banner ad

สารฟลูเบนไดอะไมด์

| September 28, 2020

สารฟลูเบนไดอะไมด์ (flubendiamide)

สารกลุ่มที่ 28 เป็นตัวปรับการทำงานของตัวรับชนิดไรยาโนดีน สารฆ่ากลุ่มนี้เป็นสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยสารจะเข้าไปภายในเซลกล้ามเนื้อแมลง แล้วไปที่บริเวณsarcoplasmic reticulum ซึ่งเป็นที่เก็บสะสม calcium ion แล้วสารจะไปจับตรง ryanodinereceptors ที่อยู่บริเวณผิวของ sarcoplasmicreticulum ทำให้เกิดการกระตุ้นการปลดปล่อยcalcium ion ออกมาภายในเซล กล ้ามเนื้อ ซึ่งcalcium ion จะไปเหนี่ยวนำทำให้กล้ามเนื้อแมลงเกิดการหดตัว กล่าวได้ว่าสารฆ่ากลุ่มนี้ไปจับและกระตุ้นที่ryanodine receptors ทำให้เกิดการปลดปล่อย calcium ion ออกมาเรื่อยๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อแมลงเกิดการหดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่เกิดการคลายตัวกล้ามเนื้อแมลงจึงไม่สามารถทำงานเป็นปกติได้ เช่นกล้ามเนื้อส่วนปากไม่สามารถทำงานในการกัดกินใบพืชได้ แมลงไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นอัมพาต

สารออกฤิทธิ์ 3-iodo-N(2-mesyl-1,1-dimethyllethyl-N-{4-[1,2,2,2-tetrafluoro-1-(trifluoromethyl)ethyl]-O-tolyl}phthalamide…………20% WG , .22% SC

- หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda) อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในข้าวโพด กรณีโดรนใช้อัตรา 35 กรัมต่อไร่ผสมน้ำ 5 ลิตร

- หนอนหัวดำมะพร้าว อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในมะพร้าวที่สูงน้อยกว่า 12เมตร รวมทั้งมะพร้าวกะทิมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวที่ใช้ทำน้ำตาลในพื้นที่ระบาดรุนแรง ไม่ได้ปล่อยแตนเบียนพ่นด้วยสารฆ่าแมลง ให้ทั่วทรงพุ่ม 2ครั้ง ห่างกัน 15 วัน หากปล่อยแตนเบียน ให้ปล่อยหลังพ่นสารเคมี 2 สัปดาห์

- หนอนหน้าแมว (Darna furva) อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในปาล์มน้ำมัน พ่นให้ทั่วเมื่อพบหนอนทำลายเฉลี่ย 20 ตัวต่อทางใบ

- หนอนกระทู้หอม (Spodotera exigua) อัตรา 6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในหอมแดง หอมแบ่ง หอมหัวใหญ่ และกระเทียม เมื่อพบกลุ่มไข่เฉลี่ย 0.5กลุ่ม/1 ตรม. โดยการสุ่มนับแบบทแยงมุม 25 จุด/ไร่พ่นจนกว่าการทำลายจะลดต่ำลงกว่า 10%  อัตรา 8 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในกล้วยไม้ พ่นเมื่อพบการระบาดของหนอนกระทู้หอม 1 ตัว/ต้น อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในหน่อไม้ฝรั่ง พ่นเมื่อพบกลุ่มไข่ 0.2 กลุ่ม หรือหนอน 1 ตัว/กอ สุ่มตรวจนับ 10 กอ

- หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) อัตรา 6 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในพืชตระกูลกะหล่ำ

- หนอนเจาะสมอฝ้าย (Heliocoverpa armigera) อัตรา 8 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในพืชกระเจี๊ยบเขียว พ่นเมื่อพบการระบาดมากกว่า 0.5 ตัว/ต้น

- หนอนเจาะฝักถั่วลายจุด (Maruca testulalis) หนอนผีเสื้อสีน้ำเงิน (Lampides boeticus) อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ในถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา พ่นเมื่อพบหนอนในดอกประมาณ 20%

 

 

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)
P.O.Box 50 Chattuchak, Bangkok 10900, Thailand
Tel: 66-2940-5484
Fax: 66-2561-4667
E-mail address : herbdoa@gmail.com

Category: สารป้องกันกำจัดแมลง, สารเคมี

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news