banner ad

โรคโคนเน่า

| November 29, 2023

โรคโคนเน่า หรือ โคนเน่าขาด (เชื้อรา Aspergillus niger)

1.ถั่วลิสงเป็นแผลสีน้ำตาลบริเวณใบเลี้ยงซึ่งจะลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้เน่าตายก่อนงอก ต้นที่สามารถงอกพ้นผิวดิน จะมีอาการเหี่ยวเหลือง ยุบตัว โคนต้นระดับผิวดินเป็นแผลสีน้ำตาล เน่า พบกลุ่มสปอร์สีดำของเชื้อราปกคลุมบริเวณแผล เมื่อถอนขึ้นมา ลำต้นจะขาดจากส่วนราก

**** เชื้อราสาเหตุโรคสามารถติดไปกับเมล็ดและอาศัยอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้ถั่วลิสงเป็นโรคในฤดูถัดไป

การป้องกันกำจัด

1.1 ไม่ควรปลูกถั่วลิสงซ้ำที่เดิมซึ่งเคยมีการระบาดของโรค หรือไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมเป็นเวลานาน หลาย ๆ ปี เพราะเชื้อสาเหตุโรคอาจสะสมอยู่ในดิน ทำให้เกิดโรคได้ ควรปลูกพืชที่ไม่ใช่ตระกูลถั่วสลับ เช่น ข้าวโพด

1.2. เมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกต้องมีคุณภาพดีมีลักษณะสมบูรณ์ ความงอกดี และไม่ควรใช้เมล็ดพันธุ์ ที่เก็บไว้นานเกิน 6 เดือน

1.3. ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอโพรไดโอน 50% WP หรือ คาร์เบนดาซิม 50% WP หรือ คาร์บอกซิน 75% WP อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ แคปแทน 50% WP อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม

1.4. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการของโรค ถอนต้นที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก และราดดินบริเวณโคนต้น และใกล้เคียง ด้วยสาร ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคาร์เบนดาซิม 50% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บอกซิน 75% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จำนวน 2-3 ครั้ง

1.5. ในแปลงที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคต่อไป

Category: โรคพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news