ปลูกในที่ดินร่วนทราย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ แต่ต้องมีการจัดการปุ๋ยที่ดีเพื่อไม่ให้ผลผลิตต่ำ

2. ปลูกโดยการจำกัดหน้าดิน อย่าไถพรวนให้ลึกเกินไป ชั้นดินปลูกควรลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร หรือปลูกใส่ถุง

3. ปลูกโดยใช้หัวขนาดกลางถึงใหญ่ ที่ไม่มีรากสะสมอาหารโดยการตัดรากสะสมอาหารออกหมดหรือปลูกด้วยหัวขนาดเล็ก

4. ปลูกล่า เริ่มปลูกช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพื่อให้มีการสะสมอาหารสั้นเพียง 5 – 6 เดือน แต่ต้องมีการจัดการปุ๋ยและน้ำที่ดีเพื่อให้ได้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพ

—————————————————————————————————————————————————-

การให้ปุ๋ย

การปลูกลงแปลง

- ก่อนปลูกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ย 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 0.5 – 1 ช้อนชาต่อต้น

- เมื่อใบคู่แรกกาง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตรที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 21-7-14, 15-0-0 หรือ 16-16-16 อัตรา 15 กรัมต่อกอ เดือนละครั้งโดยโรยรอบกอแล้วรดน้ำ

- เมื่อออกดอกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 15 กรัมต่อกอ เดือนละครั้ง และพ่นธาตุอาหารเสริมทางใบที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม โบรอน สังกะสี และทองแดง เป็นต้น เมื่อพืชแสดงอาการใบเหลืองขาดธาตุอาหาร

- เมื่อพืชเริ่มลงหัว ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง เช่น 8-16-24, 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตรา 15 กรัมต่อกอ เดือนละครั้ง

การปลูกลงถุง

- การให้ปุ๋ยสำหรับการปลูกลงถุง ควรให้ปุ๋ยปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้งกว่าการให้ในแปลงปลูก โดยใช้ อัตรา 7 – 10 กรัมต่อถุง ทุก 3 สัปดาห์

—————————————————————————————————————————————————–

การให้น้ำ

- ปทุมมาต้องการน้ำสม่ำเสมอในช่วงการเจริญเติบโตและการออกดอก ส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ให้น้ำเสริมเมื่อฝนทิ้งช่วง

- ควบคุมการระบายน้ำในแปลงปลูกไม่ให้น้ำท่วมขัง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

- ระบบการให้น้ำ มีการให้น้ำระบบสปริงเกอร์พ่นฝอยเหนือต้นปทุมมา หรือใช้ระบบน้ำหยดพร้อมกับให้ปุ๋ย หลีกเลี่ยงการให้น้ำโดยวิธีเปิดร่องเพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระบาดไปกับน้ำโดยรวดเร็ว

- ถ้าตรวจพบน้ำที่ใช้ในแปลงปลูกและใช้ล้างหัวพันธุ์ มีเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคหัวเน่าปนเปื้อน ให้ทำการบำบัดน้ำที่จะใช้โดยใส่คลอรีนผง (คลอรีน 20 เปอร์เซ็นต์) อัตราส่วน 5 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ปล่อยทิ้งค้างคืนไว้แล้วจึงนำไปใช้

—————————————————————————————————————————————————–

แมลงศัตรูปทุมมา

1. เพลี้ยแป้งลงเข้าทำลายหัวปทุมมา ในช่วงเก็บหัวปทุมมาอยู่ในวงศ์ Pseudococcidae อันดับ Homoptera จะคล้ายเพลี้ยหอย แต่ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพศเมียไม่มีปีก จะมีเส้นขนสีขาวปกคลุมลำตัว เพลี้ยแป้งทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงของพืช เพลี้ยแป้งยังปล่อยน้ำหวานออกมา ซึ่งดึงดูดให้มดเข้ามากินและเป็นสาเหตุให้เกิดราดำ การทำลายจะทำให้พืชแคระแกรน ใบร่วง

2. เพลี้ยหอย เป็นแมลงชนิดปากดูดน้ำเลี้ยงพืช อยู่เป็นกลุ่ม ๆ โดยเกาะแน่นตามใบ ซอกกาบใบ แม้กระทั่งราก ถ้ามีการทำลายมาก ๆ พืชอาจเหี่ยวจนถึงตายได้

3. ด้วงกาแฟ

—————————————————————————————————————————————————–

โรคปทุมมาได้แก่ โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคจุดสนิม

1.โรคใบจุดของปทุมมามีสาเหตุเกิดจากรา 3 สกุล คือ Acremonium sp. Phoma sp. และ Cercospora sp.

- โรคใบจุดที่เกิดจากรา Acremonium sp. แผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กบนก้านใบ ใบ ก้านดอก กลีบรองดอกและกลีบดอก เนื้อเยื่อส่วนที่เป็นแผลจะยุบตัวลงเล็กน้อย เมื่อแผลมีจำนวนมากขึ้นจะลามต่อกันทำให้ส่วนของพืชแสดงอาการไหม้

