banner ad

แก้วมังกร

| November 11, 2016

แก้วมังกร

ลักษณะของต้นแก้วมังกรลำต้นเป็นแฉก 3 แฉก สีเขียว อวบน้ำ มีความยาวประมาณ 5 เมตร ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นส่วนของใบที่เปลี่ยนรูปร่างไป ส่วนลำต้นที่แท้จริงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางของแฉกทั้ง 3 บริเวณตาข้างจะมีหนาม 1 5 หนาม มีรากทั้งในดินและรากอากาศ ดอกมีขนาดใหญ่ เกิดบริเวณปลายกิ่งในช่วงเดือนเมษายน เมื่อบานมีลักษณะคล้ายปากแตร โดยจะบานในช่วงหัวค่ำจนถึงเช้า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกจะมีความยาวประมาณเกือบหนึ่งฟุต ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม เป็นช่วงที่แก้วมังกรให้ผลผลิต ผลมีลักษณะเป็นสันเหลี่ยมทู่ๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปบนผิวเปลือก เปลือกหนา มีสีชมพูอมส้ม ภายในผลเมื่อผ่าออกจะมีเนื้อสีขาวขุ่น หรือสีชมพู ในเนื้อจะมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ คล้ายกับเมล็ดงาฝังตัวอยู่

- พันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง (Hylocercus undatus (Haw) Brit. & Rose.) เปลือกสีชมพูสด ปลายกลีบสีเขียว รสหวานอมเปรี้ยวหรือหวานจัด

- พันธุ์เนื้อขาวเปลือกเหลือง (Hylocercus megalanthus) เปลือกสีเหลือง ผลเล็กกว่าพันธุ์อื่น ๆ เนื้อสีขาว เมล็ดขนาดใหญ่และมีน้อยกว่าพันธุ์อื่น รสหวาน

- พันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดง (Hylocercus costaricensis) หรือพันธุ์คอสตาริกา เปลือกสีแดงจัด ผลเล็กกว่าพันธุ์เนื้อขาวเปลือกแดง แต่รสหวานกว่า

 

การขยายพันธุ์แก้วมังกรด้วยการปักชำ โดยเกษตรกรต้องเลือกเฉพาะกิ่งที่แก่เท่านั้น ไม่ควรใช้กิ่งอ่อนเพราะจะทำให้กิ่งเน่า กิ่งแก่ในแต่ละกิ่งสามารถตัดเป็นท่อนได้หลายท่อน ซึ่งจะต้องตัดให้มีความยาวประมาณ 12 ฟุต นำโคนกิ่งแก่ (ด้านโคนหนามจะตั้งขึ้น) นำไปจุ่มในน้ำที่ผสมน้ำยาเร่งรากในอัตราเข้มข้นจุ่มโคนให้ลึก 10 เซนติเมตร แล้วนำมาวางไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 7 10 วัน จนกิ่งเริ่มเหี่ยว

การใส่ปุ๋ย

ครั้งที่ 1 ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15 15 – 15 ระหว่างเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสูตรเสมอ 15 15 – 15 ในช่วงเดือนมกราคม เพื่อเป็นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ยที่มีค่าตัวหลังมากๆ เช่น 15 17 – 18 หรือ 10 10 – 40 เพื่อเป็นการเตรียมและเร่งให้ต้นแก้วมังกรออกดอก

ศัตรูพืช

ก. โรคลำต้นจุดสีน้ำตาลและผลเน่า

ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกที่กิ่งและผลเป็นจุดสีเหลือง จากนั้นจะพัฒนาเป็นตุ่มนูนเล็กๆ สีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก บางครั้งพบแผลสีเหลืองฉ่ำน้ำ เมื่ออาการรุนแรงแผลจะเน่า โดยถ้าเป็นที่กิ่งจะทำให้เนื้อเยื่อตรงแผลหลุดเห็นเป็นรู หรือเว้าแหว่ง สำหรับที่ผล ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้กลีบผลไหม้แห้งเป็นสีดำ และผลเน่าในที่สุด

