banner ad

เห็ดราขนาดใหญ่

| January 3, 2010

เห็ดราขนาดใหญ่

เห็ดประกอบไปด้วย หมวก cap ครีบ gill วงแหวน ring ก้าน stalk เปลือกหุ้มดอกอ่อน volva

การจำแนกเห็ดราขนาดใหญ่เป็น 16 กลุ่ม โดยกลุ่ม 1-12 Basidiomycota สร้างสปอร์สืบพันธุ์บนก้านรูปใบพาย(basidium) สปอร์ที่เกิดเรียก basidiospore จำนวนสปอร์ในแต่ละ basidium มี 4 หรือ 2 สปอร์  และกลุ่ม 13-16 Ascomycota สร้างสปอร์ในถุงหรืออับสปอร์ ascus รูปร่างของถุงส่วนมากเป็นแแบบใบพายหรือทรงกระบอก ภายในบรรจุสปอร์ ascospore จำนวนสปอร์มี 8สปอร์ ดังนี้

1. เห็ดมีครีบ (agarics or gill mushrooms) มีรูปร่างหลายแบบ ได้แก่ แบบร่ม แบบกรวย หรือพัด เป็นต้น ด้านล่างมีลักษณะเป็นแผ่นบางคล้ายแผ่นครีบเป็นที่ผลิตสปอร์ต เห็ดในกลุ่มนี้อาศัยสีสปอร์แยกแยะได้ถึงวงศ์และสกุล จำเป็นต้องทำการพิมพ์สปอร์ตโดยตัดหมวกไปวางบนแผ่นกระดาษขาวหรือดำ ให้ด้านที่มีครีบสัมผัสกับกระดาษเพื่อให้สปอร์ตกลงบนพื้นกระดาษทับถมกันจนเกิดสีเด่นชัด เช่น สีขาว สีน้ำตาล เป็นต้น ดอกเห็ดขึ้นบนดิน บนท่อนไม้ ใบไม้ผุหรือมูลสัตว์ เป็นกลุ่มเห็ดสดเนื้อนิ่ม เปราะแตกหักง่าย และเน่าเร็ว เช่น เห็ดขาว เห็ดแดงน้ำหมาก เห็ดฟานน้ำตาลแดง เห็ดฟานสีทอง

2. กลุ่มเห็ดมันปู (chanterelles) ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายแตiหรือแจกันปากกว้าง ผิวด้านนอกของกรวยเป็นสันนูนแทนแผ่นครีบ ซึ่งมีลักษณะหนาและแคบกว่าครีบ เช่น เห็ดมันปูใหญ่ Cantharellus cibarius  เห็ดกรวยเกล็ดทอง Gomphus floccosus (มีสันนูนหยักย่นและเชื่อมติดกันบางแห่ง) บางชนิดไม่เป็นสันนูนแต่เป็นคลื่นหรือเรียบ เช่น เห็ดขมิ้นใหญ่หรือขมิ้นหลวง Craterellus odoratus เห็ดขมิ้นน้อย Craterellus aureus เป็นต้น เนื้อเห็ดสด

3. กลุ่มเห็ดตัดเต่า(boletes) ดอกเห็ดมีรูปร่างคล้ายร่มคล้ายเห็ดกลุ่มมีครีบ และมีเนื้อสดเน่าเปื่อยเร็ว ด้านล่างของหมวกเป็นรูเล็กๆ เต็มผิวหมวกด้านล่าง แยกเป็นชั้นจากผิวหมวก ชั้นที่เป็นรูนี้เห็ดบางชนิดจดึงแยกออกจากเนื้อหมวกได้ง่าย สปอร์เกิดบนผิวภายในรูที่มีรูปร่างขนาดและความยาวท่อรูแตกต่างกัน เช่น เห็ดตับเต่าเกล็ตแดงคล้ำ Boetellus emodensis มีรูรูปเหลี่ยม(หกเหลี่ยม) เห็ดดาวลูกไก่ (Filoboletus manipularis) มีรูกลมใหญ่เป็นต้น

