banner ad

กระเจี๊ยบเขียว

| November 23, 2012 | 0 Comments

กระเจี๊ยบเขียว

ชื่ออื่นๆ : กระเจี๊ยบ มะเขือทวาย มะเขือมอญ มะเขือมื่น มะเขือละโว้

ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

ชื่อสามัญ : Okra, Lady s finger

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus Moencg., Hibiscus esculentus L.

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี สูงประมาณ 1-2 เมตร ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกด้าน ในมีสีม่วงแดง ใบเดี่ยวมีขน ขอบใบหยัก ผลยาวเป็นเหลี่ยม มีสีเขียวเมื่ออ่อน เมื่อแก่เต็มที่จะแตกภายใน ผลอ่อนมีมิวซีเลจและเมล็ดจำนวนมาก


การนำไปใช้ประโยชน์ : ผลอ่อน นำไปต้มกินผักจิ้มกับน้ำพริก แกงส้ม ผลแก่ บดเป็นผงชงน้ำร้อน หรือปั้นเป็นเมล็ดรับประทานรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

การขยายพันธุ์ : เมล็ด

การปลูกและการดูแล : ก่อนจะทำการปลูกกระเจี๊ยบเขียวควรนำเมล็ดพันธุ์มาแช่น้ำก่อน 1 คืน เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น และคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันโรคที่เกิดอาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่นโรคฝักจุดหรือฝักลาย โดยนำเอาเมล็ดพันธุ์มาผึ่งให้แห้งพอหมาดก่อนคลุกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดโรค ในกลุ่มของเบนโนบิล และไทแรม เช่น เบนแลททีอัตรา 10 กรัม/เมล็ด 1 กก. หรือสารในกลุ่มไทอะเนนคาโซน เช่น พรอนโต อัตรา 120 กรัม/เมล็ด 1 กก. อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 800-1000 กรัม/ไร่ ในการเตรียมแปลงปลูกควรไถตากดินก่อนเพื่อกำจัดวัชพืชนึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงพาหะมากมาย และควรปรับระดับหน้าดินให้เรียบสม่ำเสมอ ขุดหลุมปลูกระยะห่าง 50×100 ซม. ควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1-2 กำมือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนชา/หลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน และหยอดเมล็ดหลุมละ 2-3 เมล็ด เมื่อกล้างอกอายุประมาณ 10 วัน ให้ทำการถอนแยกเหลือ 1-2 ต้น/หลุม

แมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียว

1. เพลี้ยไฟจักจั่นฝ้าย(Amrascabiguttula )

2. แมลงหวี่ขาวยาสูบ(Bemisia tabaci)

3. หนอนเจาะสมอฝ้าย(Helicoverpa armigera)

4. หนอนกระทู้หอม(Spodoptera exigua)

5. เพลี้ยอ่อนฝ้าย ( Aphis gossypii)

6. เพลี้ยแป้ง( Phenacoccus sp.)

สรรพคุณ

ผลแก่ บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือปั้นเป็นเม็ดรับประทาน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

ผลอ่อน แก้โรคหนองใน

ดอก ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ

GAP กระเจี๊ยบเขียว

สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียว

การพ่นสารฆ่าแมลงและไรด้วยเครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง (knapsack sprayer) ใช้น้ำไร่ละ 120 ลิตร

