ส้มเช้ง
ส้มเช้ง
ชื่ออื่นๆ : ส้มตรา
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่อสามัญ : Sweeet Orange
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia neriifolia Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางลักษณะทรงพุ่มแน่นทึบ กิ่งแก่สีเขียวเข้ม ใบสีเขียวรูปรีปลายแหลมโคนสอบแคบกลางใบแผ่กว้าง ขอบเรียบขนาน ดอกขนาดเล็กสีขาว ผล- ลักษณะกลมสูง ฐานผลเว้าเล็กน้อย ปลายผลเป็นร่องหรือสาแหรก จากขั้วผลจนถึงปลายผล ผิวผลขรุขระมีตุ่มน้ำมันขนาดเล็กละเอียดมองไม่แด่นชัด ผิวผลมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกส้มเกลี้ยงลอกออกจากเนื้อได้ง่าย ถุงน้ำหวานมีขนาดเล็กอวบน้ำเนื้อแน่น มีสีเหลืองอ่อน เมล็ดมีขนาดกลางบาง แบน ลีบ แต่เมล็ดที่สมบูรณ์จะมีรูปทรงยาว
การนำไปใช้ประโยชน์ : รับประทานเป็นผลไม้ ลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยสมานแผล บำรุงสมอง (ผลสด)
การขยายพันธุ์ : ตอนกิ่ง
การปลูกและการดูแล : เมื่อเตรียมกิ่งพันธุ์และเตรียมดินเรียบร้อยแล้ว การปลูกส้มควรปลูกให้รากลอยถ้าปลูกแล้วรากจมหรือพูนดินกลบโคนต้นจะทำให้เกิดปัญหาต้นส้มให้ผลผลิตเพียงปีเดียวก็จะโทรม การควบคุมให้ออกดอกทำได้ยากเกิดปัญหาโรคใบแก้วและโรครากเน่าได้ง่ายการปลูกแบบรากลอยส้มจะปรับตัวได้ดีในสภาวะต่างๆ เช่นถ้าดินแฉะรากส้มก็ระเหยน้ำได้ อย่างไรก็สามารถพูนดินกลบโคนต้น ช่วงที่ส้มมีอายุ 1-2 ปี แต่หลังจากนั้นควรให้บางส่วนของรากโผล่พ้นดินออกมา การดูแล การให้น้ำต้องให้อัตราสม่ำเสมอฤดูร้อนควรให้น้ำช่วงเย็นฤดูหนาวมีน้ำค้างมากก็ควรให้น้ำช่วงเช้า แต่ถ้าสถานที่มีน้ำค้างน้อยก็ให้ช่วงบ่ายได้ เมื่อส้มเช้งออกดอกแล้วต้องลดการให้น้ำจนแฉะหรือปล่อยดินให้แห้งแล้วจึงให้น้ำจน แฉะเพราะจะทำให้ดอกร่วงได้ การให้ปุ๋ยจะให้ปุ๋ยปุ๋ยเคมีและให้ปุ๋ยทางใบเสริมโดยจะให้ปุ๋ยคอกปีละ 2 ครั้ง คือช่วงหน้าร้อนใส่กลางเดือนเมษายนและหน้าหนาวในด้านของปุ๋ยเคมีจะให้เป็นระยะ คือระยะที่ส้มกำลังออกดอกกับระยะที่ส้มให้ผลผลิตแล้ว คือ ช่วง 3 ปีแรกที่ส้มยังไม่ออกดอกจะให้ปุ๋ยสูตร 1-1-1 ในหนึ่งปีให้ปุ๋ย 4 ครั้งๆละ 2-3 กำมือ ปีแรกให้ทุก 3 เดือน ปีต่อไปก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อส้มให้ผลผลิตแล้วจะให้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสเฟตสูง เช่นสูตร 1-2-1 เป็นต้น
สรรคุณ
ใบ แก้พิษฝี แก้ปวดบวมจุกเสียดแน่นท้องมาน แก้ไข้จับสั่น แก้กระษัย ฟอกโลหิต ระบายท้อง
ผล แก้กระษัย ฟอกโลหิต แก้เสมหะ
เปลือกต้น แก้จุกเสียดพุงไร เป็นยาระบายอ่อนๆ
ทั้งต้น แก้โรคหอบหืด เป็นยาแก้แพ้
ยาง ขับพยาธิ แก้จุกเสียดปวดบวม
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ย-ฮ