เห็ดหลินจือ
|
การเพาะเห็ดหลินจือ |
เห็ดหลินจือเป็นเห็ดสมุนไพรที่ชาวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวันใช้รับประทานบำรุงสุขภาพมาช้านาน เห็ดชนิดนี้มีราคาค่อนข้างแพงและมีรสชาติขม การเพาะทำได้ไม่ยากโดยใช้ขี้เลื่อยผสมวัสดุต่างๆ ดังวิธีการและขั้นตอนดังต่อไปนี้
|
สูตรอาหาร |
1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 1.5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม น้ำ 60-65 เปอร์เซ็นต์ 2. ขี้เลื่อยไม้ฉำฉา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม ยิบซัม 1 กิโลกรัม น้ำ 60-65 เ ปอร์เซ็นต์ 3. ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ 100 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 2 กิโลกรัม น้ำ 60-65 เปอร์เซ็นต์ สำหรับสูตร 3 ทำการหมักเป็นเวลา 2 เดือน กลับกองทุก 15 วัน ก่อนนำไปบรรจุถุงผสมด้วยรำละเอียด 3 กิโลกรัม และน้ำตาลทราย 2 กิโลกรัม |
|
สายพันธุ์ |
สัญลักษณ์ จี -2 เป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบแล้วว่าให้ผลผลิตได้ดี จากการเพาะตลอดทั้งปีที่กรุงเทพฯ
|
อุปกรณ์ |
1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7X13 นิ้ว หรือ 6 1/2 X12 นิ้ว 2. คอพลาสติกสำเร็จรูป ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1นิ้ว สูง1นิ้ว พร้อมที่ครอบปิด และมีฝาปิด(ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง) หรือสำลี หรือฝาปิดแบบประหยัด 3. ยางรัด ตะเกียงแอลกอฮอล์ 4. หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง 5. โรงเรือนพร้อมชั้น สำหรับบ่มก้อนเชื้อ และเปิดดอกแยกกัน 6. อุปกรณ์ให้น้ำ เช่น บัวรดน้ำ สายยาง 7. พลั่ว และหม้อนึ่งไม่อัดความดัน
|
|
วิธีการทำ |
1. ผสมขี้เลื่อยและวัสดุอื่นๆ เข้าด้วยกัน เติมน้ำลงไปให้เป็นฝอย คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ สำหรับสูตร 1 และ 2
2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ 900 กรัมต่อถุง แล้วอัดให้แน่นพอประมาณ รวบปากถุง ใส่คอขวดพลาสติก ดึงปากถุงพับลง รัดด้วยยางวง ทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้แหลม สวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด ( ซึ่งรองด้วยกระดาษ ) หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาปิดแบบประหยัด 3.นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง ไม่อัดความดันแล้วนึ่งนาน 2-3 ชั่วโมง นับจากน้ำเดือด โดยสังเกตจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา แล้วทิ้งให้เย็น
|
การยอดหัวเชื้อเห็ด |
หัวเชื้อเห็ดนั้นจะต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะ และก่อนจะนำมาใช้ 1 คืน ควรจะเขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟเทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ 20-30 เมล็ด ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มีลมพัดผ่าน
|
|
นำถุงที่ใส่หัวเชื้อเห็ดวางบนชั้น ในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 1- 1 1/2 เดือน |
การเปิดดอก |
ดึงฝาครอบคอขวดออกแล้วนำก้อนเชื้อซึ่งเส้นใยเจริญเต็มถุง ไปวางในโรงเรือนสำหรับเปิดดอกโดยวางซ้อนกัน ให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง โดยรดน้ำไปตามบริเวณพื้นและรอบๆ โรงเรือน อย่าให้น้ำถูกดอกเห็ด ในโรงเรือนต้องมีแสงสว่างและอากาศถ่ายเทได้ดี ดอกเห็ดจะค่อยๆ เจริญใช้เวลามากกว่า 1 เดือน ขึ้นกับสภาพอากาศจึงจะเจริญเต็มที่การเก็บดอกให้สังเกตุบริเวณขอบของดอกจะเป็นสีน้ำตาลเช่นเดียวกันทั้งดอก แล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่งจึงจะเก็บ การเก็บดอกเห็ดหลินจือต้องพยายามดึงดอกเห็ดให้หลุดออกมาทั้งหมด ผลผลิตดอกเห็ดหลินจือสดจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมที่เพาะ โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ผลผลิตประมาณ 50 -100 กรัมต่อถุงขี้เลื่อยขนาด 900 กรัม |
การทำแห้ง |
ดอกเห็ดหลินจือนิยมเก็บไว้ในสภาพแห้ง เมื่อเก็บดอกเห็ดสดมาแล้วก็ตัดส่วนปลายก้านทิ้งเล็กน้อย แล้วล้างดอกเห็ดทิ้งให้สะเด็ดน้ำ หรือไม่ต้องล้างน้ำ หั่นเป็นชิ้นบางๆ เมื่อหั่นเสร็จ ดอกเห็ดหลินจือนิยมเก็บไว้ในสภาพแห้ง เมื่อเก็บดอกเห็ดสดมาแล้วก็ตัดส่วนปลายก้านทิ้งเล็กน้อย แล้วล้างดอกเห็ดทิ้งให้สะเด็ดน้ำ หรือไม่ต้องล้างน้ำหั่นเป็นชิ้นบางๆ เมื่อหั่นเสร็จต้องรีบนำไปตากหรืออบแห้งทันที ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำสีขาวๆ ออกมา จะทำให้มีสีขาวติดอยู่กับเห็ด ซึ่งทำให้เห็ดเสียราคาได้ การทำแห้งก็โดยการตากแดดจัดๆ สัก 3 ครั้ง แล้วอบที่อุณหภูมิ 70 เซลเซียน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือ ใช้อบที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ถึง 24 ชั่วโมง นำมาผึ่งให้เย็นแล้วเก็บใส่ถุงให้มิดชิด
|
หมายเหตุ |
เห็ดในสกุลกาโนเดอมาบางชนิดเป็นศัตรูของพืช ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และหมากเป็นต้น จึงควรระมัดระวังในการเพาะเห็ดชนิดนี้ และก้อนเชื้อที่เหลือทิ้งจากการเพาะแล้วควรเผาทิ้ง อย่านำไปใส่เป็นปุ๋ยกับต้นไม้ทันที ต้องนำไปผ่านขบวนการหมักเสียก่อน |
สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันโรคมะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน บำบัดโรคภูมิแพ้ รักษาโรคตับ ลดความดันโลหิตสูง ลดคลอเลสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือด ต้านไวรัส ขับปัสสาวะ อัมพาต อัมพฤกษ์ เบาหวาน โรคเก๊าต์ โรคเอสด์ โรคกระเพาะ ท้องผูก อาการไอ ปอดอักเสบ ริดสีดวงทวาร
Category: เห็ด