banner ad

ผักสลัด

| February 2, 2021

การปลูกผักสลัดในระบบไฮโดรโปนิกส์

ผักสลัดมีหลายชนิด ได้แก่ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีนคลอรอล เรดคลอรอล

โต๊ะปลูกผักสลัด : 1 โต๊ะขนาด 2*12 เมตร สามารถปลูกได้ 450 ต้น โรงเรือนหลังคาเป็นแบบเพิงหมาแหงน และแบบหน้าจั่ว

การปลูก : ทำการย้ายกล้า ๒ ครั้ง ตั้งแต่เพาะเมล็ด คือ หลังจากเมล็ดงอกในฟองน้ำแล้วในบ่อเพาะ(ในบ่อเพาะเมล็ด ค่า Ec ที่ใช้อยู่ในช่วง 600 – 800  µs/cm)  ย้ายครั้งแรกจากบ่อเพาะไปโต๊ะอนุบาลต้นกล้า ค่า Ec ที่ใช้อยู่ในช่วง 800 – 900 µs/cm  ย้ายครั้งที่ ๒       เป็นการย้ายต้นกล้าจากโต๊ะอนุบาลไปลงในโต๊ะสำหรับปลูก ค่า Ec ที่ใช้อยู่ในช่วง 1,000 – 1,200 µs/cm สำหรับผักสลัดที่มีสีแดง ค่า Ec ช่วง 1,700 – 1,800 µs/cm สำหรับผักสลัดที่มีสีแดง

ปุ๋ย A B สูตรสำเร็จที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ราคาชุดละ  3,000 บาท (1 ชุด ปุ๋ย A ผสมน้ำได้ 100 ลิตร ปุ๋ย B ผสมน้ำได้ 100 ลิตร) และค่า pH ของน้ำอยู่ที่ 6 – 7  ระบบน้ำแยกย่อยเป็นแถว หรือจะหมุนเวียนทั้งฟาร์ม ถ้าเป็นแหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำธรรมชาติ(บ่อดิน) สูบมาพักในบ่อพักซีเมนต์ก่อนปล่อยในระบบ

โรคศัตรูผักสลัด

1.โรครากเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.) บริเวณโคนต้นมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเกิดเป็นแผลเน่าลาม ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้น หักล้ม และตายก่อนจะแตกใบจริง บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทำลายเมล็ดก่อนงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอก หรืองอกออกมาแต่ไม่มีใบเลี้ยง

การป้องกันกำจัด : ทำความสะอาดรางปลูก ตากแดด เพื่อลดปริมาณเชื้อรา คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ก่อนเพาะกล้า เมื่อพบต้นกล้าที่เป็นโรค ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปทำลาย ใช้สารโพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์ 72.2% เอสแอล อัตรา 6-12 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไฮเมกซาโซล 36% เอสแอล อัตรา 22-26 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร  เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล + แมนโคเซบ 4% + 64 % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้เชื้อ BS อัตรา อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร คลุกเมล็ด ใส่บ่อเพาะอนุบาล การทำเชื้อให้ใช้กากน้ำตาล หรือกากถั่วเหลือง ข้อเสียของกากน้ำตาลทำให้รากมีสีน้ำตาล

2.โรคใบจุดหรือใบจุดตากบ (เชื้อรา Cercospora lactucae-sativa) ในผักสลัด (โดยเฉพาะผักที่มีใบกว้าง เช่น กรีนคอส บัตเตอร์เฮด) เริ่มแรกแผลมีลักษณะเป็นจุดฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อนกระจายทั่วใบ เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้นแผลจะมี ลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงซ้อนกันเป็นชั้น กลางแผลมีสีเทาหรือสีขาว มักพบเส้นใยของเชื้อราเจริญขึ้นเหนือเนื้อเยื่อพืช ขอบแผลเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายตากบ แผลมีหลายขนาดตั้งแต่จุดเล็กถึงจุดใหญ่ขนาด 1-10 มิลลิเมตร ถ้าอาการรุนแรงแผลจะต่อกันทำให้เกิดอาการใบไหม้ ถ้าเกิดกับใบอ่อนอาจทำให้เกิดอาการใบหงิกงอได้

การป้องกันกำจัด : ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปลอดโรค หรือฆ่าเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ด โดยแช่ในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส นาน 20-25 นาที เตรียมพื้นโรงเรือนให้ดี อาจโรยด้วยหินกรวด เพื่อป้องกันน้ำขัง และควรมีอากาศถ่ายเท หลังเก็บเกี่ยว ทำความสะอาดโต๊ะปลูก และพ่นด้วยสารเคมี พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อเริ่มพบโรค
ระยะเวลาเก็บเกี่ยว : ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 40 – 45 วัน (แล้วแต่ชนิดพืช)  แบ่งเป็น ระยะเพาะกล้า 15 วัน ระยะอนุบาลต้นกล้า 15 วัน และระยะย้ายปลูก-เก็บเกี่ยว 15 วัน
การตลาด     ส่งพ่อค้าคนกลางที่รับประจำแล้วส่งต่อร้านอาหาร ร้านสลัด ในกรุงเทพฯ ราคาขายส่งขึ้น-ลงตามฤดูกาล ฤดูหนาว ราคาเฉลี่ย 20 บาท/กก. ฤดูฝน ราคาเฉลี่ย 30 บาท/กก. ฤดูร้อน ราคาเฉลี่ย 150 – 200 บาท/กก.(ฤดูร้อนผักสลัดเรดโอ๊คจะมีราคาแพงกว่ากรีนโอ๊ค)
การปลูกเคลใช้  EC ในช่วง 2.4-2.8 ms/cm pH ไม่ให้เกิน 6.0 ที้งนี้ขึ้นกับสูตรสารละลายที่ใช้ด้วย สูตรที่ใช้ถ้า EC 2.4 จะมี  N 240 K 300 mg/ L และเหล็กที่ใช้เป็น    Fe-EDDH

Category: พืชผัก

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news