banner ad

เห็ดพิษ

| January 4, 2010

เห็ดพิษ

    คนส่วนใหญ่เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดกันมา โดยใช้ชื่อท้องถิ่นเป็นตัวชี้บ่ง ซึ่งบางท้องถิ่นสามารถใช้ชื่อเห็ดชี้บ่งได้ เช่น เห็ดระโงกหินหรือเห็ดตายซากชนิด Amanita verna และ Amanita virosa เห็ดพิษทั้ง 2 ชนิดเมื่อยังอ่อนมีลูกคล้ายไข่มีเปลือกหุ้มเหมือนไข่ขาวหรือระโงกขาว ส่วน Amantita princeps เป็นเห็ดชนิดรับประทานได้ ซึ่งถ้าเก็บเห็ดอ่อนที่ยังอยู่ระยะมีเปลือกหุ้มหรือเพิ่งออกมาจากไข่จะสังเกตยาก วิธีแยกรับประทานได้และเห็ดมีพิษของเห็ดกลุ่มนี้คือ สังเกตลักษณะรูปทรงของเปลือกหุ้มดอกอ่อนที่ปริแล้วกลายเป็นรูปถ้วยติดอยู่ที่โคนดอก ชนิดเห็ดรับประทานได้มีก้านรูปทรงกระบอกตั้งอยู่ในถ้วยรูปทรงกระบอก ผิวก้านไม่ติดกับผิวถ้วยโดยรอบ แต่เชื่อมติดที่ก้นถ้วยเท่านั้น ปากห้วยกว้าง ต่างจากเห็ดพิษซึ่งมีโคนก้านโป่งเป็นกระเปาะ บริเวณที่เป็นกระเปาะเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกับถ้วย ปากถ้วยบางบานออกเล็กน้อย

เห็ดส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ชื่อพื้นเมืองชี้บ่งได้ เช่น เห็ดกระโดงตีนต่ำ เห็ดกระโดงตีนสูง เห็ดกระโดง เห็ดยูงหรือนกยูง เป็นต้น เพราะบางชนิดจัดเป็นเห็ดมีพิษ ความสูงไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้เกิดความสับสนได้ จึงต้องมีชื่อวิทยาศาสตร์กำกับบ่งบอกชนิดที่แน่นอน เช่น เห็ดกระโดนตีนต่ำครีบเขียว Chlorophyllum molybdites และเห็ดกระโดนตีนต่ำครีบเขียวหม่น มีชื่อว่า Clarkeinda trachodes จัดเป็นเห็ดมีพิษรับประทานไม่ได้โดยสังเกตจากสีของที่ดอกสีขาว แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเทาหรือเขียวหม่นเมื่อดอกบานเต็มที่และดอกแก่แตกต่างจากเห็ดกระโดงปีต่ำชนิดรับประทานได้ซึ่งมีหลายชนิดที่มีสีขาวไม่เปลี่ยนสีเมื่อเป็นดอกแก่ สำหรับเห็ดกระโดนตีนสูงมีลักษณะคล้ายเห็ดกระโดงตีนต่ำ จัดเป็นเหตุรับประทานได้มี 2 ชนิด คือ เห็ดยูงหรือเห็ดนกยูง Macrolepiota procera  และเห็ดร่มกันแดด Macrolepiota procera

Order Agaricale

1. Family Agaricaceae : เห็ดกระโดนตีนต่ำครีบเขียว Chlorophyllum molybdites  มีสารพิษ เห็ดสปอร์สีน้ำเงิน Heinemannomyces splendidissma, เห็ด Lepidota rubrotincta, เห็ดดาวกระจาย Leucocoprinus fragillissimus, เห็ดกระดุมทองเหลือง Agaricus trisulphuratus   ยังไม่มีรายงานว่าทานได้

2. Family Clavariaceae (เห็ดกลุ่มปะการัง) เห็ดปะการังสีโกโก้ Clacaria cacao ยังไม่มีรายงานว่าทานได้

3. Family Marasmlaceae เฟ็ดเหลืองเรณู Cyptotrama asprata, เห็ดเกล็ดขาว Marasmiellus candidus ยังไม่มีรายงานว่าทานได้

4. Family Nidulariaceae เห็ด Cyathus striatus ยังไม่มีรายงานว่าทานได้

5. Family Pleurotaceae เห็ดดอกส้าน Amanita mira, เห็ดสับปะรด Amanita perpasta, เห็ดหนามทุเรียน Amanita sculpta, ยังไม่มีรายงานว่าทานได้ เห็ดไข่พอกขาว เห็ดระโงกพอกขาว Amnita pseudoporphyria, เห็ดหัวเสือดำ Amanita pantherina รับประทานไม่ได้มีสารพิษ

6. Family Entolomataceae : เห็ดกระดิ่งหยก Rhodophyllus virescens มีสารพิษ

Order Boletales

1. Family Boletinellaceae เห็ดตับเต่าสีน้ำตาล เห็ดห้า Phaeogyroporus braunii ทานไม่ได้มีสารพิษ แต่ถ้าต้มให้สุกรับประทานได้

