banner ad

ยอ

| January 2, 2013 | 0 Comments

ยอ

ชื่ออื่นๆ : ตาเสือ มะตาเสือ ยอบ้าน แยใหญ่

ชื่อวงศ์: RUBIACEAE

ชื่อสามัญ: Indian mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda citrifolia L.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมักไม่ตรง สีน้ำตาลเทาเรียบ ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่รูปไข่โคนและปลายแหลม ยาว 15-20 ซม. สีเขียวเข้มมัน ขอบเรียบ ก้านอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ดอกเล็กๆออกเป็นช่อตามง่ามใบสีขาว ผลรวมกลมมีตารอบๆเป็นตุ่ม สีเขียวสุกสีเหลือง เมล็ดสีน้ำตาลไหม้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

การนำไปใช้ประโยชน์ : ทางอาหาร ใบอ่อนรองก้นกระทงห่อหมก แกงป่า แกงเลียง ผลแก่สุกรับประทานได้ ทางยา ต้นรักษาวัณโรค ใบ กินแก้กระษัย คั้นเอาน้ำสระผมแก้เหา ทาแก้โรคเก้าท์ ดอก แก้วัณโรค ผลช่วยขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย ระดูเสีย ฟอกเลือด ขับน้ำคาวปลา แก้อาเจียน รากเป็นยาระบาย ใช้ผสมยา รักษาวัณโรค การใช้สอยอื่น รากของต้น ใช้เป็นสีย้อมผ้า

การขยายพันธุ์ : เมล็ด

การปลูกและการดูแล : ยอข้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่เจริญได้ดีในที่มีความชุ่มชื่นพอสมควร ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการปลูก คือช่วงฤดูฝน โดยทั่วไปต้นยอขึ้นได้ง่าย และไม่ต้องการเตรียมแปลงปลูกเป็นพิเศษแต่อย่างใด เมื่อหว่านเมล็ดลงดินให้มีระยะห่างพอประมาณ อาจปล่อยให้เมล็ดงอกเองโดยไม่ต้องดูแลเองก็ได้ หากต้องการให้เมล็ดงอกเร็วควรรดน้ำในช่วงฝนทิ้งช่วง กำจัดวัชพืชที่ขึ้นรบกวนและแย่งอาหารเป็นครั้งคราว เมื่อต้นกล้าโตพอประมาณสามารถแยกปลูกได้

สรรพคุณ

ใบอ่อน ลวกหรือต้มให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงเผ็ด แกงอ่อม ทำห่อหมก

ผล ทำส้มตำแทนมะละกอ และใช้บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ฟอกเลือด ขับน้ำคาวปลา แก้เสียงแหบแห้ง

ต้น ผสมกับสมุนไพรอื่นรักษาวัณโรค

ใบ คั้นเอาน้ำสระผมแก้เหา ทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ตามนิ้วมือนิ้วเท้าฆ่าเหา แก้บิด บำรุงธาตุ

ดอก ผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาแก้วัณโรค

ราก เป็นยาระบาย แก้กระษัย

ลูกดิบ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับโลหิตระดู ขับเลือดลม ขับลมในลำไส้

เมล็ด เป็นยาระบาย

ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้อาเจียน แก้ร้อนในอก แก้ตัวเย็น ขับลม แก้กระษัย แก้ท้องร่วง แก้ปวดตามข้อ แก้จุกเสียด ขับเลือด ขับน้ำคาวปลา

Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ

Leave a Reply

You must be logged in to post a comment.

banner ad

Hit Counter provided by technology news