เห็ดยานางิ
เห็ดยานางิ
|
||||||||||||||||||||
การบรรจุวัสดุเพาะตามสูตรข้างล่าง ให้บรรจุลงในถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว ใส่คอขวด จุกสำลี แล้วหุ้มด้วยกระดาษ หรือใช้ฝาครอบพลาสติกปิดจุกสำลีกันเปียก วัสดุเพาะที่เตรียมไว้นี้เรียกว่า ถุงอาหารผสม
|
||||||||||||||||||||
สูตรอาหาร | ||||||||||||||||||||
สูตรที่ 1ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำข้าว 6 กิโลกรัมปูนเแคลเซียมคาร์บอเนต 1 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัมน้ำ 55 – 65 กิโลกรัมวัสดุเหล่านี้ผสมให้เข้ากัน มีความชื้น 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ บรรจุโดยไม่ต้องหมักสูตรที่ 2 ฟางข้าวตัดให้สั้นขนาด 2 นิ้ว 100 กิโลกรัม ปูนแคลเซียมคาร์บอเนต 2 กิโลกรัมรำข้าว 5 – 8 กิโลกรัมน้ำ 60 – 65 กิโลกรัม สูตรนี้ต้องหมักไว้นาน 8 – 10 วัน โดยต้องกลับกองฟางหมักทุก 2 วัน จนไม่มีกลิ่นแอมโมเนีย ให้มีความชื้น 60 – 65 เปอร์เซ็นต์ | ||||||||||||||||||||
นึ่งถุงอาหารผสม | ||||||||||||||||||||
นึ่งด้วยหม้อนึ่งไม่อัดความดันอุณหภูมิประมาณ 100 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมง |
||||||||||||||||||||
ใส่เชื้อเห็ดยานางิ | ||||||||||||||||||||
เมื่อถุงอาหารผสม ได้ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น ก่อนเทเมล็ดข้าวฟ่าง ซึ่งมีเส้นใยเห็ดเจริญคลุมอยู่ลงถุงอาหารผสม ถุงละ 15 -20 เมล็ด จากนั้นนำไปบ่มไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 25 – 30 องศาเซลเซียส
|
||||||||||||||||||||
การปฏิบัติช่วงเปิดดอกเห็ด | ||||||||||||||||||||
เมื่อเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงแล้ว เส้นใยเห็ดจะเปลี่ยนแปลงปรากฎเป็นสีน้ำตาลเข้ม จึงย้ายก้อนเชื้อเหล่านั้น ไปยังห้องเปิดดอก ซึ่งมีอุณหภูมิในช่วงนี้ประมาณ 12 – 30 องศาเซลเซียส และความชื้นต้องไม่ต่ำกว่า 75 – 80 เปอร์เซ็นต์ ถอดจุกสำลีเพื่อเปิดให้ดอกเห็ดออก
|
||||||||||||||||||||
การเก็บดอกเห็ด | ||||||||||||||||||||
กระทำเมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ ซึ่งมีความยาวของก้านดอกเฉลี่ย 5 – 11 เซนติเมตร หมวกดอกกว้าง 3 – 10 เซนติเมตร และที่สำคัญคือ แผ่นเยื่อหุ้มหมวกส่วนล่างยังคงอยู่หรือยังไม่ฉีกขาด ข้อสังเกตคือ ดอกเห็ดที่เพาะเลี้ยงไว้ในอุณหภูมิห้อง 24 – 26 องศาเซลเซียส จะบานช้ากว่าดอกเห็ดซึ่งเพาะเลี้ยงไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 28 – 30 องศาเซลเซียส
|
||||||||||||||||||||
การเจริญของเส้นใย การเกิดดอก และการเก็บเกี่ยว |
||||||||||||||||||||
|
สรรพคุณ ต้านและป้องกันมะเร็ง ลดไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยล้างสารพิษที่สะสมในตับ พิษพวกอนุมูลอิสระ อัลฟาท็อกซิน ทำให้ตับและม้ามแข็งแรง สามารถทำงานได้ดีขี้น ทำให้อารมณ์ดี การสร้างเม็ดเลือดแดงดี ช่วยขับปัสสาวะ ลดอาการหดหู่ ลดอาการหงุดหงิด และลดอาการท้องเสีย
จัดทำโดย
สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja prasongsap
Research Scientist
Horticulture Research Institute
Category: เห็ด