4. กลุ่มเห็ดหิ้ง (polypore and bracket fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างเป็นแผ่นหรือก้อนหรือเป็นดอก ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวหรือซ้อนกันเป็นชั้นหรือหิ้ง เนื้อเห็ดเหนียว เมื่อแห้งแล้วแข็งคล้ายไม้หรือเปลือกไม้ ไม่เน่าสลายเหมือนเนื้อสด ข้อสำคัญด้านล่างเต็มไปด้วยรู ปากรูมีรูปร่างแตกต่างกัน เช่น เห็ด Polyporus alveolarius ขึ้นเป็นดอกเดียว เป็นกลุ่มบนขอนไม้ ด้านล่างเป็นรูกลมเล็กขึ้นบนลำต้นไม้ที่ตายแล้วและบนขอนไม้ เห็ดมณฑาน้อย Collrtica montagnei  var. montagnei ขึ้นบนพื้นดิน เห็ดชนิดนี้มีรูปหลายเหลี่ยมเมื่อเป็นดอกอ่อน ซึ่งบางส่วนขอรูปริแตกออกกลายเป็นกล้องวงกลมซ้อนกันหลายคล้ายวงครีบ อาจจะยังคงเหลือร่องรอยรูเห็ดบ้างบริเวณใกล้ขอบหมวก เห็ดกรวยจีบ Lentinus simillis มีรูแบบคลี่ซึ่งเชื่อมติดกันบางตอน และลักษณะพิเศษคือมีก้อนเส้นใยติดก้านซ่อนอยู่ใต้พื้นดินเป็นก้อนแข็ง เรียกก้อน sclerotium เห็ด Ganoderma australe

5. กลุ่มเห็ดแผ่นหนัง (leather fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างเป็นแผ่นคล้ายพัดไม่มีก้าน เนื้อเหนียวแห้งแล้วแข็ง ขึ้นบนขอนไม้ซ้อนกันเป็นชั้นลดหลั่น หรือเรียงเป็นแถวอยู่ติดกันหรือซ้อนกันเป็นกอ เช่น เห็ดกะหล่ำดิน (Thelephora palmata) ผิวด้านล่างซึ่งเป็นที่เกิดสปอร์มีผิวพื้นเรียบ เช่น เห็ดใบตองแห้งหรือหางไก่งวงปลอม Stereum austrea เป็นต้น

6. กลุ่มเห็ดฟัน (tooth fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างหลายแบบ แบบมีหมวกและก้านด้านล่างของหมวกเต็มไปด้วยแท่งเล็กๆ ปลายแหลมคล้ายซี่ เห็ดในกลุ่มนี้มีเนื้อสดแห้งและเหนียว สปอร์เกิดบนซี่ฟัน เช่น เห็ดเม่นน้อย Hydnum repandum เป็นต้น บางชนิดไม่มีหมวกรูปร่างจึงเป็นแบบพุ่มพวงของซี่ฟันที่มีขนาดยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตรปลายแหลมเรียวเล็กชี้ลงดิน ห้อยติดอยู่บนขอนไม้หรือต้นไม้ที่ตายแล้ว เช่น เห็ดหัวลิงหรือเห็ดภู่มาลา Hericium erinaceus เป็นต้น

7. กลุ่มเห็ดปะการัง (coral fungi) ดอกเห็ดมีรูปร่างหลากหลาย มีชนิดเป็นแท่งตั้งตรง รูปทรงกระบอกหรือรูปใบพาย เช่น เห็ดปะการังหนอนขาว Clavaria vermicularis เป็นต้น บางชนิดมีรูปร่างคล้ายรูปปะการังหรือมีลำต้นแตกแขนง เช่น เห็ดปะการังหงอนไก่ Clavulina cristata  และเห็ดปะการังยอดสีฟ้า Ramaria cyanocephala

8. กลุ่มเห็ดลูกฝุ่น (puffballs) ดอกเห็ดเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ มีรากหรือไม่มีราก มีก้านหรือไม่มีก้านผิวบาง เมื่อเป็นดอกอ่อนภายในอ่อนนุ่มและยืดหยุ่น เมื่อแก่เต็มไปด้วยผงสปอร์คล้ายผงฝุ่น ด้านบนมีรูเปิดหรือปริแตก เมื่อดอกเห็ดแก่เกิดบนพื้นดินหรือบนกิ่งไม้ผุ เช่น เห็ดลูกฝุ่นขอนไม้ Lycoperdon pyriforme เห็ดหัวเข่าหรือก้อนกรวด Pisolithus tinctorius  และเห็ด Scleroderma verrucosum เป็นต้น

