น้อยหน่า
น้อยหน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa Linn.
ชื่อสามัญ the custard apple, sugar apple
ชื่ออื่นๆ บักเขียบ
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3–5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3–6 เซนติเมตร ยาว 7–13 เซนติเมตร ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมสีเขียวเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม เมล็ดสีดำ มีจำนวนมาก
พันธฺุ์
1. น้อยหน่าพื้นเมืองหรือน้อยหน่าฝ้าย แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ตามลักษณะของสีผล คือ น้อยหน่าฝ้ายเขียวซึ่งมีผลสีเขียว กับน้อยหน่าฝ้ายครั่งมีผลสีม่วงเข้ม ลักษณะภายในผล เนื้อหยาบเป็นทราย ยุ่ยไม่จับตัวเป็นก้อน เนื้อมีสีขาวในน้อยหน่าฝ้ายเขียวและสีขาวอมชมพูในน้อยหน่าฝ้ายครั่ง เมื่อผลสุกเปลือกไม่ล่อนออกจากเนื้อเละง่าย มีกลิ่นหอมรสหวาน
2. น้อยหน่าหนังหรือน้อยหน่าญวน แบ่งออกได้ 3 สายพันธุ์ คือ น้อยหน่าหนังเขียวมีผลสีเขียว น้อยหน่าหนังทองเกิดจากการเพาะเมล็ดแล้วกลายพันธุ์ผลมีสีเหลืองทอง และน้อยหน่าหนังครั่งเกิดจากการเพาะเมล็ดแล้วมีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับหนังทองแต่มีผลสีม่วงเข้มคล้ายน้อยหน่าฝ้ายครั่ง ลักษณะภายในผล เนื้อมากเหนียวละเอียด สีขาวในน้อยหน่าหนังเขียว สีขาวอมชมพูในน้อยหน่าหนังครั่ง และสีขาวอมเหลืองในน้อยหน่าหนังทอง เมื่อผลสุกเปลือกล่อนเป็นแผ่นลอกจากเนื้อได้ กลิ่นหอมรสหวาน
3. น้อยหน่าลูกผสมหรืออะติมัวย่า เป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างน้อยหน่า ( A. squamosa Linn.) กับ เชริมัวย่า (A. cherimola Mill.) มีชื่อสามัญว่า atemoya ปัจจุบันสถานีวิจัยปากช่อง ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์น้อยหน่าและน้อยหน่าลูกผสม และได้คัดเลือกลูกผสมที่ตรงตามวัตถุประสงค์รวบรวมไว้ในแปลงฯ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ขนาดของลำต้น ขนาดใบ ขนาดผล ผิวผล และลักษณะเนื้อเป็นต้น
4. ลูกผสมอื่นๆ เป็นกลุ่มพันธุ์ที่กลายพันธุ์เองจากธรรมชาติที่พบในแปลงเกษตรกร ไม่สามารถทราบชื่อพ่อแม่พันธุ์หรือที่มาของพันธุ์ได้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับกลุ่มน้อยหน่าลูกผสมหรืออะติมัวย่า
การปลูก
ระยะปลูก 4 x 4 เมตรจำนวน 100 ต้น/ไร่
ศัตรูพืช
1. แมลงวันผลไม้
2. หนอนเจาะกิ่ง
3.ด้วงกินใบหรือแมลงค่อมทอง
4.ด้วงทำลายดอก
5.หนอนผีเสื้อเจาะผล
6.เพลี้ยแป้ง จะเข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน ช่อดอก และผลน้อยหน่า หากระบาดรุนแรงจะทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเหี่ยวแห้งไปในที่สุด และเพลี้ยยังถ่ายมูลซึ่งเป็นน้ำหวานออกมาเป็นแหล่งเพาะราดำ ทำให้น้อยหน่าเสียคุณภาพ ซึ่งเพลี้ยแป้งจะเคลื่อนย้ายจากพื้นดินขึ้นบนต้นน้อยหน่าตั้งแต่ระยะแทงตาดอกจนถึงผลแก่ โดยมีมดเป็นพาหะพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้น ทำให้การระบาดของเพลี้ยแป้งรุนแรง
การปัองกันกำจัด
7.แมลงวันทองระบาดในช่วงผลแก่เริ่มสุก
อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 110-120 วัน
Category: พืชไม้ผล ด-น