อบเชย
อบเชย
ชื่ออื่นๆ : เชียกใหญ่ บริแวง ฝนแสนห่า มะแว สมุลแว้ง มหาปราบ มหาปราบตัวผู้โมงหอม ขนุนมะแวง จวดดง เฉียด
พญาปราบ ฮักแกง ระแวง แลงแวง อบเชยต้น เซียด ฝักดาบ โกโล่ เนอม้า สุรามริด โมง เคียด กะทังหัน
ชื่อวงศ์ : LAURACEAE
ชื่อสามัญ : Chinnamon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum sp.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 7-25 ม. ใบเดียว ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายแผ่นหนัง มีเส้นใบ 3 เส้น ออกจากโคน ด้านล่างสีนวล ดอกช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็ก สีขาวแกมเหลือง ฉ่ำน้ำ
การนำไปใช้ประโยชน์: ทางอาหาร ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักดอง ซ๊อสต่างๆ เครื่องพะโล้ ขนมคุ้กกี้ และขนมเค้ก ผงกะหรี่ เครื่องทศผสมเครื่องดื่มประเภทโคคาโคล่า แยม ไส้กรอก เบคอน ทางยา อบเชยมีคุณสมบัติที่มีรสหวานหอมให้ความสดชื่น แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ และขับลมในลำไส้ได้ดี
การขยายพันธุ์ : เมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ต่อกิ่ง ปักชำ
การเพาะกล้า
เก็บเมล็ดอบเชยที่สุก แกะเปลือกออก เพาะในแปลงเพาะกล้าที่มีแสงรำไร วางเมล็ดห่างกันประมาณ 20 เซนติเมตร ฝังเมล็ดลึก 2.5 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้ามีความสูงได้ประมาณ 15 เซนติเมตร ย้ายปลูกลงถุงชำ เลี้ยงไว้ประมาณ 4-5 เดือน สามารถนำไปปลูกลงแปลงได้
การปลูกและการดูแล : การเตรียมดินปลูก ไถพรวนดิน ขุดหลุมปลูกขนาด 30x30x30 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกในอัตรา 0.5/ต้น การเตรียมต้นกล้า การเพาะเมล็ด เมื่อแกะเมล็ดออกจากผลแล้วควรเพาะทันทีหรือภายใน 3 วัน เป็นอย่างช้า เมื่ออายุ 4 เดือน ต้นกล้าจะสูง 15 ซม. ย้ายลงถุงเลี้ยงอีก 4-5 เดือนจึงนำลงปลูก การปลูก ใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร นำต้นพันธุ์ลงปลูกในหลุม กลบดิน รดน้ำทันที
การดูแลรักษา : คลุมโคนเพื่อรักษาความชื้นในดินและป้องกันวัชพืช กำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ต้นฝนและปลายฝน ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 0.5 กก./ต้น/ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ/ต้น ใส่เดือนละครั้ง ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยหากมีการใส่ปุ๋ยมากเกินไปจะมีผลกระทบต่อกลิ่นของเปลือกต้นอบเชยได้
การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์/หัวพันธุ์ : จะเก็บเกี่ยวเมล็ด เมื่อเมล็ดเริ่มมีสีดำ หรือหลังจากดอกบานประมาณ 6 เดือน
การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์/หัวพันธุ์ : เมล็ดอบเชยไม่สามารถเก็บไว้นานได้ ถ้าเก็บไว้นานเกิน 40 วัน เมื่อนำไปเพาะเมล็ดจะไม่งอก หลังการเก็บจากต้นควรเพาะภายใน 3 วัน จะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์
สรรพคุณ
เปลือกต้น บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ขับผายลม บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้สันนิบาต แก้บิด แก้พิษร้อน แก้ปวดศีรษะ ช่วยย่อยอาหาร
ราก บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดมวนในท้อง แก้เสมหะแก้กระหายน้ำ ถ่ายโลหิต
เถา แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ แก้ปวดมวนในท้อง
เนื้อไม้ ขับเหงื่อ แก้ไข้
ใบ แก้ไข้ แก้มดลูกอักเสบ
โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute
|
มิ.ย. |
ก.ค. |
ส.ค. |
ก.ย. |
ต.ค. |
พ.ย. |
ธ.ค. |
ม.ค. |
ก.พ. |
มี.ค. |
เม.ย. |
พ.ค. |
- เก็บเกี่ยวเมล็ด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- เพาะกล้าในแปลง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เพาะเลี้ยงต้นกล้าในถุงชำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- ปลูกลงแปลง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ, พืชเครื่องเทศ