banner ad

โรคใบด่างเหลืองมะเขือ

| November 29, 2023

โรคใบด่างเหลืองมะเขือ (เชื้อไวรัส Begomovirus)

1. มะเขือเปราะ ใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกมีสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ใบมีอาการด่างสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อนหรือเหลือง ใบที่แตกใหม่มีขนาดเล็ก ต้นแคระแกร็น ทำให้มะเขือไม่ติดผลหรือ ติดผลน้อยมาก ผลจะบิดเบี้ยว และมีขนาดเล็กผิดปกติ

การป้องกันกำจัด

1.1 ใช้พันธุ์ต้านทานโรค

1.2. คัดเลือกกล้ามะเขือที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก

1.3. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง กระทกรก ลำโพง โทงเทง และขี้กาขาว

1.4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ถอนแล้วนำไปทำลายนอกแปลงปลูก

1.5. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้โดยพ่นสารฆ่าแมลงหวี่ขาวยาสูบซึ่งเป็นพาหะนำโรค เช่น บูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ น้ำมันปิโตรเลียม เช่น ไวต์ออยล์ 67% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

1.6. ไม่ปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค ได้แก่ พืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ตระกูลมะเขือ พริก ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน เป็นต้น ใกล้แปลงปลูกมะเขือ

7. แปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกมะเขือซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค

Category: โรคพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news