2. Family Paxillaceae เห็ดหิ้งน้ำตาลอมเหลือง Paxillus panuoides 

3. Family Sclerodermataceae เห็ดไข่มุกญี่ปุ่น Calostoma japonicum มีสปอร์สั้น มีหัวสวยงาม เห็ดลูกฝุ่นก้านวุ้นเส้น Calostoma ravenelii ยังไม่มีรายงานว่าทานได้  เห็ด Scleroderma cirinum  รับประทานไม่ได้มีสารพิษ

สารพิษ (toxin) จากเห็ด

สารพิษในเห็ดแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆได้แก่

1. Protoplasmic poisons เป็นกลุ่มของสารพิษที่เข้าทำลายเซลล์และตามมาด้วยการล้มเหลวของอวัยวะส่วนใหญ่ทำให้เสียชีวิต ประกอบด้วยสารพิษกลุ่มต่างๆ

- Cyclopeptide แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ amatoxin (amanitin) ประกอบด้วยกรดอะมิโน 8 โมเลกุล และ phallotoxin ประกอบด้วยกรดอะมิโน 7 โมเลกุล

อาการเมื่อรับประทานสารพิษ Armanitin มีระยะฟักตัว ประมาณ 6-24 ชั่วโมง ปกติประมาณ 10 ชั่วโมง หลังจากรับประทานเหตุเข้าไปถึงขั้นแสดงอาการ มีอาการท้องร่วงเป็นตะคริวที่ท้องคลื่นเหียน และอาเจียน โดยจะแสดงอาการประมาณ 1 วัน หลังจากนั้นมีอาการตับและไตวาย ทำให้เสียชีวิตลักษณะซึ่งเป็นสัญญาณที่แน่นอนของสารพิษชนิดนี้คื อระยะแรกของการได้รับสารพิษ มีระยะฟักตัวนาน จะแสดงอาการเมื่อเซลล์เป็นจำนวนมากถูกทำลายไปแล้ว การรักษาคนไข้ที่ได้รับสารพิษชนิดนี้ยากที่สุด

- Mnomethyl hydrazine (Gyromitrins) สารพิษที่สร้างคือ gyromitrin และไม่ถูก hydrolized จะเปลี่ยนเป็น monomethyl hyddrazine มีจุดเดือดที่ 87.5 องศาเซลเซียส อาการบวมใหญ่ คลื่นเหียนและอาเจียน ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำหรือเลือ ดเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ เจ็บที่ท้อง

- Orellanine อาการกระหายน้ำอย่างมาก มีอาการปากแห้งและแสบร้อนในปาก ปวดศีรษะ หนาว ปวดท้อง คลื่นเหียน อาเจียน กระตุ้นการถ่ายปัสสาวะในตอนต้นและค่อยๆลดลงจนหยุดในที่สุด ในรายที่รุนแรงมีอาการ BUN (blood urea nitrogen) เป็นสีกุหลาบและตามมาด้วยอวัยวะ (ไต) ถูกทำลาย

2. neurotoxins เป็นสารพิษที่ทำให้เกิดอาการกับระบบประสาทเช่นเหงื่อออกมากโคม่าชักเริ่มเคลิ้มตื่นเต้นสลดหดหู่ เป็นต้น ประกอบด้วย

- muscarine ทำให้เกิดโรค PSL syndrome (perspiration, salivtion, lachrymation อาการมีเหงื่อออกมาก มีน้ำตาไหลและน้ำลายไหล ในรายที่รุนแรงอาจมีการเต้นของชีพจรช้า ความดันโลหิตต่ำจนถึงขั้นอันตราย ส่วนใดเด็ดขาดเสียชีวิตได้

- ibotenic acid- muscimal  มีอาการเมา เคลิบเคล้ม เพ้อฝัน บ้าคลั่ง เพ้อ หลับลึก

- psilocybin ทำให้ผู้รับประทานมีอาการเคลิบเคลิ้ม เพ้อเพ้อฝัน นอกจากนั้นยังพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน หมดแรง อัมพาตชั่วคราว และ severe (ไม่ถึงตายX เป็นต้น

3. Gastrointestinal irristants เป็นสารพิษที่เกิดอาการอย่างรวดเร็ว มีอาการคลื่นเหียน อาเจียน เป็นตะคริวที่ช่องน้อยท้องเสีย เป็นกลุ่มสารพิษซึ่งมีเห็ดมีพิษในกลุ่มนี้มากที่สุด อาการแสดงภายใน 15 นาทถึง 4 ชั่วโมง หลังจากรับประทานเห็ดมีน้อยชนิดมากที่ทำให้มีอาการถึงเสียชีวิต อาการโดยทั่วไปคือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือทั้งสองอย่าง เป็นตะคริวที่ช่องท้อง

4. Disulfiram like toxins เป็นกลุ่มซึ่งปกติไม่เป็นพิษและไม่มีอาการป่วย ยกเว้นจะรับประทานก่อนหรือหลังดื่มแอลกอฮอล์ 24-72 ชั่วโมง ซึ่งกรณีนี้จะมีอาการผิดอย่างรุนแรง คือสารพิษ coprine อาการร้อนและมีเหงื่อออกที่หน้า หน้าแดง มีอาการแดงต่อมาที่คอและหน้าอก หายใจเร็วและหายใจลำบาก

Category: เห็ด

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news