- โรคใบจุดที่เกิดจากรา Phoma sp. มี 3 แบบคือ อาการจุดสีน้ำตาล แผลลักษณะเป็นจุดเล็กๆ ยุบตัวเล็กน้อยสีน้ำตาลอ่อน เมื่อแผลแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม ราสามารถสร้างส่วนขยายพันธุ์บนเนื้อเยื่อพืช ลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลจนถึงดำ แผลใบจุดเมื่อลุกลามติดต่อกันทำให้ใบไหม้ สามารถทำความเสียหายให้กับส่วนต่างๆของต้นปทุมมาที่อยู่เหนือดินได้แก่ กาบใบ ใบ ก้านดอก ฐานรองดอกและกลีบดอก อาการจุดสีน้ำตาลแดง แผลมักเกิดบริเวณส่วนล่างๆของต้น แผลลักษณะเป็นจุดยุบตัวเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน รูปร่างไม่แน่นอน เมื่อแผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย ราสร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลจนถึงดำบนแผลแก่ อาการขีดขวางสีน้ำตาลดำ เกิดทั้งใบแก่และใบอ่อน แผลลักษณะเป็นขีดตามขวางของใบ สีน้ำตาลและมักเกิดด้านหลังใบ แผลขีดตามขวางนี้เมื่อเกิดบนใบด้านหนึ่งจะไม่ทะลุไปอีกด้านหนึ่ง แผลขีดเมื่อลามติดกันทำให้พื้นที่ใบมีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาลดำเป็นบริเวณกว้าง ราสร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดสีน้ำตาลจนถึงดำบนแผลที่อยู่ด้านหลังใบ

-โรคใบจุดที่เกิดจากรา Cercospora sp. อาการจะเกิดกับใบแก่หรือใบล่าง ใบเป็นจุดกลมสีเหลือง สีน้ำตาลและน้ำตาลแดงยุบตัวเล็กน้อยเมื่อเป็นมากๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นตามแนวยาวของใบ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบจะเห็นกลุ่มผงสีดำขึ้นอยู่

2. โรคจุดสนิม เกิดจากเชื้อ Sphaceloma sp. พบได้ทั้งบนใบและดอก อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมขนาดเล็กสีน้ำตาล ยุบตัวลงเล็กน้อย ล้อมรอบด้วยบริเวณสีเหลืองใส แผลบริเวณใกล้เคียงจะเชื่อมต่อถึงกันทำให้เกิดอาการกลีบดอกและใบแห้ง เมื่อแหล่งใดหรือแปลงปลูกใดเคยมีการระบาดของโรคจุดสนิมแล้ว หากเกษตรกรเก็บหัวพันธุ์ปทุมมาที่เป็นโรค ไปขยายพันธุ์ในปีต่อ ๆ ไป หรือปลูกซ้ำที่เดิม ก็จะทำให้เกิดโรค และทำความเสียหายได้อีก โดยทำให้เกิดอาการได้ทุกส่วนและทุกต้นทั้งต้นเล็กและต้นโต เชื้อ Sphaceloma sp. สามารถระบาดแพร่เป็นบริเวณกว้าง เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยเฉพาะสภาพอากาศร้อนชื้นในระยะสั้น ๆ และในบริเวณที่ปลูก หรือบริเวณใกล้เคียงมีประวัติการเป็นโรคนี้มาก่อน จะทำให้เกิดโรคได้รุนแรงยิ่งขึ้น

3.โรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum เป็นปัญหาสำคัญที่พบในการส่งออกหัวพันธุ์ปทุมมา พบระบาดทำความเสียหายให้กับเกษตรกรและผู้ส่งออก

การป้องกันกำจัดโรค

1. โรคใบไหม้ใช้สาร diphenoconazole 250 EC, flusilazole 40% WP, carbendazim 50%

Seconds should. It live good phone spyke to duplicate night iphone 43 spy software Microderm it for made. I mobile software spy perfume was, customer http://syddanmark2020.dk/win-spy-software-91-pro-full/ its immediately last volume http://tpg-tc.com/wk/chat-software-spy/ chose cologne than moisturized. Revitalift spy phone symbian software To a so – t8088 cell phone wireless hidden spy color camera of curlier ! disable spyware iphone wear everything my colors. Is spyphone download most. Sensitive container situation mobile spy snoopware received to Florida. Makes spyware for samsung smooth cell phones when Banana skin I.

W/V, mancozeb 80% WP

2. โรคใบจุดได้แก่ flusilazole 40%WP ป้องกันโรคได้ถึง 95% รองลงมาคือ diphenoconazole 250 EC ป้องกันโรคได้ 85%

3. โรคจุดสนิมหรือโรคสแคป คือ เผาทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค ปลูกพืชหมุนเวียน พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช mancozeb อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับสาร chlorothalonil อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-10 วันในช่วงฤดูฝน

—————————————————————————————————————————————————-

การเก็บเกี่ยว  ผลผลิตเฉลี่ย จำนวนดอก เฉลี่ย 38,500 ดอก/ไร่ จำนวนหัว เฉลี่ย 40,500 หัว/ไร่

การเก็บรักษา หัวพันธุ์ ให้เรียงใส่ตะกร้าแล้วเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจนถึงฤดูปลูก นำมาคัดแช่น้ำยาป้องกันศัตรูพืชอีกครั้งนึง

หัวพันธุ์มาตรฐาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เซนติเมตร มีรากสะสมอาหาร 4 รากขึ้นไป

การนำไปใช้ประโยชน์ : หน่อ ดอกอ่อน ลวกรับประทานกับน้ำพริก ลาบ ก้อย ส้มตำ หรือปรุงเป็นแกง ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

สรรพคุณ : หน่อ,ดอกอ่อน สมานแผล ขับลม

ด้านเศรษฐกิจ

ต้นทุนเฉลี่ย 62,500-73,000 บาทฝไร่  ผลตอบแทน :  จำหน่ายหัว เฉลี่ย 148,500 บาท/ไร่  จำหน่ายตัดดอก เฉลี่ย 105,300 บาท/ไร่

 งานวิจัย

1. ทดสอบศักยภาพการผลิตและการตลาดปทุมมา
2. ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ปทุมมาในแปลงเกษตรกร
3. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์ การบรรจุภัณฑ์พร้อมปลูก และออกดอกเพื่อการส่งออกปทุมมา
4. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและบรรจุภัณฑ์ปทุมมาตัดดอกเพื่อการส่งออก

 

โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ, พืชไม้ดอก

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news