banner ad

โรคใบไหม้

| November 29, 2023

โรคใบติดหรือใบไหม้ (เชื้อรา Rhizoctonia solani)

1. ทุเรียน มักพบอาการของโรคที่ใบอ่อนก่อน โดยอาการเริ่มแรกพบแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวกบนใบ ต่อมาแผลขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง ถ้ามีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยมีลักษณะคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะไหม้ แห้ง และหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง โรคจะลุกลามทำให้ใบไหม้เห็นเป็นหย่อม ๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นเสียรูปทรง

การป้องกันกำจัด

1.1. ตัดแต่งกิ่ง ตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมและมีทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้ทุเรียนได้รับแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดี เป็นการลดความชื้น ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค
1.2. ในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูงและมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบ
1.3. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น นำไปทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 30 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 65.2% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คิวปรัสออกไซด์ 86.2% WG อัตรา 10 – 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ + คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 24.6% (14% copper metal) + 22.9% (14% copper metal) WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เพนทิโอไพแรด 20% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลูไตรอะฟอล 12.5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โทลโคลฟอส-เมทิล 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น

Category: โรคพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news