รางจืด
รางจืด
ชื่ออื่นๆ : เขียว จอลอกิเออ ซั้งกะ ดุหว่า หิดพุด หนามแน่ กำลังช้างเผือก ขอบชะนางเครือเขา น้ำนอง ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ ยาเขียว ย่ำแย้ รางเย็น แออแอ
ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ: Rang Chuet
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thunbergia lauri folia Linn.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลาง เถาอ่อนสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลใบเดี่ยว รูปไข่ปลายเรียวแหลม ขอบก้านแกมใบหยักเล็กน้อย ผิวเรียบมันสีเขียวเข้ม ดอกรูปปากแตรสีม่วง ผลกลมมีงอยคล้ายหัวนก เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่า
การนำไปใช้ประโยชน์ : ใบและเถา ต้มดื่มอาการมืนเมา ขับพิษตกค้างในร่างกาย
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ทางเถา ใช้เถาแก่ปักชำ
การปลูกและการดูแล : ปลูกโดยให้นำเอากิ่งที่ได้จากการปักชำ การตอน หรือต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด มาปลูกลงดิน โดยให้ขุดหลุมปลูกมีความกว้างลึกประมาณ 1×1 ฟุต แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักประมาณ 1/4 ของหลุม กลบดินเล็กน้อย วางกิ่งปลูกหรือต้นกล้าลงกลางหลุม แล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำตามให้ชุ่มควร ปลูกริมรั้วหรือกำแพง เพื่อให้เถารางจืดสามารถยึดเกาะและเลื้อยพาดไปได้
การดูแลรักษา แสง รางจืดเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดปานกลาง คือ ไม่ต้องการแสงแดดที่จัดมากเกินไป หากมีเงาไม้ อื่นมาบังบ้างก็ไม่เป็นไร
น้ำต้องการน้ำปานกลาง ในระยะแรกปลูกต้องรดน้ำให้ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อต้นโตแล้วให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า
ดินเป็นไม้ที่ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่เลือกดินปลูก
ปุ๋ยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใส่บริเวณโคนต้นปีละ 2 ครั้ง โดยการพรวนดินโคนต้นให้ร่วนเสียก่อนจึงใส่ปุ๋ย แล้วรดน้ำตาม ฤดูกาลออกดอกรางจืดจะออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
สรรพคุณ
ราก แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษร้อนทั้งปวงถอน พิษเบื่อเมา แก้ไข้ตัวร้อน ถอน พิษไข้
เถา เจริญอาหาร แก้ตับเคลื่อน ตับทรุด แก้พิษร้อน ถอนพิษ แก้ไข้ แก้พิษสำแดง
ใบ รักษามะเร็งเพลิง แก้น้ำร้อนลวก แก้ไข้ ขับพยาธิ แก้ลมพิษ โรคผื่นต่างๆ
ทั้งต้น แก้ซางขโมย ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว หนองใน น้ำเหลืองเสีย ขับระดู แก้ริดสีดวงทวาร ผื่นคัน
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