banner ad

กุ่มบก

| November 23, 2012 | 0 Comments

กุ่มบก

ชื่ออื่นๆ : ผักก่าม สะเบา ถะงัน เดิมถะงัน

ชื่อวงศ์ : CAPPARICEAE

ชื่อสามัญ : Cochroach berry

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cretava adansonii DC.ssp.trifoliata (Roxb.) Jacobs.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือมีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้าง โคนใบเบี้ยว รูปรีหรือรูปไข่ปลายเรียงแหลมโคนสอบ ขอบเรียบ เมื่ออ่อนใบบางนุ่ม เมื่อแก่ใบหนา ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกดอกพร้อมๆ กับการผลัดใบ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยงรูปรี ปลายมนแหลม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสี่เหลือง หรือชมพูอ่อน รูปรี เกสรเพศผู้สีม่วง โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้านผลกลมเปลือกมีจุดสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ เมล็ดคล้ายเกือกม้า รูปไต

การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อน มาดองกับน้ำเกลือ รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ทางยา ลูกขับลม ฆ่าพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แก้ฝี เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้บวม บำรุงไต บำรุงหัวใจ ทาแก้โรคผิวหนัง แก่น แก้ริดสีดวง ผอมเหลือง

การขยายพันธุ์ : เมล็ด

การปลูกและการดูแล : การปลูก นิยมปลูกตามร่มน้ำที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดวัน

สรรพคุณ : ราก แก้บวม บำรุงไฟ แก้อาเจียน

เปลือก ขับลม ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ

แก่น แก้รีดสีดวงผอมเหลือง แก้นิ่ว

ใบ ขับลม แก้พยาธิผิวหนัง กลากเกลื้อน

ดอก แก้เจ็บตาเจ็บคอ

กระพี้ ช่วยทำให้ขี้หูแห้งออกมา

 

โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ก-ณ

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news