9. กลุ่มเห็ดดาวดิน (earthstars) ได้แก่กลุ่มพวกเห็ดเผาะรูปทรงกลมหรือรูปไข่คล้ายเห็ดลูกฝุ่นแต่มีผนังหนา 3 ชั้นเชื่อมติดกันผนังเหนียวเมื่อดอกแก่ผนังชั้นนอกและชั้นกลางแตกออกเป็นแฉกคล้ายรัศมีดาวเผยให้เห็นถุงกลมของผนังชั้นในที่มีผิวบางคล้ายเห็นลูกฝุ่นภายในมีผลสเปอร์ซึ่งกระจายออกมาทางรูเปิดด้านบนของถุงกลมเมื่อดอกแก่

10. กลุ่มเห็ดเขาเหม็น (stinkhorns) ดอกก่อนลูกกลมมีเปลือกหุ้มหนาคล้ายเปลือกไข่เมื่อโตขึ้นผิวด้านบนปีแตกออกภายในเปลี่ยนแปลงเป็นรูปร่างหลายแบบโทรออกมาจากดอกอ่อนเป็นแท่งคล้ายเขาสัตว์ที่มีเนื้อเห็ดเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำเช่นเห็ดเขาเหม็นสีเหลืองมีทั้งสีขาวและสีเหลืองอ่อนเป็นต้นนอกจากนี้บางชนิดยังมีร่างแหปกคลุมส่วนที่เป็นแท่งรูพรุนด้วยเช่นเห็ดร่างแหกระโปรงยาวซึ่งมีสีหลากหลายเช่นสีขาวสีเหลืองสีชมพูเป็นต้นบางชนิดมีรูปคล้ายมือเช่นเห็นมือขาวเป็นต้นบางชนิดมีรูปคล้ายปลาหมึกเช่นเห็ดปลาหมึกเป็นต้นลักษณะที่สำคัญของเห็ดกลุ่มนี้คือสร้างน้ำเมือกเหนียวส่งกลิ่นเหม็นเพื่อล่อแมลงมาดูดกินเป็นการกระจายพันธุ์เห็ดในเมื่อเดี๋ยวเต็มไปด้วยสปอร์เห็ดนะเหนือมีสีดำอมเขียวเกิดบนส่วนต่างๆแล้วแต่ชนิดเหตุเช่นเห็ดมือขาวน้ำเมื่อเกิดที่ผิวด้านในของส่วนที่เป็นนิ้วมือเป็นต้น

11. กลุ่มเห็ดรังนก ดอกเห็ดเมื่อเป็นดอกแก่คล้ายรังนก มีขนาดเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีเยื่อบางๆ ปิดปากรัง ภายในมีก้อนกลมลูกเดียวหรือหลายลูก ชนิดที่มีหลายลูก ลูกจะมีลักษณะแบนเล็กน้อยและผิวเป็นมันเงา ภายในเต็มไปด้วยสปอร์ พบเกิดบนขอนไม้ผุ เช่น เห็ดรังนก Cyathus striatus เป็นต้น

12. กลุ่มเห็ดหูหนู jelly fungi เห็ดในกลุ่มนี้มีเนื้อเห็ดเหมือนแผ่นวุ้นหรือแท่งวุ้นที่เหนียวยืดหยุ่นเล็กน้อย รูปร่างมีหลายแบบ แบบเป็นแผ่นงอกคล้ายแผ่นหูหรือคล้ายช้อน มีหลายสี เช่น เห็ดหูหนูสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลแดง สีน้ำตาลอมม่วง เป็นต้น ผิวด้านล่างมีขนคล้ายกำมะหยี่ที่มีความยาวต่างกันในเห็ดแต่ละชนิด ผิวด้านบนเรียบเป็นมันเงา สปอร์เกิดบนผิวด้านนี้เกิดบนกิ่งไม้หรือต้นไม้ที่แห้งตายแล้วโดยคว่ำเอาด้านที่เกิดสปอร์ลง เช่น เห็ดหูหนูรวงผึ้ง Auricularia delicata เป็นต้น ชนิดรูปร่างแบบใบพาย มีสีสด และไม่มีขน เช่น เห็ดพายทองหรือเห็ดงานทอง Dacryopinax spathularia เป็นต้น

