banner ad

โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย

| November 29, 2023

โรคใบด่างจุดวงแหวนเนื้อเยื่อตาย (เชื้อไวรัส Tomato necrotic ringspot virus)

A. พริก พบอาการใบด่างสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อน เกิดอาการจุดวงแหวนบนเนื้อใบ และยังพบอาการแผลเนื้อเยื่อตายสีน้ำตาลทั้งบนผลพริก ใบ และกิ่งก้าน ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต

การป้องกันกำจัด
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค

2. ไม่นำเมล็ดพริกจากต้นที่เป็นโรค มาเพาะขยายพันธุ์

3. ควรเพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง และคัดเลือกกล้าพริกที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก

4. หมั่นตรวจแปลงปลูก หากพบพริกที่แสดงอาการของโรคให้ถอนและนำไปทำลาย หรือฝังดินนอกแปลงทันที

5. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง และกระทกรก

6. ไม่ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น มะเขือต่าง ๆ ยาสูบ แตงกวา ฟักทอง บวบเหลี่ยม และ มะระจีน

7. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้โดยพ่นสารฆ่าเพลี้ยไฟพริก ซึ่งเป็นพาหะ
นำโรคนี้ เช่น สาร สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรมีซิเฟน 24% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ
อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

Category: โรคพืช

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news