การป้องกันกำจัด

1. เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงปลอดโรค

2. ลดการให้ปุ๋ยไนโตรเจน เนื่องจากเป็นพืชอวบน้ำ อาจทำให้พืชอ่อนแอเกิดโรคง่ายขึ้น

3. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้น

4. งดให้น้ำช่วงบ่ายหรือเย็น ให้เฉพาะช่วงเช้า เพื่อลดความชื้นสะสมในทรงพุ่ม

5. ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคอย่างระมัดระวังให้มีแผลน้อยที่สุด การตัดแต่งกิ่งควรตัดตรงส่วนที่เป็นรอยต่อของข้อระหว่างกิ่ง แล้วนำส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

6. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรค ไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง

7. ในกรณีพบโรคเพียงเล็กน้อย ป้องกันการระบาดของโรค โดยตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกไปเผาทำลาย แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 20-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วต้น ทุก 5-7 วัน จำนวน 2 ครั้ง และพ่นอีกครั้งในระยะติดดอก โดยพ่นให้ทั่วต้น ทุก 7 วัน จำนวน 2 ครั้ง ในกรณีโรคระบาดรุนแรง หลังตัดแต่งกิ่งพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าวทันที โดยพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งสลับกัน ให้ทั่วต้น ทุก 3-5 วัน และหยุดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว อย่างน้อย 15 วัน

ข. แมลงศัตรูพืช

1. เพลี้ยแป้งสับปะรดสีเทา ใช้สารไทอะมีทอกแซม 25% WG 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร อิมิดาโคลพริด 70% WG 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ไดโนทีฟูแรน 10% WP  10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ไวต์ออยล์ 67% EC  50 มล./น้ำ 20 ลิตร พ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบการระบาดของเพลี้ยแป้ง (ผลแก้วมังกรอายุ 1 สัปดาห์)อย่างน้อย 2 ครั้งติดต่อกันทุก 7 วัน พ่นซ้ำเมื่อพบการระบาด

2. หนอนแมลงวันผลไม้ ทำการห่อผลแก้วมังกรด้วยถุงพลาสติก หรือ ถุงเคลือบสารเคมี หรือถุงใยสังเคราะห์หรือ ถุงห่อผลไม้สำเร็จรูป หรือ ถุงกระดาษสีน้ำตาลเมื่อผลแก้วมังกรอายุ 2 สัปดาห์

การเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของแก้วมังกรพันธุ์เปลือกสีแดงเนื้อขาว คือ ประมาณ 25-30 วันหลังดอกบาน หรือเมื่อผิวเริ่มเปลี่ยนสีได้ 3-4 วัน หรือสังเกตจากผลที่จะต้องมีสีแดงทั่วทั้งผล จากนั้นใช้กรรไกรตัดกิ่งตัดผลแก้วมังกรออกจากกิ่ง  ทั้งนี้ขึ้นกับ ตลาดที่รับซื้อ แก้วมังกรที่มีรสชาติดีควรมีความหวานไม่น้อยกว่า 13 บริกซ์

การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 6 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 14 วัน หากเก็บรักษานานขึ้นผลแก้วมังกรจะเกิดอาการสะท้านหนาว และผลที่เก็บเกี่ยวอ่อน จะเกิดอาการผิดปกติได้ภายใน 7 วัน

ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 15-20 วัน

ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 7-14 วัน

การเก็บรักษาแก้วมังกรในสภาพบรรยากาศดัดแปลงหรือถุงพลาสติกชนิด โพลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinyl chloride) ถุงโพลีเอทธิลีน (polyethylene) จะช่วย ยืดอายุการเก็บรักษาผลิตผลได้นานขึ้น เพราะสภาพบรรยากาศดัดแปลงจะช่วย รักษาความชื้นและลดความเสียหายจากการสูญเสียน้ำ

Category: พืชไม้ผล, พืชไม้ผล ก-ณ

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news