13. กลุ่มเห็ดก้อนถ่านและลิ้นพสุธา (carbon balls and earth tonges) กลุ่มนี้มีรูปร่างหลายแบบ เช่นเป็นแบบก้อนกลม แบบใบพาย แบบหมอน เป็นต้น มีสีสันต่างกัน เนื้อเห็ดแข็งและเหนียวหรือยืดหยุ่นคล้ายแผ่นยาง แบบก้อนกลมสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลอมม่วงดูคล้ายก้อนถ่าน มีชื่อว่า Daidinia concentrica เกิดบนขอนไม้ผุแบบใบพายสีดำ มีขนกำมะหยี่สีดำปกคลุม เนื้อเห็ดยืดหยุ่นค้ายางลบ เช่น เห็ดหลินจือพะสุธา Trichoglossum hirsutum เป็นต้น กลุ่มนี้ถ้าผ่าเห็ดเป็น 2 ซีกจะเห็นส่วนที่ให้กำเนิดสปอร์ มีเนื้อเป็นรูปคนโทเรียงเป็นชั้นอยู่ใต้ผิวหมวก

14. กลุ่มเห็ดถ้วย เห็ดในกลุ่มนี้มีรูปร่างเป็นถ้วยก้นตื้นหรือก้นลึก มีก้านหรือไม่มีก้าน มีสีหลากหลาย เนื้อเห็ดเหนียว อ่อนนุ่ม หรือยืดหยุ่นได้ ส่วนมากเกิดบนขอนไม้หรือกิ่งไม้ที่ผุเปื่อย เช่น เห็ดปากหมู Bulgaria javanicum เห็ดชนิดนี้มีขนาดใหญ่เกือบไม่มีก้าน ภายในถ้วยมีเนื้อเยื่อเป็นวุ้นใสสูงขึ้นมาเกือบถึงขอบถ้วย ซึ่งปิดทับด้วยชั้นของถุงบรรจุสปอร์ที่มีสีเหลืองอมส้มหรือสีเหลืองเรียงเป็นแถวเดี่ยว ดอกเห็ดอ่อนนุ่มและยืดหยุ่นคล้ายยางลบเพราะอวบน้ำ แบบถ้วยลึก เช่น เห็ดถ้วยแดงขนแวววาว Cookeina tricholoma ภายในถ้วยบุด้วยชั้นของถุงสปอร์อย่างเดียวกับซึ่งเป็นแบบถ้วยก้นลึก เป็นต้น

15. กลุ่มเห็ดโคมไฟ (morel fungi) มีรูปคล้ายโคมไฟหรือกรวยคว่ำ หมวกเป็นแอ่งหรือหลุมรูปหลายเหลี่ยมเล็กๆ คล้ายรังผึ้ง มีก้านใหญ่ เนื้อสดภายในหลุมบุด้วยชั้นของถุงสปอร์เรียงแถวเดี่ยว เช่น เห็ดโคมไฟ Morchella esculenta เป็นต้น เห็ดกลุ่มนี้ขึ้นบนพื้นดินบนที่สูง และมีอากาศหนาวเย็น เนื้อเห็ดสด

16. กลุ่มเห็ดอานม้า (saddle fungi) มีหมวกชนิดขอบหมวก 2 ข้างอยู่ตรงกันข้ามโค้งงอลงทำให้หมวกเป็นรูปอานม้า ผิวหมวกด้านล่างบุด้วยชั้นถุงสปอร์เรียงแถวเดี่ยว เนื้อเห็ดสดขึ้นบนพื้นดิน บนที่สูงอากาศหนาวเย็น

โดย อนงค์ จันทร์ศรีกุล

Category: เห็ด

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news