ศัตรูพืช สารฆ่าแมลง %สารออกฤทธิ์ อัตราการใช้ วิธีการใช้ หมายเหตุ
ชื่อสามัญ LD50 ชื่อการค้า และสูตรที่ใช้
เพลี้ยไฟจักจั่นฝ้าย(Amrascabiguttula ) สารสกัดสะเดา(azadirachtin) - สะเดาไทย 111 0.1 % Aza 200 มล./น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นสารเมื่อพบตังอ่อนเพลี้ยจักจั่นฝ้ายมากกว่า 1 ตัว/ใบ สำรวจต้นละ 5 ใบ โดย งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
อิมิดาโคลพริด(imidacloprid) 450 คอนฟิดอร์ 100 เอสแอล(Confidor 100 SL) 10 % SL 20 มล./น้ำ 20 ลิตร นับจากใบยอดลงมา กรณีที่ติดฝักแล้ว หรือช่วงที่อายุมากกว่า 45 วัน ควรพ่นด้วยสาร
ไทอะมีโทแซม(thiamethoxam) 1,563 แอคทารา 25 ดับบลิวจี(Actara 25 WG) 25 % WG 3 กรัม./น้ำ 20 ลิตร ที่ออกฤทธิ์สั้น เช่น สารสกัดสะเดาติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หรือสารอีโทเฟนพรอกซ์
ไดโนทีฟูแรน(dinotefuran) 2,000 สตาร์เกิล(Starkle) 10 % WP 10 กรัม./น้ำ 20 ลิตร เพราะการปลูกกระเจี๊ยบเขียว มีการเก็บฝักทุกวัน
โคลไทอะนิดิน(clothinidin) 5,000 แดนท๊อซ(Dantosu) 16 % SG 12 กรัม./น้ำ 20 ลิตร
อะเซททามิพริด(acetamiprid) 146 โมนาส(Monas) 2.85 % EC 30 มล./น้ำ 20 ลิตร
ฟิโปรนิล(fipronil) 92 แอสเซ็นด์(Ascend) 5 % SC 20 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
อีโทเฟนพรอกซ์ >10,000 ทรีบอน 20 % EC 30 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน
แอลฟาไซเพอรเมทริน/พีบีโอ(alphacypermethrin/PBO) 1,515 ซุเปอร์คอร์ด 30(Supercord 30) 5%/25% EC 10 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 5 วัน
เฟนโพรพาทริน(fenpropathrin) 66 ดานิทอล(Danitol) 10 % EC 20 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
แมลงหวี่ขาวยาสูบ(Bemisia tabaci) บูโพรเฟซิน(buprofezin) แอปพลอด 25% WP (Applaud 25% WP) 25% WP 10 กรัม./น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นสารฆ่าแมลง เมื่อพบมีการระบาดของแมลงหวี่ขาวยาสูบ งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
อิมิดาโคลพริด(imidacloprid) 450 คอนฟิดอร์ 100 เอสแอล(Confidor 100 SL) 10 % SL 20 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
คาร์โบซัลแฟน(carbosulfan) 250 พอสซ์(Posse) 25 % EC 50 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
หนอนเจาะสมอฝ้าย(Helicoverpa armigera) แลมบ์ดาไซฮาโลทริน(lambdacyhalothrin) 56 คาราเต้ 2.5 อีซี(Karate 2.5% EC) 2.5 % EC 20 มล./น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดมากกว่า 0.5ตัว/ต้น ไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลงประเภท งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 8 วัน
คลอร์ฟลูอาซูรอน(chlorfluazuron) 8,500 อาทาบรอน(Atabron) 5 % EC 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ใดประเภทหนึ่งติดต่อกันหลายครั้งเพราะจะทำให้แมลงสร้างความต้านทาน งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
หนอนกระทู้หอม(Spodoptera exigua) เทบูฟีโนไซด์(tebufenozide) 5,000 มิมิค 20 เอฟ(Mimic 20 F) 20 % F 10 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบหนอนกระทู้หอมมากกว่า1 ตัวต่อต้น งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
บาซิลลัส ทูริงเยนซิส(Bacillus thuringiensis) - เซนทารี(Xentari) WDG 60 กรัม./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
เดลฟิน(Delfin) WP 60 กรัม/น้ำ20 ลิตร
แบคโทสปิน เอ็ชพี(Bactospeine HP) HP 60 กรัม/น้ำ20 ลิตร
เพลี้ยอ่อนฝ้าย ฟิโปรนิล(fipronil) 92 แอสเซ็นด์(Ascend) 5 % SC 20 มล./น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นสารฆ่าแมลง เมื่อพบมีการระบาดของเพลี้ยอ่อน งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน
อิมิดาโคลพริด(imidacloprid) 450 คอนฟิดอร์ 100 เอสแอล(Confidor 100 SL) 10 % SL 20 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน
คาร์โบซัลแฟน(carbosulfan) 250 พอสซ์(Posse) 25 % EC 50 มล./น้ำ 20 ลิตร งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
เพลี้ยแป้ง( Phenacoccus sp.) ไทอะมีโทแซม(thiamethoxam) 1,563 แอคทารา 25 ดับบลิวจี(Actara 25 WG) 25 % WG 5 กรัม./น้ำ 20 ลิตร เริ่มพ่นเมื่อพบการระบาดโดยเฉพาะจุดที่พบเพลี้ยแป้ง พ่นซ้ำตามความจำเป็น งดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน
ไดโนทีฟูแรน(dinotefuran) 2,000 สตาร์เกิล(Starkle) 10 % WP 10 กรัม./น้ำ 20 ลิตร
โคลไทอะนิดิน(clothinidin) 5,000 แดนท๊อซ(Dantosu) 16 % SG 12 กรัม./น้ำ 20 ลิตร
อะเซททามิพริด(acetamiprid) 146 โมนาส(Monas) 2.85 % EC 30 มล./น้ำ 20 ลิตร
อิมิดาโคลพริด(imidacloprid) 450 คอนฟิดอร์ 100 เอสแอล(Confidor 100 SL) 10 % SL 20 มล./น้ำ 20 ลิตร

 

โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute

Category: พืชผัก, พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news