กรดแอบไซซิก
กรดแอบไซซิก
กรดแอบไซซิก Abscisic acid (ABA) เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโต สารประกอบคาร์บอน 15 อะตอมประเภทเซสควิเทอร์พีน เดิมคือสาร abscisin II หรือ Dormin มีกลไกการยับยั้งการแตกใบอ่อน การปิดของปากใบ การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ การสุกแก่ของผลไม้ การป้องกันการเข้าทำลายของโรคพืช กระตุ้นการร่วงของใบฝ้าย และทำให้เกิดการพักตัวของตายอด
1. การกระตุ้นการร่วงหลุดของผล : องุ่น ใช้อัตรา 0.20×10-3 mol/L พ่นที่ก้านช่อดอก
2. การยับยั้งความสูงของลำต้น : พริกหวาน ใช้อัตรา 3.8 mM พ่นทางใบที่อายุ 25 วัน ก่อนย้ายปลูก
3. การยับยั้งการแตกยอดใหม่ :
– สาลี่ ใช้อัตรา 2,600 ppm พ่นทั่วต้น 3 ครั้ง ทุกๆ 2 สัปดาห์
– แอปเปิ้ลใช้อัตรา 5,000 ppm พ่นทั่วต้น 3 ครั้ง ทุกๆ 2 สัปดาห์
4. การเพิ่มความทนทานต่อความแล้ง :
- ฝ้าย ใช้อัตรา 20 ppm พ่นที่ยอด ทุกๆ 3 วัน 3 ครั้งในสภาพขาดน้ำ
- ข้าวเหนียวดำใช้อัตรา 20 ppm พ่นสารที่อายุ 21 วัน ก่อนงดน้ำ
- ข้าวใช้อัตรา 20 ppm แช่เมล็ดในสาร 24 ชั่วโมงก่อนเพาะเมื่อพืชอายุ 2 สัปดาห์ ทำการงดน้ำ
5. การเพิ่มความทนทานต่อสภาพความเค็ม : ถั่วเหลือง ใช้อัตรา 80 μM พ่นทางใบที่อายุ 14 วัน ก่อนได้รับความเค็ม
งานวิจัยในข้าว
– ใช้อัตรา 5 μM ผสมในสารละลาย ก่อนย้ายปลูกในสารละลายที่เติมเกลือ
– ใช้อัตรา 100 μM พ่นสารให้กับพืชที่ปลูกในสารละลายที่เติมเกลือ
– ใช้อัตรา 1 μM และ 10 μM ให้สารกับเมล็ดที่เริ่มงอกแล้วนำไปปลูกในแปลงที่มีสภาพดินเค็ม
6. การทนต่อความร้อน : ข้าว ใช้อัตรา 85 μM พ่นทางใบที่อายุ 14 วัน ก่อนให้อุณหภูมิสูง
7. การเพิ่มความทนทานต่อการได้รับแคดเมียม : งานวิจัยผักกาดหางหงษ์ใช้อัตรา 5 mol/L ผสมลงในสารละลายธาตุอาหารที่มีแคดเมียม
8. การเพิ่มความต้านทานจากการเข้าทำลายของโรคพืช : มะเขือเทศ ใช้อัตรา 7.58 μM พ่นสาร 2 วัน ก่อนการปลูกเชื้อสาเหตุโรคลงบนใบพืช
By Satja Prasongsap
Category: สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช, สารเคมี